ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง ระยะทางรวม 5.358 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 25 เมตร ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพพระมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เมื่อปี [[พ.ศ. 2474]] โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจาก[[ถนนพระรามที่ 5]] (แต่เมื่อก่อสร้างจริงนั้นเริ่มที่ถนนประชาราษฎร์ สาย 2) ไปถึงบริเวณเหนือวัดลานวัว ทั้งนี้เพื่อให้การจราจรทางบกระหว่างสองจังหวัดรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากเมื่อปี [[พ.ศ. 2471]] [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีจากปากคลองบางซื่อลงมาตั้งที่ตำบลบางขวาง รวมทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนจำมหันตโทษกลางขึ้นที่นั่นด้วย
 
ในปีต่อมา ([[พ.ศ. 2475]]) พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนสายนี้รวมกับถนนที่มาจากตัวจังหวัดนนทบุรีถึงวัดลานวัวว่า '''ถนนประชาราษฎร์''' จนกระทั่งภายหลังได้มีการแบ่งถนนประชาราษฎร์ช่วงแยกเตาปูนถึงแยกติวานนท์เป็น '''ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี''' ปัจจุบันถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีในเขตบางซื่ออยู่ในการดูแลของ[[สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร]] มีระยะทาง 3.617 กิโลเมตร ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรีนั้นถือเป็น '''ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301 สายต่อเขตกรุงเทพมหานคร - สามแยกติวานนท์''' และเป็นเขตควบคุมของหมวดการทางนนทบุรี สำนักงานบำรุงทางนนทบุรี (หน่วยงานของ[[กรมทางหลวง]]) ระยะทาง 1.741 กิโลเมตร
 
อนึ่ง การใช้ชื่อซอยย่อยของถนนระหว่างสองพื้นที่ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย กล่าวคือ กรุงเทพมหานครใช้ชื่อซอยว่า "กรุงเทพ-นนทบุรี"<!--ไม่มีไปยาลน้อย--> ฝั่งขาออก (ฝั่งซอยเลขคี่) มี 24 ซอย และฝั่งขาเข้า (ฝั่งซอยเลขคู่) มี 31 ซอย ส่วน[[เทศบาลนครนนทบุรี]]จะเริ่มนับตัวเลขใหม่เมื่อเข้าเขตจังหวัดนนทบุรี โดยใช้ชื่อซอยว่า "กรุงเทพนนท์" ฝั่งขาออกมี 8 ซอย และฝั่งขาเข้ามี 7 ซอย