ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบล (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:ตำบลสำเร็จแล้ว โดยใช้ ฮอทแคต
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ตำบล''' เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า[[อำเภอ]]และ[[จังหวัดในประเทศไทย|จังหวัด]] จึงจัดว่าเป็นเขตการปกครองระดับที่สาม จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมี 7,446 ตำบล<ref>{{cite web|url=http://www.dopa.go.th/dopanew/doc/dopastat52.pdf|publisher=Department of Provincial Administration|title=Number of administrative entities 2008}}</ref> ไม่รวมอีก 169 [[แขวง]]ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกจัดว่าเป็นเขตการปกครองในระดับเดียวกัน แต่ละอำเภอมีประมาณ 8-10 ตำบล ในภาษาอังกฤษ คำว่าตำบลนี้มักจะใช้คำว่า "township" หรือ "subdistrict" ซึ่งอันหลังนี้เป็นการแปลที่ได้รับการแนะนำ<ref name=dopatranscription>{{Cite book|title=Thai-English Transcription of Changwat, Amphoe, King Amphoe and Tambon|isbn=978-974-7857-04-7|url=http://www.dopa.go.th/web_pages/m03050000/documents/thai_eng.zip |accessdate=2009-01-20}}</ref> ถึงแม้แต่ก็พบว่ามีการใช้ subdistrict จะยังพบว่าใช้แปลคำว่า [[กิ่งอำเภอ]]เช่นกัน เขตการปกครองที่เล็กกว่าตำบล คือ หมู่บ้าน ซึ่งในประเทศไทยมี 69,307 หมู่บ้าน เฉลี่ยแล้วตำบลหนึ่งจะมี 10 หมู่บ้าน ตำบลท้องที่ที่อยู่ในนครหรือเมืองจะไม่มีการแบ่งย่อยเขตการบริหารออกเป็นหมู่บ้าน แต่จะเรียกเป็น "ชุมชน" แทน
 
== ประวัติศาสตร์ ==
การปกครองในระดับตำบลนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ครั้งหนึ่งเคยเป็นเขตการปกครองระดับสองในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยเมืองในส่วนภูมิภาคในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ว่าราชการจังหวัดมักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันหรือพัน (commune elder) คำว่า "พัน" ที่หมายถึงจำนวนนั้น หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าตำบลหนึ่ง ๆ ควรจะมีชาวชายฉกรรจ์ราว 1,000 คน นอกจากนี้คำว่าพันยังถูกใช้เป็นยศทางทหารสำหรับผู้ปกครองตำบล
 
ในการปฏิรูปการปกครองซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดย [[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรกของไทย การแบ่งเขตการปกครองจังหวัดออกเป็นสามระดับยังคงดำเนินต่อไป การปกครองทั้งสามระดับนั้นได้แก่ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน