ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
recover old content
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
{{พุทธศาสนา}}
 
ในปัจจุบัน[[ประเทศอินโดนีเซีย]]จะเป็นประเทศนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] แต่อดีตเคยมี[[พระพุทธศาสนา]]แบบ[[มหายาน]]เข้ามาประดิษฐานอยู่ [[พระพุทธศาสนา]]ได้รุ่งเรืองมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 มีโบราณสถานที่สำคัญ 2 แห่งอยู่ใน[[อินโดนีเซีย]]คือ [[โบโรบุดูร์]] หรือ [[บรมพุทโธ]] ตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu)ในภาคกลางของชวา ห่างจากเมือง[[ยอกจาการ์ตา]] (Jogjagata) ในปัจจุบันทางเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร และ[[พระวิหารเมนดุต]] (Mendut) ซึ่งอยู่ห่างจาก โบโรบุดูร์ไปทางทิศตะออก 3 กิโลเมตร ต่อมาเมื่ออิสลามได้ขยายอำนาจครอบงำอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2012 ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขณะที่พระพุทธศาสนาตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดระยะเวลาอันยาวนาน และเป็นสาเหตุทีทำให้พระพุทธศาสนาแทบจะหายไปจากอินโดนีเซียในปัจจุบัน
 
== ประวัติ==
===ยุคเริ่มต้น===
[[พระพุทธศาสนา]]เข้ามาสู่ประเทศอินโดนีเซียใน[[พุทธศตวรรษที่ 3]] คราวที่[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] ส่งพระโสณะ และพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธธรรม ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เกิดรัฐมหาอำนาจทางทะเลชื่อว่า [[อาณาจักรศรีวิชัย]] (Srivijaya) ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่อินโดนีเซีย จนถึงคาบสมุทรมลายู รวมไปถึงทางใต้ของ[[ประเทศไทย]] อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ศาสนิกส่วนใหญ่จะเป็นนิกาย[[มหายาน]] และแพร่หลายมาก และได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ และ[[พระโพธิสัตว์]] เป็นต้น
 
===ราชวงศ์ไศเลนทร์===
กลาง[[พุทธศตวรรษที่ 13]] บน[[เกาะชวา]]ทางภาคกลาง ได้เกิดราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ นามว่า '''[[ราชวงศ์ไศเลนทร์]]''' ซึ่งในเวลาต่อมา ราชวงศ์ไศเลนทร์ก็มีอำนาจปกครองอาณาจักรศรีวิชัยใน[[พุทธศตวรรษที่ 15]] และได้มีการติดต่อ[[ราชวงศ์ปาละ]] แห่งเบงกอล และได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน โดยอาณาจักรศรีวิชัยได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาที่[[มหาวิทยาลัยนาลันทา]] ซึ่งกษัตริย์แห่งเบงกอลก็ให้การต้อนรับอย่างดี และทางเบงกอลก็ได้ส่งพระภิกษุ และช่างฝีมือดี มาเผยแผ่พุทธศาสนา และสอนศิลปะสมัยปาละ แก่ชาวนครศรีวิชัยด้วยบางระจัน
 
===ยุคมัชฌปาหิต===