ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แนบ พหลโยธิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ในการประชุมครั้งแรกที่หอพัก Rue du summerard [[กรุงปารีส]] ที่นานถึง 5 วันติดต่อกัน ที่ประชุมมีมติให้นายปรีดี เป็นหัวหน้า และได้มอบหมายให้นายแนบ เป็นผู้ดูแลครอบครัวของเหล่าสมาชิกที่เหลือ หากการปฏิวัติไม่สำเร็จ เนื่องจากนายแนบนั้นมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนอื่น นอกจากนี้แล้ว นายแนบยังเป็นผู้แนะนำและรับรอง นาย[[ทวี บุณยเกตุ]] นักเรียนการเกษตร ให้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรด้วย
 
เมื่อเดินทางกลับมาถึง[[ประเทศไทย]] นายแนบเป็นผู้ที่ทาบทาม พันเอก [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] จเรทหารปืนใหญ่ ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย และรับสถานะเป็นหัวหน้าคณะราษฎร เนื่องด้วย นายแนบนั้นมีศักดิ์เป็นหลานชายของ พ.อ.พระยาพหลฯ โดยเป็นบุตรชายของ[[พระยาพหลโยธิน รามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน]])|พระยาพหลโยธิน รามินทรภักดี)]] พี่ชายของ พ.อ.พระยาพหลฯ<ref> ''2475 ตอน สองฝั่งประชาธิปไตย'', [[สารคดี]] ทาง[[ทีพีบีเอส]]: [[26 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]]</ref>
 
ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครองไม่นาน นายทวี ซึ่งรับราชการอยู่ยัง[[จังหวัดขอนแก่น]] จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับสมาชิกคนอื่น ๆ นายแนบจึงเป็นผู้ส่ง[[โทรเลข]]ไปหา เพื่อแจ้งวัน-เวลาในการปฏิบัติการ<ref>หน้า 100-102, ''ตรัง'' โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2539]] [[กรุงเทพมหานคร]], [[สำนักพิมพ์มติชน]]) ISBN 974-7115-60-3</ref>