ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซากาโมโตะ เรียวมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (Robot: Modifying fr:Ryōma Sakamoto to fr:Sakamoto Ryōma; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
จัดภาพ
บรรทัด 19:
| other_names = ไซดะนิ อุเมะทะโร (才谷 梅太郎) <br />[[อิมินะ]]: นะโอะคะเงะ, นะโอะนะริ
}}
 
[[ไฟล์:Sakamoto_Ryōma2.jpg|thumb|ภาพถ่ายของเรียวมะก่อนถูกลอบสังหารราวปี 1867]]
[[ไฟล์:Ryoma Kochi01s3200.jpg|thumb|200px|ป้ายจารึกของซะกะโมะโตะ เรียวมะ]]
'''ซะกะโมะโตะ เรียวมะ''' ({{ญี่ปุ่น|坂本龍馬|さかもと りょうま|Sakamoto Ryōma|[[3 มกราคม]] [[ค.ศ. 1836]] - [[10 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1867]]}}) เป็น[[ซามูไร]]ผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวล้มล้างระบอบการปกครองของ[[รัฐบาลโชกุนโทะคุงะวะ]]ในช่วง[[ยุคบะคุมัตซึ]] (ปลาย[[ยุคเอโดะ]]) เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม[[ญี่ปุ่น]] และปฏิรูปประเทศให้ไปสู่ความทันสมัยตามอย่างชาติ[[ยุโรป]]ตะวันตก เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง[[ไคเอ็นไต]]ซึ่งเป็นบริษัทพาณิชย์นาวีแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นและเป็นลูกศิษย์ของ[[คัตสึ ไคชู]] ผู้วางรากฐานแห่ง[[กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น]]
 
== ปฐมวัย ==
{{multiple image
| align = left
| direction = horizontal
| header =
| header_align = left/right/center
| footer =
| footer_align = left
| image1 = Ryoma Kochi01s3200.jpg
| width1 = 130
| caption1 = จารึกระบุตำแหน่งสถานที่เกิดของซะกะโมะโตะ เรียวมะ ในจังหวัดโคจิ
| image2 = Takichi Hanpeita statue.jpg
| width2 = 130
[[ไฟล์:Takichi| Hanpeitacaption2 = statue.jpg|left|thumb|130px|[[ทะเคะจิ ฮัมเปตะ]] ผู้นำกลุ่ม[[โทะสะคินโนโท]]]]
}}
ซะกะโมะโตะ เรียวมะเกิดในปี [[ค.ศ. 1836]] ตรงกับศักราชเทมโป ปีที่ 6 ณ เมืองโคจิ [[แคว้นโทะสะ]] (ปัจจุบันแคว้นนี้ได้แก่พื้นที่[[จังหวัดโคจิ]] บน[[เกาะชิโกะกุ]]) เขาเป็นบุตรของครอบครัวตระกูล[[ซามูไร]]ชั้นโกชิ ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชนชั้นพ่อค้าทำอาชีพกลั่น[[สาเก]]ขาย และได้เลื่อนขึ้นเป็นซามูไรโดยการซื้อตำแหน่ง (ซามูไรประเภทนี้นับเป็นซามูไรระดับต่ำที่สุดใน[[ระบบศักดินาญี่ปุ่น]]) ในวัยเด็กนั้นเรียวมะมักถูกรังแกเวลาอยู่ที่โรงเรียน พี่สาวคนหนึ่งของเรียวมะจึงย้ายให้เขาไปเรียนอยู่ในสำนักดาบแทน จนกระทั่งเมื่อเจริญวัยขึ้น เขาก็ได้เป็นครูดาบอยู่ในแคว้นโทะสะแห่งนั้น
 
[[ไฟล์:Takichi Hanpeita statue.jpg|left|thumb|130px|[[ทะเคะจิ ฮัมเปตะ]] ผู้นำกลุ่ม[[โทะสะคินโนโท]]]]
 
ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1853]] เรียวมะได้เดินทางไปที่นครเอะโดะเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ของ[[จิบะ ซะดะคิจิ]] เจ้าสำนัก[[เค็นจุตซึ|ดาบ]]สาย[[โฮะคุชินอิตโตริว]] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พลเรือจัตวา[[แมทธิว แคลเบรธ เพอร์รี]] แห่ง[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ได้นำกองเรือรบมาเยือน[[ประเทศญี่ปุ่น]] เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาวตะวันตกอีกครั้งหลังจากโดดเดี่ยวตนเองมานานหลายร้อยปี ในระยะดังกล่าวเรียวมะได้ถูกชักจูงให้เกิดความรู้สึกรักชาติจากสำนักเรียนของซามูไรซึ่งสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองกลุ่ม[[ซนโนโจอิ]] หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับชาติป่าเถื่อน"
เส้น 49 ⟶ 60:
ในช่วงที่ใช้ชีวิตแบบโรนินอยู่นั้น ซะกะโมะโตะ เรียวมะได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ในหมู่เกาะญี่ปุ่น และเมื่อเดินทางมาถึง[[เอะโดะ]] เขาก็ได้พบกับ[[คัตสึ ไคชู]] ขุนนางระดับสูงของรัฐบาลโชกุนโทะคุงะวะผู้มีหัวคิดก้าวหน้าและกำลังดำเนินการจัดตั้ง[[กองทัพเรือ]]ขึ้นในเวลานั้น
 
เรื่องราวเกี่ยวกับการพบกันของระหว่างเรียวมะกับคัตสึที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายกล่าวว่า เรียวมะซึ่งเป็นโรนินที่มีความคิดแบบ[[ซนโนโจอิ]] ได้ตัดสินใจที่จะฆ่าคัตสึเพราะเห็นว่าสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้ามาย่ำยีประเทศ แต่ในวันที่เขาลอบเข้าไปในจวนของคัตสึนั้น คัตสึได้ขอให้เรียวมะฟังแนวคิดที่เขามีต่อประเทศญี่ปุ่นเสียก่อนแล้วจึงค่อยฆ่าเขา ซึ่งนั่นก็คือแนวคิดการเรียนรู้วิทยาการและอารยธรรมให้เท่าเทียมกับตะวันตก แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างกำลังอำนาจของญี่ปุ่นระยะยาวด้วยกองทัพเรือที่เข้มแข็ง อันจะเป็นหลักประกันให้แก่เอกราชของญี่ปุ่นได้ เรียวมะเมื่อได้ฟังดังนี้แล้ว จึงกลับใจขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และทำงานเป็นทั้งผู้ช่วยและผู้คุ้มกันของคัตสึ ไคชู<ref>『坂本龍馬と海援隊』(新・歴史群像シリーズ 20)(学研パブリッシング、2009年)p.80</ref>
 
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานในอีกทางหนึ่งที่กล่าวถึงการพบกันระหว่างเรียวมะกับคัตสึที่แตกต่างออกไป ซึ่งระบุว่า ในวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1862]] เรียวมะกับพรรคพวกได้ขอเข้าพบ[[มัตสึไดระ ชุนงะคุ]] [[ไดเมียว]]แห่งแคว้นเอจิเซ็น (ปัจจุบันแคว้นนี้คือ[[จังหวัดฟุกุอิ]]) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลโชกุน โดยผ่านการแนะนำจากจิบะ จูทะโร บุตรชายของ[[จิบะ ซะดะคิจิ]] ผู้เป็นครูดาบของเรียวมะ เพื่อหาทางให้เรียวมะได้พบกับคัตสึ<ref>福井藩記録『続再夢紀事』</ref><ref>[http://www.shotentai.com/ryoma/ryoma-4.html 亀山社中設立、薩長同盟成立], [http://www.shotentai.com/ 翔天隊.com]</ref> หลังจากนั้นในวันที่ [[9 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน เรียวมะพร้อมด้วยเพื่อน 2 คน คือ [[คะโดะตะ ทะเมะโนะสุเกะ]] และ[[คนโด โจจิโร]] จึงได้เข้าพบคัตสึพร้อมกับจดหมายแนะนำตัวจากมัตสึไดระ และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของคัตสึในคราวนั้น<ref>『枢密備忘』</ref><ref>『海舟日記』</ref> ทั้งหมดได้เข้ารับการฝึกหัดการเดินเรือที่ศูนย์ฝึกทหารเรือในหมู่บ้านโกเบ (ปัจจุบันคือเมือง[[โกเบ]] [[จังหวัดเฮียวโงะ]]) ซึ่งคัตสึ ไคชู ได้จัดตั้งขึ้นตามแนวคิดการสร้างกองทัพเรือแบบชาติตะวันตก
เส้น 95 ⟶ 106:
 
== มรดกจากเรียวมะ ==
[[ไฟล์:Sakamoto_Ryōma2.jpg|thumb|150px|left|ภาพถ่ายของเรียวมะก่อนถูกลอบสังหารในราวปี 1867 ก่อนถูกลอบสังหารในเวลาต่อมา]]
 
เรียวมะนับเป็นนักคิดผู้มองการณ์ไกลด้วยทัศนะที่ว่าญี่ปุ่นไม่ควรย่ำอยู่กับที่ในระบบศักดินาใดๆ อีกต่อไป เขาได้อ่านและได้แรงบันดาลใจจากวลีแรกของคำประกาศอิสรภาพของ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่กล่าวว่า "[[All men are created equal]]" หรือ "มนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน" (แรงบันดาลใจอีกส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากประสบการณ์การถูกกดขี่อย่างเลวร้ายจากซามูไรระดับสูงในโทะสะ ซึ่งตนเองได้พบเห็นและถูกกระทำมาตั้งแต่วัยเด็ก) เขาตระหนักว่า หากจะต้องแข่งขันด้านความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีกับโลกภายนอกแล้ว ชาวญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้ทันสมัยเยี่ยงชาวตะวันตกให้มากขึ้น สิ่งที่น่าสนใจจากการทำตัวที่แตกต่างจากบุคคลร่วมสมัยของเรียวมะก็คือ ในรูปถ่ายของเรียวมะที่ปรากฏแพร่หลายนั้น จะเห็นได้ว่าเขาแต่งตัวตามแบบธรรมเนียมของซามูไร แต่ใส่รองเท้าตามแบบชาวตะวันตกด้วย