ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินัย จุลละบุษปะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
'''วินัย จุลละบุษปะ''' ([[12 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2465]] — [[14 กันยายน]] [[พ.ศ. 2542]]) เป็นอดีตนักร้องนำ และหัวหน้า[[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] และ[[วงสังคีตสัมพันธ์]]
 
วินัย จุลละบุษปะ เดิมชื่อ วัฒนา จุลละบุษปะ เกิดที่บ้านข้าง[[วัดมหรรณพาราม]] กรุงเทพ เป็นบุตรคนโต ใน 5 คนของ ขุนประมาณธนกิจ (ถม จุลละบุษปะ) และนางน้อม บิดารับราชการเป็นคลังจังหวัด และต้องโยกย้ายตามบิดาตั้งแต่เด็ก จนจบชั้นมัธยมที่[[โรงเรียนวัดราชบพิธ]] ญาติผู้ใหญ่เห็นว่ารักการร้องเพลง จึงฝากงานให้ที่กรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือ [[กรมประชาสัมพันธ์]]) และได้ใช้เวลาว่าฝึกฝนร้องเพลงกับครู[[เวส สุนทรจามร]] พร้อมกับนักร้องอีกคน คือ [[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]] จนได้บรรจุเป็นนักร้องกรมโฆษณาการเมื่อ พ.ศ. 2488
 
วินัย จุลละบุษปะ รับราชการอยู่ที่กรมโฆษณาการ และกรมประชาสัมพันธ์นานถึง 38 ปี โดยไม่เคยไปทำงานที่อื่นเลย รับตำแหน่งหัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ สืบแทนครู[[เอื้อ สุนทรสนาน]] ซึ่งเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2515]] และเกษียณอายุเมื่อวันที่ [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2526]]
 
วินัย จุลละบุษปะ ขับร้องเพลงปรากฎตัวต่อหน้าสาธารณชนด้วยเพลงแรก คือเพลง "ทาสน้ำเงิน" ที่บนเวที[[โรงภาพยนตร์โอเดียน]] โดยการสนับสนุนของครูเวส มีผลงานขับร้องทั้งสิ้น 219 เพลง เพลงที่มีชื่อเสียง คือเพลง "เย็นลมว่าว" แต่งโดยครู[[เอื้อ สุนทรสนาน]] และครู[[แก้ว อัจฉริยะกุล]]
 
ในปี พ.ศ. 2495 วินัย จุลละบุษปะ ได้พบกับ [[ศรีสุดา รัชตะวรรณ]] ซึ่งเข้ามาเป็นนักร้องใหม่ของกรมประชาสัมพันธ์ และใช้ชีวิตคู่กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โดยไม่มีบุตรด้วยกัน ทั้งคู่ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อ พ.ศ. 2533 เมื่อหลังวินัย จุลละบุษปะ เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2526 ทั้งคู่จึงได้ร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อว่า "[[วงดนตรีสังคีตสัมพันธ์]]" โดยมีครู[[เสถียร ปานคง]] อดีตข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมวง <ref name="ศรีสุดา">[http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/template/readtext.asp?HID=90 ประวัติ ศรีสุดา รัชตะวรรณ จาก เว็บสุนทราภรณ์]</ref>
 
วินัย จุลละบุษปะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 อายุ 77 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพ จัดขึ้น ณ เมรุ[[วัดมกุฎกษัตริยาราม]] เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
 
== อ้างอิง ==