ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: de:Putsch in Thailand 1947
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
สำหรับ พล.ร.ต.ถวัลย์ แล้ว เมื่อนักข่าวซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ตอบว่า ''"ก็นอนรอการปฏิวัติอยู่แล้ว"'' เพราะมั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลตัวเอง ที่มีผู้บัญชาการทหารบก (พล.อ.[[หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)|อดุล อดุลเดชจรัส]]) ให้การสนับสนุนอยู่<ref>จรี เปรมศรีรัตน์, ''กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ.2489 61 ปี ประชาธิปัตย์ ยังอยู่ยั้งยืนยง'' ISBN 9789747046724</ref>
 
การรัฐประหารครั้งนี้ เดิมทีกำหนดให้เกิดขึ้นในเวลา 05.00 น. ของวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] แต่ทว่า พล.อ.[[อดุล อดุลเดชจรัส|หลวงอดุยเดชจรัส]] ผู้บัญชาการทหารบก ทราบเสียก่อน จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว คณะผู้ก่อการจึงเลื่อนกำหนดเดิมให้เร็วขึ้นหนึ่งวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน กองกำลัง[[รถถัง]]ส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ [[สวนอัมพร]] ทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ[[รถถัง]]อีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบ[[ท่าช้างวังหลวง]]เพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัวนายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภรรยาและลูก ๆ เท่านั้น
 
เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้แถลงต่อ[[สื่อมวลชน]]ด้วยน้ำตาว่าทำไปเพราะความจำเป็น จนได้รับฉายาว่า ''"วีรบุรุษเจ้าน้ำตา"'' หรือ ''"บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล"'' และเรียกทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหารว่า ''"คณะทหารแห่งชาติ"'' ซึ่งสาเหตุของการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ปรากฏอยู่ในคำปรารภของ[[s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๐|รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490]] หรือที่เรียกกันว่า ''"รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม"'' ที่ถูกนำออกมาใช้หลังจากนั้น ว่า