ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภิกษุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
== การบวชเป็นภิกษุเถรวาท ==
=== ประเภทของการบวชเป็นภิกษุ ===
==== [[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]] ====
เป็นชื่อเรียกวิธี[[อุปสมบท]]เป็น[[ภิกษุ]]ในสมัย[[พุทธกาล]]ยุคต้นๆ โดย[[พระพุทธเจ้า]]ประทานให้ด้วยพระองค์เอง ด้วยการตรัสว่า "'''เอหิภิกขุ'''...." ซึ่งแปลว่า "''จงมาเป็นภิกษุเถิด [[ธรรม]]อันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติ[[พรหมจรรย์]]เพื่อทำที่ดีที่สุดแห่ง[[ทุกข์]]โดยชอบเถิด''"
 
บรรทัด 18:
การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่[[พระอัญญาโกณฑัญญะ]]เป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ ทรงเปลี่ยนเป็นวิธี[[ติสรณคมนูปสัมปทา]] และเป็นวิธี[[ญัตติ]]จตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน
 
==== ติสรณคมณูปสัมปทาณคมนูปสัมปทา ====
[[ไฟล์:Novitiate ordination.jpg‎|thumbnail|left|150px|พระอุปัชฌาย์ให้ '''ติสรณคมนูปสัมปทา''' แก่ผู้บวชเป็นสามเณร]]
 
แปลว่า ''การอุปสมบทด้วยการเข้าถึงไตรสรณะ'' หมายถึงการบวชเป็น[[ภิกษุ]]โดยการรับ[[ไตรสรณคมน์]] หมายถึงการ[[อุปสมบท]]เป็นภิกษุแบบหนึ่งในพระ[[พุทธศาสนา]] กล่าวคือในสมัยต้น[[พุทธกาล]] [[พระพุทธเจ้า]]ทรงประทานอุปสมบทเองที่เรียกว่า[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]] ต่อมาทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับ[[ไตรสรณคมน์]]เท่านั้น ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้ ต่อมาภายหลังทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดย[[สงฆ์]]คือให้ทำเป็น[[สังฆกรรม]]ที่เรียกว่าแบบ[[ญัตติจตุตถกรรมวาจา]] จึงเลิกวิธีบวชพระแบบ''' ติสรณคมนูปสัมปทา''' แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้[[บวช]][[สามเณร]] ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้
 
==== ญัตติจตุตถกรรมวาจา ====
เป็น[[สังฆกรรม]] 1 ใน 4 อย่างของภิกษุสงฆ์ที่ทำร่วมกัน จัดเป็นสังฆกรรมที่มีน้ำหนักมาที่สุด หนักแน่นที่สุด ใช้ทำกรรมที่สำคัญมาก เช่น การให้[[อุปสมบท]] การให้[[ปริวาส]] ให้[[อัพภาน]] การสวด[[สมนุภาสน์]] เป็นต้น
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุ"