ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495''' นับเป็น '''การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งที่ 8 ของประเทศไทย''' การเลือกตั้งครั้งนี้ มีขึ้นในวันที่ [[26 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2495]] สืบเนื่องจากการที่ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ได้กระทำ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|การรัฐประหารตัวเองในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494]] โดยอ้างเหตุว่า [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 24892492|รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 24892492]] ที่ใช้อยู่ขณะนั้นไม่สะดวกแก่การบริหารประเทศชาติ และไปใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475|รัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2475]] อันเป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]ฉบับแรกแทน โดยได้แก้ไขเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. 2495 ส่งผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติกลับมามีระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 2 ประเภท โดยคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลในคณะรัฐประหารและข้าราชการทหาร พลเรือน เป็นสมาชิกสภาประเภทที่ 2 ทำหน้าที่[[ส.ส.|ผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) ในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกสภาประเภทที่ 1 ซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้ง
 
ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็น[[ร้อยละ]] 38.36 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ [[จังหวัดสระบุรี]] คิดเป็นร้อยละ 77.78 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ [[จังหวัดพระนคร]] คิดเป็นร้อยละ 23.03 <ref>[[สุจิต บุญบงการ]], ''การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน'', กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, [[พ.ศ. 2531|2531]]</ref>