ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกัดเซาะชายฝั่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: et:Murrutus
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Coastal Erosion Hunstanton Cliffs.jpg|thumb|170px|การพังทลายของหน้าผาในฮันสแทนทัน มณฑลนอร์โฟล์ค ประเทศอังกฤษ มีสาเหตุมาจากการกัดเซาะชายฝั่งของ[[คลื่น]] [[ลม]] และ[[น้ำขึ้นน้ำลง|กระแสน้ำขึ้นลง]]]]
 
'''การกัดเซาะชายฝั่ง''' ({{lang-en|Coastalcoastal erosion}}) เกิดจากพลังของ[[คลื่น]] [[ลม]] และ[[น้ำขึ้นน้ำลง|กระแสน้ำขึ้นลง]] (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อ[[ชายฝั่ง]]ทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง
 
== ลักษณะภูมิประเทศ ==
บรรทัด 7:
การกัดเซาะจากคลื่น ลม สามารถทำให้ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภูมิประเทศลักษณะต่าง ๆ (erosional landforms) ดังนี้
 
*; ''หน้าผาชันริมทะเล'' (Sea Cliff) : พบในบริเวณที่ชายฝั่งมี[[ภูเขา]]หรือ[[เทือกเขา]]อยู่ติดกับทะเล หรือชายฝั่ง โดยมีการวางตัวของชั้นหินในแนวเอียงเทหรือแนวตั้งฉากกับทะเล คลื่นจะกัดเซาะชายฝั่งทำให้เกิดภูมิประเทศเหมือน[[หน้าผา]]ริมทะเลขึ้น สามารถพบได้บริเวณฝั่งทะเลยุบตัว สำหรับประเทศไทยจะอยู่บริเวณชายฝั่งด้าน[[ทะเลอันดามัน]]
 
*; ''เว้าทะเล'' (Sea Notch) : เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและการกัดกร่อนละลายของหินบริเวณฐานของหน้าผาชันที่ติดกับทะเลหรือชายฝั่ง จะเห็นเป็นรอยเว้าในแนวระดับซึ่งจะขนานไปกับ[[ระดับน้ำทะเล]]ในช่วงเวลาและยุคต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่จะใช้ในการวิเคราะห์ระดับน้ำทะเลในอดีตเทียบกับระดับน้ำทะเลในปัจจุบันได้
 
*; ''โพรงหินชายฝั่ง'' (Grotto) หรือ ''ถ้ำทะเล'' (Sea Cave) : จะเป็น[[ถ้ำ]]ที่พบตามบริเวณชายฝั่งทะเล หรือชายฝั่งของเกาะต่างๆ โดยการเกิดถ้ำชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับการกัดเซาะของคลื่นที่หน้าผาชายฝั่งเป็นเวลานานติดต่อกัน จนทำเกิดเป็นช่องหรือโพรงเข้าไป ในช่วงแรกอาจเป็นโพรงขนาดเล็ก (grotto) แต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากน้ำฝนและน้ำใต้ดินมาช่วยก็กลายเป็นโพรงขนาดใหญ่ หรือเป็นถ้ำ (cave) ที่เราพบในปัจจุบัน
 
*; ''ถ้ำลอด'' (Sea Arch) : เป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีความสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของคนในการเข้าไปท่องเที่ยวเนื่องจากมีลักษณะพิเศษคือจะเห็นเป็นโพรงหรือถ้ำที่เปิดทะลุออกสู่ทะเลทั้งสองด้าน โดยถ้ำลอดที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย คือ ถ้ำลอดที่[[อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา]] [[จังหวัดพังงา]] และ[[เขาช่องกระจก]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]
 
*; ''สะพานหินธรรมชาติ'' (Natural Bridge) : เกิดจากการกระทำของคลื่นและลมที่กัดเซาะแนวหินบริเวณที่ยืนเข้าไปในทะเล โดยในระยะแรกจะเกิดโพรงหินชายฝั่งขึ้นแต่เนื่องจากการกัดเซาะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองด้าน จนในที่สุดโพรงก็ทะลุถึงกัน ซึ่งหินส่วนที่เหลืออยู่เหนือโพรงที่สามรถวางตัวอยู่ได้โดยไม่ถล่มลงมาจะทำให้มีลักษณะคล้ายสะพานเกิดขึ้น ลักษณะสะพานหินที่สามารถพบได้ในประเทศไทยจะตั้งอยู่ที่[[เกาะไข่]] ใน[[อุทยานแห่งชาติตะรุเตา]] [[จังหวัดสตูล]]
 
*; ''เกาะหินโด่ง'' (Stack) หมายถึง: หินหรือโขดหินแนวตั้งที่แยกโดดออกมาห่างจากแผ่นดินหรือเกาะที่อยู่ใกล้เคียง จะเกิดได้จากการที่หน้าผาหินยื่นเกินออกไปในทะเล คลื่นและลมกัดเซาะบริเวณส่วนเชื่อมต่อซึ่งไม่แข็งแรงเป็นเวลานาน จนในที่สุดส่วนที่เชื่อมต่อเกิดการพังทลายจมลงไปในน้ำ เหลือเพียงโขดหินที่ตั้งโดดเด่นแยกออกมาต่างหาก โดยในอดีตส่วนที่เคยเชื่อมต่อนั้นอาจเป็นแนวหิน สะพานหินธรรมชาติ หรือถ้ำลอดขนาดใหญ่ก็ได้ แต่เพราะน้ำหนักของหินส่วนบนที่เชื่อมต่ออยู่มีมากเกินกว่าจะสามารถคงอยู่ได้จึงเกิดความไม่สมดุล ในตอนท้ายจึงเกิดการหักพังหรือยุบถล่มลงจมอยู่ใต้น้ำ เราจะพบลักษณะเกาะหินโด่งในประเทศไทยได้ที่ [[เขาตะปู]]ใน[[อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา]] จังหวัดพังงา
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย]]
 
{{ต้องการ== อ้างอิง}} ==
* Donald J. P. Swift, Coastal Erosion and Transgressive Stratigraphy, The Journal of Geology. Vol. 76, No. 4 (Jul., 1968), pp. 444-456 Published by: The University of Chicago Press
* Komar, P.D., CRC handbook of coastal processes and erosion. 1983 Jan 01.
 
[[หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานวิทยา]]
 
{{โครง}}
 
[[ar:تآكل الساحل]]