ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
ระหว่างปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน [[อิเล็กตรอน]]จะถูกขนส่งจากตัวให้อิเล็กตรอนไปยังตัวรับอิเล็กตรอน เช่น [[ออกซิเจน]] ใน[[ปฏิกิริยารีดอกซ์]] ปฏิกิริยารีดอกซ์เหล่านี้ปลดปล่อยพลังงาน ซึ่งถูกใช้เพื่อสร้าง ATP ใน[[ยูคาริโอต]] ปฏิกิริยารีดอกซ์เหล่านี้ดำเนินโดยโปรตีนคอมเพลกซ์ภายในผนังระหว่างเยื่อหุ้ม[[ไมโทคอนเดรีย]] ขณะที่ใน[[โปรคาริโอต]] โปรตีนเหล่านี้พบได้ในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ ชุดโปรตีนที่เกี่ยวโยงกันนี้เรียกว่า [[ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน]] (electron transport chain) ในยูคาริโอต มีโปรตีนคอมเพลกซ์จำนวนห้าคอมเพลกซ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ในโปรคาริโอต อาจพบ[[เอนไซม์]]หลายชนิด โดยใช้ตัวให้และรับอิเล็กตรอนที่หลากหลาย
 
พลังงานที่อิเล็กตรอนปลดปล่อยออกมาและไหลผ่านลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนนี้ถูกนำไปใช้เพื่อขนส่งอิเล็กตรอนข้ามเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย ในกระบวนการที่เรียกว่า เคมิออสโมซิส (chemiosmosis) ซึ่งสร้าง[[พลังงานศักย์]]ในรูปของความแตกต่างทางศักย์ (gradient) ของค่า [[pH]] และศักย์ไฟฟ้าข้ามเยื่อหุ้มนี้ การเก็บสะสมพลังงานดังกล่าวจะลดลงเมื่อโปรตอนไหลกลับผ่านเยื่อหุ้มและลดความแตกต่างทางศักย์นี้ ผ่านเอนไซม์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เอทีพีซินเทส (ATP synthase) เอนไซม์นี้ใช้พลังงานดังกล่าวเพื่อสร้าง ATP จากอะดีโนซีนไดฟอสเฟต (ADP) ใน[[ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน]] ปฏิกิริยานี้ถูกขับเคลื่อนโดยการไหลของโปรตอน ซึ่งทำให้เกิดการหมุนบางส่วนของเอนไซม์ เอทีพีซินเทสเป็นมอเตอร์กลแบบหมุน
 
แม้ว่า ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชันจะเป็นส่วนสำคัญของเมแทบอลิซึม แต่ปฏิกิริยาดังกล่าวก็ผลิตออกซิเจนที่เกิดปฏิกิริยาได้ (reactive oxygen) อย่าง[[ซูเปอร์ออกไซด์]]และ[[ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์]] ซึ่งนำไปสู่การแพร่กระจายของ[[อนุมูลอิสระ]] ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เซลล์ และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคภัยต่าง ๆ และอาจรวมถึงการสูงวัย (ภาวะสู่วัยชรา) ด้วย เอนไซม์ที่ดำเนินวิถีเมแทบอลิซึมนี้ยังเป็นเป้าหมายของยาและพิษหลายชนิดที่ยับยั้งกิจกรรมของมัน
 
== แหล่งที่เกิด ==