ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหมืองแม่เมาะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{วิกิประเทศไทย}}
[[ภาพ:Place Maemoh1433.jpg|thumb|250px|right|พระราชานุสาวรีย์[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สวนพฤกษชาติแม่เมาะ ]]
[[ภาพ:Place Maemoh0161.jpg|thumb|250px|right|สายพานลำเลียง ได้รับการคลุมปิดตลอดแนว]]
'''เหมืองแม่เมาะ''' ตั้งอยู่[[อำเภอแม่เมาะ]] [[จังหวัดลำปาง]] เป็นเหมือง[[ถ่านหิน]]หรือถ่าน[[ลิกไนต์]]ที่ ซึ่งใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงของ[[โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อันเป็นโรงไฟฟ้าพล้งงานความร้อนที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน รวม 13 เครื่อง มีกำลังการผลิต 2,625,000 กิโลวัตต์ ใช้ถ่านหินรวมกันวันละ 23,600 ตัน]]
 
 
== ประวัติ ==
===เหมืองแม่เมาะก่อนปี 2470===
[[ภาพ:Place Maemoh1852.jpg|thumb|250px|right|ทางเข้า พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
กิจการ[[เหมืองลิกไนต์]] เริ่มเมื่อปี 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อด้วย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน|พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]]ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟหลวง ทรงมีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ จึงโปรดให้ทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่น เพื่อนำเอามาใช้แทนฟืนสำหรับ[[หัวรถจักรไอน้ำ]]ของรถไฟ โดยว่าจ้างชาวต่างประเทศ ให้มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก ต่อมาระหว่างปี 2464 - 2466 ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศให้มาสำรวจอีก ปรากฏว่าพบถ่านลิกไนต์ ที่ "[[แม่เมาะ]]" [[จังหวัดลำปาง]]และที่"[[คลองขนาน]]" [[จังหวัดกระบี่]]
[[ภาพ:Place Maemoh4115.JPG|thumb|250px|right|ทุ่งบัวตองแม่เมาะ ]]
 
กิจการ[[เหมืองลิกไนต์]] เริ่มเมื่อปี 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน|พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]]ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟหลวง ทรงมีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ จึงโปรดให้ทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่น เพื่อนำเอามาใช้แทนฟืนสำหรับ[[หัวรถจักรไอน้ำ]]ของรถไฟ โดยว่าจ้างชาวต่างประเทศ ให้มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก ต่อมาระหว่างปี 2464 - 2466 ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศให้มาสำรวจอีก ปรากฏว่าพบถ่านลิกไนต์ ที่ "[[แม่เมาะ]]" [[จังหวัดลำปาง]]และที่"[[คลองขนาน]]" [[จังหวัดกระบี่]]
ในระยะนั้นเมื่อ[[ประทานบัตร]]สัมปทาน ซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนเปิดการทำเหมืองลิกไนต์ที่ "บ้านดอน" จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ[[ประทานบัตร]]หมดอายุลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระบรมราชโองการถึง[[เจ้าพระยาพลเทพ]] ให้สงวนแหล่งถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไว้ เพื่อให้ทางราชการเป็นผู้ดำเนินงานเท่านั้น โดยมีใจความว่า {{คำพูด|ด้วยประทานบัตร์บ่อถ่านศิลาที่บ้านดอน ซึ่งอนุญาตให้แก่บริษัทบ่อถ่านศิลาสยามจำกัด ทำนั้น, ได้หมดสิ้นไปแล้ว ฉันเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะดำริรวบรวม บ่อถ่านศิลาในพระราชอาณาจักร ไว้สำหรับรัฐบาลทำเอง เพราะจะเปนประโยชน์แก่บ้านเมืองต่อไปหาน้อยไม่ เพราะฉนั้น ต่อไปให้สงวนบ่อถ่านศิลาที่บ้านดอน, ที่แขวงเมืองกระบี่ และที่แม่เมาะ ไว้สำรับรัฐบาลตรวจทำ ถ้ามีผู้ใดมาขอประทานบัตร์หรือสิทธิใดๆ ในเขตต์ทั้งหลายที่กล่าวแล้ว จงแจ้งให้ทราบว่า เปนที่ๆรัฐบาลสงวนไว้ใช้ราชการ<br /><br />ประชาธิปก ปร.<br />[[16 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2470]] [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]]}}
 
ในปี 2493 [[กรมโลหกิจ]] (กรมทรัพยากรธรณี) ได้รื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง การสำรวจได้ดำเนินไปจนถึงปี 2496 จึงพบแหล่งถ่านลิกไนต์มีแนวชั้น ติดต่อกันยาวไปตามลำห้วยในแอ่งแม่เมาะ ต่อมาในปี 2497 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ เพื่อดำเนินกิจการลิกไนต์ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง จากนั้นจึงเปิดการทำเหมือง แม่เมาะขึ้นและสามารถผลิตถ่านลิกไนต์ออกจำหน่ายให้แก่[[โรงบ่มใบยาสูบ]] โรงงานต่าง ๆ รวมทั้ง[[โรงไฟฟ้าวัดเลียบ]] และ[[โรงไฟฟ้าสามเสน]]ได้ในปีต่อมา ซึ่งถ่านลิกไนต์ที่แอ่งแม่เมาะนี้พบว่ามีปริมาณถึง 120 ล้านตันและสามารถขุดขึ้นมาใช้งานได้คุ้มค่า 43.6 ล้านตัน เมื่อประสบความสำเร็จในการดำเนินงานขั้นต้นแล้ว กล่าวคือสามารถผลิตถ่านลิกไนต์จำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงได้ จึงทำการก่อสร้าง[[โรงจักรแม่เมาะ]] ขนาดกำลังผลิต 12,500 กิโลวัตต์ ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีพิธีเปิดโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2503 หลังจากนั้นมากิจการเหมืองแม่เมาะก็เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
===เหมืองแม่เมาะหลังปี 2470===
หลังจากได้มีพระบรมราชโองการออกไปแล้วนั้น ในปี 2493 [[กรมโลหกิจ]] (กรมทรัพยากรธรณี) ได้รื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง การสำรวจได้ดำเนินไปจนถึงปี 2496 จึงพบแหล่งถ่านลิกไนต์มีแนวชั้น ติดต่อกันยาวไปตามลำห้วยในแอ่งแม่เมาะ ต่อมาในปี 2497 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ เพื่อดำเนินกิจการลิกไนต์ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง จากนั้นจึงเปิดการทำเหมือง แม่เมาะขึ้นและสามารถผลิตถ่านลิกไนต์ออกจำหน่ายให้แก่[[โรงบ่มใบยาสูบ]] โรงงานต่าง ๆ รวมทั้ง[[โรงไฟฟ้าวัดเลียบ]] และ[[โรงไฟฟ้าสามเสน]]ได้ในปีต่อมา ซึ่งถ่านลิกไนต์ที่แอ่งแม่เมาะนี้พบว่ามีปริมาณถึง 120 ล้านตันและสามารถขุดขึ้นมาใช้งานได้คุ้มค่า 43.6 ล้านตัน เมื่อประสบความสำเร็จในการดำเนินงานขั้นต้นแล้ว กล่าวคือสามารถผลิตถ่านลิกไนต์จำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงได้ จึงทำการก่อสร้าง[[โรงจักรแม่เมาะ]] ขนาดกำลังผลิต 12,500 กิโลวัตต์ ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีพิธีเปิดโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2503 หลังจากนั้นมากิจการเหมืองแม่เมาะก็เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง[[การลิกไนต์]] โดยโอนกิจการและทรัพย์สินขององค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ มาเป็นของการลิกไนต์ กำหนดให้มีหน้าที่ผลิตและจำหน่ายถ่านลิกไนต์ วัตถุเคมีจากลิกไนต์ และพลังงานไฟฟ้าจากลิกไนต์ มีอำนาจดำเนินการในเขตท้องที่จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และตาก จนกว่าการไฟฟ้ายันฮีจะขยายกิจการไปถึงจังหวัดนั้น ๆ และเขตท้องที่ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทั้งหมด
 
เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง [[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]] (กฟผ.) โดยรวมกิจการของ[[การลิกไนต์]] [[การไฟฟ้ายันฮี]] และ[[การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ]] เข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2512]] กฟผ. จึงได้รับโอนภาระหน้าที่ของทั้ง 3 องค์การมาดำเนินการทั้งหมด
 
ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะได้ทำการขุดขนถ่านจำนวนประมาณ 15-17 ล้านตัน ส่งให้เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าหน่วยที่ 4 ถึง 13 จำนวน 9 หน่วย ของ[[โรงไฟฟ้าแม่เมาะ]] เพื่อผลิต[[กระแสไฟฟ้า]] และจ่ายไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ในปลายปี 2512 [[กฟผ.]] ได้วางแผนพัฒนาถ่านลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง เมื่อคำนวณ[[ปริมาณสำรอง]]ถ่านลิกไนต์เพิ่มเป็น 55 ล้านตัน และคาดว่าจะมีอีกไม่ต่ำกว่า 70 ล้านตัน จึงได้วางโครงการขยายแหล่งผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงเมื่อรัฐบาลอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์แม่เมาะ จำนวน 2 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 75,000 กิโลวัตต์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2515 กฟผ. จึงทำการขยายเหมืองแม่เมาะในปีต่อมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตถ่านลิกไนต์จากปีละแสนกว่าตัน เป็นนับล้านตัน
 
==การดำเนินกิจการ==
[[ภาพ:Place Maemoh1852.jpg|thumb|250px|right|ทางเข้า พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
[[ภาพ:Place Maemoh0225.jpg|thumb|250px|right|อาคารนันทนาการ]]
[[ภาพ:Place Maemoh4115.JPG|thumb|250px|right|ทุ่งบัวตองแม่เมาะ ]]
หลังจากที่มีปัญหาด้านมลพิษทางฝุ่นควันในปี [[พ.ศ. 2527]] ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในนามของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ดำเนินการรักษาและควบคุมมาตรฐานด้านมลพิษอย่างเคร่งครัด ในส่วนของเหมือง ได้ทำการติดตั้งหลังคาคลุมสายพานลำเลียงไว้ตลอดแนว พร้อมทั้งมีการฉีดพรมน้ำในสายพานลำเลียงและหน้างานเป็นระยะๆ เพื่อให้ความชื้นเป็นตัวลดการกระจายของฝุ่นละออง โดยผลจากสถานีตรวจสอบคุณภาพอากาศ ซึ่งติดตั้งไว้โดยรอบจำนวน 13 สถานีนั้น ได้รายงานผลออกมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ คือมีคุณภาพอากาศในทุกๆด้าน ดีกว่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีคุณภาพอากาศใกล้เคียงกับเขตเมืองลำปาง นอกจากมีการฉีดน้ำพรมหน้างานแล้ว ยังมีการปลูกต้นไม้และเพิ่มพท้นที่สีเขียวโดยรอบ เพื่อเป็นแนวกันฝุ่น ไม่ให้ลอยออกไปในย่านที่อยู่อาศัยใกล้เคียงด้วย
 
==สถานที่สำคัญในบริเวณเหมือง==
นอกจากกลุ่มอาคารที่ทำการ และโรงซ่อมบำรุงเครื่องมือหนักต่างๆที่ใช้ในการทำเหมือง แล้วนั้น เหมืองแม่เมาะยังประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นพื้นที่สีเขียวให้กับเหมือง ซึ่งประกอบด้วย
 
===พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ)===
ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสวนพฤกษชาติ เป็นอาคารชั้นเดียว เป็นศูนย์นิทรรศการถาวร จัดแสดงเรื่องเกี่ยวกับธรณีวิทยาของประเทศไทย และเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดลำปางโดยตรง ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 4 ส่วนคือ
 
# '''โถงกลาง''' จัดแสดงวีดิทัศน์นำเรื่องก่อนการเข้าชม เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถ่านหินในประเทศไทย
# '''ห้องธรณีวิทยา''' จัดแสดงวีดิทัศน์ภาพยนตร์สามมิติ เรื่องกำเนิดโลกและกำเนิดถ่านหิน และ มีนิทรรศการเกี่ยวกับธรณีวิทยา และฟอซซิลที่พบในบริเวณพื้นที่เหมืองแม่เมาะ
# '''ห้องผลิตไฟฟ้า''' จัดแสดงแบบจำลอง ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มทำเหมืองจยผลิตออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า
# '''ห้องเฉลิมพระเกียรติ''' จัดแสดงภาพ และวีดิทัศน์ เกียวกับกิจการถ่านหิน และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
===สวนพฤกษชาติ===
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของบ่อเหมือง เป็นที่ตั้งของศาลาชมวิว และลานสไลเดอร์หญ้าขนาดใหญ่ ซึ่งประชาชนในพื้นที่มักมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ โดยสวนพฤกษชาติแห่งนี้ จะมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนดอกไม้ลงแปลงตามฤดูกาล และจะมีงานเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะขึ้นที่นี่ในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี ยกเว้นเมื่อปี 2549 ไม่ได้มีการจัดงานที่สวนพฤกษชาติ เนื่องจากฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องก่อนหน้านั้น ได้ทำให้พื้นดินชื้นแฉะมาก จึงต้องย้ายไปจัดที่ทุ่งบัวตองแทน
 
===อาคารนันทนาการและสนามกอล์ฟ===
อยู่ในบริเวณใกล้กลับศูนย์พิพิธภัณฑ์ฯ เป็นอาคารใหม่ที่เพิ่งจะสร้างเสร็จในปี 2549 ในแบบสถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์ เป็นที่ตั้งของห้องจัดเลี้ยงและสโมสร ซึ่งย้ายมาจากบริเวณใกล้เคียง
 
===ทุ่งบัวตอง===
จากนั้น เหมืองแม่เมาะได้ขยายพื้นที่กว้างขั้นเรื่อย ๆ เพื่อผลิตถ่านลิกไนต์รองรับโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ที่แม่เมาะ ในขณะเดียวกัน [[น้ำมัน]]ก็มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ กฟผ. จึงได้เร่งสำรวจถ่านลิกไนต์ที่แอ่งแม่เมาะ เพื่อให้ทราบปริมาณถ่านลิกไนต์ทั้งหมด และปริมาณที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ในที่สุดเมื่อสามารถสรุปปริมาณถ่านลิกไนต์ได้ทั้งหมดแล้ว กฟผ. จึงได้วางแผนพัฒนา เพื่อนำถ่านลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป
ทุ่งบัวตองนี้อยู่บนภูเขาสูงทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นภูเขาเทียมที่เกิดจากการนำดิน และกากถ่านหินจากเหมืองมาถมไว้ โดยมีแผนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวร ด้วยการสร้างศาลาชมวิว พร้อมลานกิจกรรมด้านบนยอดดอย และปลูกบัวตองในบริเวณลาดเขารอบๆดอย เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นพื้นที่สีเขียว
 
ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะได้ทำการขุดขนถ่านจำนวนประมาณ 15-17 ล้านตัน ส่งให้[[โรงไฟฟ้าแม่เมาะ]] จำนวน 9 หน่วย (หน่วยที่ 4 ถึง 13) กำลังผลิต 2,625,000 กิโลวัตต์ ซึ่งจ่าย[[กระแสไฟฟ้า]]ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือตอนบนและล่าง เชื่อมต่อไปยังภาคกลาง จนถึงกรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย โดยกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20 % ของกำลังผลิตของทั้งประเทศ
 
[[หมวดหมู่:เหมือง]]