ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
เมื่อวันที่ [[16 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2536]] โรงภาพยนตร์ลิโด เกิดเหตุ[[เพลิงไหม้]] จึงต้องก่อสร้างปรับปรุงใหม่ เป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก (มัลติเพล็กซ์) จำนวนสามโรง และเปิดทำการอีกครั้ง ในช่วงปลายปี [[พ.ศ. 2537]] ต่อมาราวปี [[พ.ศ. 2544]] โรงภาพยนตร์ทั้งสามแห่ง ทยอยติดตั้ง ระบบเสียง เซอร์ราวด์ ดอลบี ดิจิตอล เอสอาร์ดี ดีทีเอส เอสดีดีเอส รวมทั้งทยอยติดตั้ง ระบบปรับอากาศ[[โอโซน]] เพื่อฟอกอากาศให้บริสุทธิ์สดชื่น นอกจากนี้ โรงภาพยนตร์ทั้งสามแห่ง ยังเปิดพื้นที่ใต้ถุนโรงภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ให้ผู้ประกอบการรายย่อย เช่าเปิดเป็นร้านค้าต่างๆ โดยส่วนมากจะจำหน่ายเสื้อผ้า และเครื่องประดับตามแฟชัน
 
อนึ่ง เมื่อวันที่ [[19 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2553]] เมื่อ[[กองทัพไทย|กำลังทหาร]] พร้อมอาวุธและรถหุ้มเกราะ เข้ากดดัน[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุม]]ของ [[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน|กลุ่ม นปช.]] บริเวณ[[แยกราชประสงค์]] จนกระทั่ง แกนนำ นปช.ต้องประกาศยุติการชุมนุม และเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่[[ตำรวจ]] ที่[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]] เป็นผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนไม่พอใจ จนเกิดการและก่อการจลาจลขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มคนเสื้อแดงได้วางเพลิงรวมถึงอาคารสำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเข้าวางเพลิงสถานที่ราชการ ในเขตปริมณฑลและต่างจังหวัดด้วย
 
ในเวลาบ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้เข้าวางเพลิงอาคารโรงภาพยนตร์สยาม แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมผู้วางเพลิง รวมถึงไม่สามารถเข้าดับเพลิงได้ เนื่องจากมีความไม่ปลอดภัย เพราะมีการใช้กลุ่มคนเสื้อแดงส่วนหนึ่งติดอาวุธปืน ซึ่งเป็นอาวุธสงคราม ยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ทหารไปมาบริเวณที่เกิดเหตุตลอดเวลา จนกระทั่งอาคารเริ่มทรุดตัวและพังถล่มลงมา ในเวลา 15.45 น.<ref>[http://www.thairath.co.th/content/region/84001 โรงหนังสยาม เพลิงไหม้ อาคารถล่มแล้ว] ข่าวไทยรัฐออนไลน์</ref> ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่้อง ''[[มหาประลัย คนเกราะเหล็ก 2]]'' (Iron Man 2) เป็นเรื่องล่าสุดที่เข้าฉาย ก่อนโรงภาพยนตร์สยาม จะเกิดเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้
 
== อ้างอิง ==