ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22:
อัตราส่วนการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจที่แนะนำคือ 30:2 ส่วนในเด็กหากมีผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแนะนำให้ใช้อัตราส่วน 15:2 ในทารกแรกเกิดใช้อัตราส่วน 3:1 เว้นแต่รู้อยู่ก่อนว่าเป็นภาวะหัวใจหยุดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจโดยตรง (cardiac cause) ให้ใช้อัตราส่วน 15:2 ได้ หากได้เริ่มการช่วยหายใจขั้นสูงแล้ว (เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดลม หรือหน้ากากปิดกล่องเสียง) ให้ดำเนินการช่วยหายใจและกดหน้าอกไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องนับเป็นจังหวะอัตราส่วน โดยให้ช่วยหายใจด้วยอัตรา 8-10 ครั้งต่อนาที ลำดับของการช่วยเหลือที่แนะนำคือให้เริ่มจากการกดหน้าอก ('''C'''hest compression) ช่วยทางเดินหายใจ ('''A'''irway) และตามด้วยการช่วยหายใจ ('''B'''reathing) คือลำดับ CAB เว้นแต่มีข้อบ่งชี้อื่น โดยกดหน้าอกเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที ความลึกของการกดหน้าอกสำหรับผู้ใหญ่และเด็กคือประมาณ 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) และในทารกคือประมาณ 4 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ใน ค.ศ. 2010 Resuscitation council ของอังกฤษยังแนะนำให้ใช้ลำดับการช่วยเหลือ ABC ในการช่วยกู้ชีพเด็ก เนื่องจากการจับชีพจรอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ช่วยเหลือที่เป็นคนทั่วไปจึงได้ตัดขั้นตอนนี้ออก แม้จะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่แนะนำให้เสียเวลากับการพยายามจับชีพจรนานเกิน 10 วินาที ในการกดหน้าอกผู้ใหญ่ให้ใช้สองมือ ในเด็กใช้มือเดียว และในทารกใช้สองนิ้ว
===แบบกดหน้าอกอย่างเดียว===
หมายถึงการกดหน้าอกเพื่อช่วยกู้ชีพโดยไม่มีการช่วยหายใจ เป็นวิธีที่ให้ใช้ได้สำหรับผู้ช่วยเหลือที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนหรือไม่เชี่ยวชาญเนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำไปพร้อมกับรับคำแนะนำทางโทรศัพท์ได้โดยง่าย วิธีการกดหน้าอกเหมือนกันกับในวิธีมาตรฐานคือกดด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที เชื่อว่าการแนะนำให้มีการกดหน้าอกเพื่อกู้ชีพโดยไม่มีการช่วยหายใจนี้จะทำให้มีผู้ช่วยเหลือที่สมัครใจจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นได้มากขึ้น
 
==ประวัติศาสตร์==