ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลังกาวตารสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 4068196 โดย พุทธามาตย์.
เพิ่มเติมแล้ว
บรรทัด 6:
== เนื้อหา ==
ลังกาวตารสูตรใช้แนวคิดและคำสอนแบบ[[โยคาจาร]]และเน้นเรื่อง[[ตถาคตครรภ์]]<ref>Youru Wang, ''Linguistic Strategies in Daoist Zhuangzi and Chan Buddhism: The Other Way of Speaking.'' Routledge, 2003, page 58.</ref> หลักการสำคัญของพระสูตรนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่อง[[วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)|วิญญาณ]] ว่าเป็น[[สิ่งเป็นจริง]]แท้เพียงอย่างเดียว สิ่งทั้งหมดในโลก นามต่าง ๆ และประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นแต่เพียงภาพปรากฏของจิตเท่านั้น มีการอธิบายวิญญาณในแต่ละบุคคลออกเป็นชั้น ๆ ประเภท ๆ โดยมีอาลยวิชญานเป็นพื้นฐานของวิญญาณทุกประเภท รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ใน[[เอกภพ]]ด้วย
 
== ลังกาวตารสูตร ภาคมางสภักษนปริวรรต ว่าด้วยการไม่ทานเนื้อสัตว์==
 
'''ลังกาวตารสูตร'''<ref name = "ลังกาวตารสูตร แปลโดย พุทธทาสภิกขุ">ลังกาวตารสูตร แปลโดย พุทธทาสภิกขุ เรียบเรียงโดย ธีระ วงศ์โพธิ์พระ, พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรุงเทพฯ : แสวงสุทธิการพิมพ์, 2524</ref> เป็นพระคัมภีร์หลัก (Text)ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นหนึ่งในเก้าคัมภีร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญที่เรียกว่า “สูตร” สูตรหนึ่งนั้นมิใช่สั้น ๆ เช่นที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นหนังสือเล่มขนาดใหญ่หรือคัมภีร์หนึ่งนั่นเอง ลังกาวตารสูตรพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อ ค.ศ.๑๗๒๒ โดยท่าน Bunyin Nangio.M.A. (oxon) D.Litt. Kvoto. สูตรนี้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรก เมื่อค.ศ. ๔๓๓ โดยท่านคุณภัทรแห่งอินเดีย ครั้งที่สองเมื่อ ค.ศ. ๕๑๓ โดยท่านโพธิรุจิแห่งอินเดียและครั้งที่สามเมื่อ ค.ศ. ๗๐๐ โดยท่านศึกษานัน ทะแห่งอินเดียเช่นกัน เป็นสูตรที่ว่าด้วยศึกษาด้วยศีลธรรมล้วน ๆ
ภาคที่แปดแห่งลังกาวตารสูตรนี้ กล่าวถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ เรียกว่า ภาคมางสภักษนปริวรรต จากข้อความในภาคนี้ ย่อมเป็นการพิสูจน์ไว้อย่างเต็มที่ว่า สาวกในพระพุทธศาสนาจะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาสก็ตาม จะไม่รับประทานเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย
ต่อไปนี้เป็นข้อความบางตอน ซึ่งตัดตอนมาจากข้อความในภาคนั้น ๆ โดยเห็นว่าพวกเราแม้เป็นฝ่ายเถรวาท (หินยาน) ก็ควรได้อ่านฟังกันไว้บ้างเป็นการประกอบการศึกษาเรื่องนี้ ด้วยใจอันเป็นอิสระ
 
ข้อความในพระสูตรนั้นมีดังนี้ :
 
พระตถาคตเจ้า ผู้ทรงอรหันต์ได้ตรัสรู้อย่างดีถ้วนแล้ว และได้ตรัสความเป็นกุศลหรืออกุศลแห่งการบริโภคเนื้อสัตว์แก่เรา เพื่อว่าเราและสาวกอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะได้ประกาศสัจธรรมอันนี้แก่เขาเหล่านั้น ผู้บริโภคเนื้อสัตว์เพื่อเป็นการทำลายความอยากในเนื้อสัตว์ของเขาเหล่านั้นเสีย
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า :
 
โอ,มหาบัณฑิต! ด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลอันมากมายเหลือจะประมาณ บ่งแสดงว่าเนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธ โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้มีใจเปี่ยมด้วยความกรุณาสำหรับเขาเหล่านั้น
เราจักกล่าวแต่โดยย่อ ๆ ดังนี้..
โอ,มหาบัณฑิต! ในวัฏฏสงสารอันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไปในการว่ายเวียนตายเกิด ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียวที่ในบางสมัยไม่เคยเป็นแม่ พ่อพี่น้องชาย พี่น้อง
หญิง ลูกชาย ลูกหญิงหรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกันย่อมถือปฏิสนธิในภพต่าง ๆเป็นกวางหรือสัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้าอื่นๆ หรือเป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง
สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะทำลงไปได้อย่างไรหนอจัดเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยัง?เป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นอยู่ว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นภราดร1 ของตนแล้ว จะเชือดเนื้อเถือหนังของมันอีกหรือ?
โอ,มหาบัณฑิต! เนื้อสุนัข เนื้อลา อูฐม้า โค และเนื้อมนุษย์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเนื้อที่ผู้คนไม่รับประทาน แม้กระนั้นเนื้อของสัตว์เหล่านี้ถูกนำมาปลอมขาย ในนามของเนื้อแกะ ฯลฯเพราะเห็นแก่เงิน ด้วยเหตุนี้เนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกินโดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา
โอ, มหาบัณฑิต! เพราะว่าเนื้อย่อมเกิดมาจากเลือดและน้ำอสุจิ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค สำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนาผู้ประสงค์ต่อธรรมอันบริสุทธิ์ และเป็นการสร้างความหวาดกลัว
ให้เกิดขึ้นในระหว่างกันและกัน
โอ,มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้นเนื้อจึงเป็นของที่ไม่ควรบริโภค โดยบรรพชิตแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์เพื่อนมิตรภาพในสัตว์ด้วยกันถ้วนหน้า
ตัวอย่างอันประจักษ์ เช่น เมื่อสัตว์ได้เห็นนายพรานป่า ชาวประมงหรือนักกินเนื้ออื่น ๆเดินมาแม้ในระยะอันไกล สัตว์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวเสียแล้ว บางครั้งสัตว์บางชนิดก็ขาดใจตายเพราะความกลัว เนื่องจากมันรู้ดีว่าเขาจะฆ่ามันทำนองเดียวกันกับสัตว์ตัวน้อยอื่นๆ ในท้องฟ้าบนบกหรือในน้ำก็ตาม เมื่อได้เห็นนักกินเนื้อแต่ที่ไกลหรือได้กลิ่นด้วยจมูกอันไวของมันก็จะพากันวิ่งหนีไปไกล พร้อมกับความรู้สึกอยู่ในใจว่าเขาเหล่านั้นเป็นผี ยักษ์ อสุรกาย2 ผู้ล้างผลาญนั่นเป็นเพราะความกลัวต่อความตายของมันเนื้อเป็นสิ่งที่ควรกินสำหรับผู้ใจดำอำมหิตเป็นสิ่งที่มีกลิ่นอันน่ารังเกียจ เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมเสียและเป็นสิ่งที่จะถูกห้ามกันโดยสัตบุรุษ
โอ,มหาบัณฑิต! เนื้อนี้เป็นของไม่ควรบริโภคโดยพุทธสาวก
โอ, มหาบัณฑิต! สัตบุรุษย่อมบริโภคแต่อาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อและเลือด เพราะฉะนั้น... ควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย พระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งเยือกเย็นไปด้วยพระมหากรุณา มีพระทัยเปี่ยมล้นไปด้วยความเป็นที่พึ่ง ที่ป้องกันแก่ดวงใจของปวงสัตว์น้อยใหญ่และมีพระสัมปชัญญะ3สมบูรณ์ พอที่จะไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสสำหรับความเสื่อมเสียระบาดขึ้นได้เลยนั้น ย่อมจะทรงบัญญัติเนื้อสัตว์ว่าเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค
โอ,มหาบัณฑิต! ในโลกนี้มีคนอันมากซึ่งกล่าวคำเท็จเทียมต่อพระพุทธดำรัส ให้ผิดไปจากความจริง เขากล่าวกันว่าบรรดาผู้ซึ่งคัดค้านอาหารอันสมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ แห่งสมัยบรรพกาลนั้น ก็กินอาหารเหมือนนักกินเนื้อเช่นนี้แล้ว พวกเขาย่อมเที่ยวสร้างความทุกข์ความเจ็บปวดให้แก่สัตว์น้อยใหญ่ ที่มีชีวิตอยู่ในอากาศ บนบก และในน้ำ พวกเขารบกวนรังควานมันอยู่เสมอ สมณภาพ4ของเขาถูกทำลายเสียย่อยยับแล้ว พราหมณ์ภาพของเขาถูกทำให้เศร้าหมองเสียแล้ว เขามิได้ประกอบด้วยศรัทธาและสมาจาร5คนชนิดนี้แหละที่กล่าวคำเท็จเทียมมากมายหลายชนิดแก่พระพุทธวจนะ
โอ, มหาบัณฑิต! มีกลิ่นที่น่ารังเกียจไม่น่าบริโภคอยู่ในเนื้อสัตว์เช่นเดียวกัน กับกลิ่นแห่งศพ แม้เหตุผลเพียงเท่านี้ เนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งของไม่ควรบริโภค สำหรับพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าศพถูกเผา และเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกเผา มันก็จะมีกลิ่นอันน่ารังเกียจไม่แตกต่างอะไรกันเลย
ดังนั้น บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้หวังความบริสุทธิ์จะไม่บริโภคเนื้อใด ๆ เลย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรังเกียจกันแล้ว สำหรับท่านผู้บริสุทธิ์และสาวกของท่าน ในกรณีที่จะพยายามเพื่อโมกษะและ
ความตรัสรู้ เพราะฉะนั้นสาวกผู้เดินตามทางอันสูงยิ่งนี้ ทั้งครอบครัวลูกหญิงชายย่อมอยู่อย่างเต็มใจ ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรังเกียจกันในทุก ๆ กรณีที่พยายามเพื่อสมาธิ
โอ, มหาบัณฑิต! เพราะฉะนั้น เนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนซึ่งเป็นผู้ที่ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิตทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น นักกินเนื้อย่อมเป็นเหยื่อแห่งโรคหลายชนิด
เช่นโรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน โรคเจ็บในท้อง ฯลฯ
โอ,มหาบัณฑิต! เรากำลังประกาศว่าการกินเนื้อสัตว์ เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ ดังนี้แล้ว จะกล่าวไปอย่างไรได้ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคน
ใจอำมหิต เป็นของควรห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วยมลทินปราศจากคุณใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาดโดยประการทั้งปวง
โอ,มหาบัณฑิต! เราได้บัญญัติไว้แล้วว่าสำหรับอาหารอันสมควร ซึ่งได้กำหนดนิยมกันมาแล้ว โดยบรรดาท่านบริสุทธิ์แห่งสมัยบรรพกาลได้แก่ อาหารที่ปรุงขึ้นจากข้าว ลูกเดือยข้าวสาลี สารแห่งหญ้ามุญชะ6 อูรทะและมสุร นมส้มน้ำนม น้ำตาลสด น้ำตาลกรวด ฯลฯ
โอ, มหาบัณฑิต! ในกาลก่อนมีพระราชาครองราชย์สมบัติอย่างผาสุก พระองค์หนึ่งนามว่าราชาสิงหะเสาทโส ต่อมาได้กลายเป็นผู้ละโมบในการบริโภคเนื้อ จนในที่สุดถึงกับใช้เนื้อคนเป็นอาหาร เนื่องจากความอยากเป็นไปแก่กล้าหนักเข้า เพราะเหตุนี้พระองค์จึงถูกปลดออกจากความเป็นพระราชา โดยพระสหายเสนาบดีและพระประยูรญาติของพระองค์เอง พร้อมทั้งคนอื่น ๆ จนกระทั่งต้องสละราชสมบัติ และถูกเนรเทศ ออกไปจากแคว้นของพระองค์โดยประชาชนต้องรับทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวง เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นเหตุ
โอ, มหาบัณฑิต! ก็ในปัจจุบันชาตินี้เองเขาเหล่านั้น ซึ่งเคยชินกับการกินเนื้อสัตว์ในมาตรฐานนี้ เมื่อความอยากเป็นไปรุนแรงเข้าก็กินเนื้อคนได้ ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกินและเป็นเหมือนยักษ์ ปีศาจร้าย ครั้นถึงอนาคตกาลเพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อสัตว์ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่นสิงโต เสือ จระเข้ สุนัขจิ้งจอก แมว นกเค้าแมวฯลฯ
โอ, มหาบัณฑิต! มิใช่เพราะเนื้อจะเป็นของต้องกินหรือการฆ่าเป็นของต้องทำก็หามิได้ ในกรณีนั้นๆ ส่วนมากทั้งหมดเป็นเพราะการเห็นแก่เงินจึงฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ถึงแม้จะเป็นสัตว์เชื่องและปราศจากอันตรายแต่อย่างใดก็ถูกฆ่า การฆ่าเพราะเหตุอื่นนั้นมีน้อยที่สุด มันเป็นการทรมานเขามาก ในเมื่อใจเต็มไปด้วยความอยากกินเนื้ออย่างแรงกล้า คนก็กินเนื้อคนได้อยู่เสมอจะต้องกล่าวไปทำไมกับเนื้อสัตว์ เนื้อนก ฯลฯ โดยส่วนมาก ก็เนื่องจากความโง่เขลาเข้าใจผิด มนุษย์จึงได้รับกรรมเกิดความกระวนกระวาย โดยความอยากในเนื้อสัตว์ คนฆ่านก ฆ่าแกะ และปลา โดยใช้ข่ายหรือเครื่องกลการฆ่ามันเหล่านั้น ซึ่งเป็นสัตว์ที่เชื่องและหาอันตรายมิได้ นั่นก็เพื่อหวังจะให้ได้เงิน
โอ, มหาบัณฑิต! กรณีแห่งอาหารที่เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลยซึ่งเป็นของควรกิน สัตว์ซี่งเป็นของไม่ควรกิน ไม่เป็นเหตุควรถูกกิน ไม่ใช่สิ่งที่ควรสมมุติว่าควรกิน ใน
อนาคตกาลสงฆ์สาวกของเราจะเกิดมีคนบางคน ซึ่งกำลังสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิตและกำลังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรกำลังครองผ้ากาสาวพัตร์สีแดงหม่น จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตนคลุกเคล้า
อยู่ในความเพลิดเพลิน เขาจะมีจิตที่เต็มไปด้วยความปรารถนาลามกบัญญัติข้อปฏิบัติที่ผิดแบบแผนขึ้นใหม่ เขาเหล่านั้นเป็นผู้อยากเสพเพราะติดรส และจะเรียบเรียงพระคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จ อันจะเป็นเครื่องยืนยัน และโต้แย้งอย่างพอเพียงสำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์ เขาจะกล่าวว่าเราตถาคตได้บัญญัติไว้ในเรื่องนี้ และว่าเราตถาคตนับมันเข้าไว้ในสิ่งทั้งหลายที่ควรกิน และว่าพระภควันต์7ก็ได้ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง
แต่ โอ, มหาบัณฑิต! เรามิได้เคยบัญญัติเนื้อสัตว์ไว้ในสูตรใด ๆ หรือกล่าวว่ามันเป็นของควรกินหรือนับมันเข้าในประเภทของดีที่ควรกิน
โอ, มหาบัณฑิต! อริยสาวกทั้งหลายไม่บริโภคแม้แต่สิ่งที่คนธรรมดาชอบกินนิยมกันว่าดี เขาเหล่านั้นจะมาบริโภคเนื้อและเลือดซึ่งเป็นของควรปฏิเสธได้อย่างไรเล่า? เหล่าสาวกของตถาคตเป็นผู้เดินตามแนวสัจธรรม คนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องคิดค้นของตนเอง และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอื่นๆ (แห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ) ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาเหล่านั้นมิใช่ผู้กินเนื้อสัตว์ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ๆก็เป็นดั่งนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายมีสัจธรรมเป็นพระกายของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยสัจธรรมไม่ทรงดำรงกายด้วยเนื้อสัตว์ท่านเหล่านั้นไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์ พระองค์ทรงเพิกถอนความอยากในโลกีย์วัตถุได้ทั้งหมดแล้ว ท่านเหล่านั้นปราศจากมลจิตอันเป็นมูลแห่งความทุกข์ ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณอันไม่ข้องขัด ในอันจะหยั่งทราบสิ่งซึ่งเป็นกุศลและอกุศล ทรงทราบสิ่งทั้งปวงเห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง พระองค์ทรงมองไปที่สรรพสัตว์ คล้ายกับบุตรของพระองค์เองทรงกอปรด้วยมหาเมตตา มหากรุณา
โดยทำนองเดียวกัน เราตถาคตเห็น สรรพสัตว์เช่นเดียวกับบุตรของเราเอง เราจะบัญญัติให้สาวกของเราบริโภคเนื้อลูกของเราได้อย่างไรเล่า และเราเอง ก็จะบริโภคมันได้อย่างไรเล่ามันไม่มีข้อควรสงสัยเลยในเรื่องที่ว่าเราได้บัญญัติให้สาวกบริโภคหรือเราได้บริโภคมันโดยตนเองหรือไม่? (ในที่สุด ได้ตรัสคำที่ผูกเข้าเป็นคาถา ซึ่งจะยกมาในที่นี้แต่บางคาถา มีใจความว่า )
โอ, มหาบัณฑิต! พระชินวรได้ตรัสไว้แล้วว่าสุรา เนื้อและหอม กระเทียม เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรบริโภค บรรพชิตควรเว้นเสมอจากเนื้อสัตว์ หัวหอม กระเทียม และนานาประภทแห่งเครื่องดื่มอันมึนเมาเขาผู้ฆ่าสัตว์ชนิดใด ๆ ก็ตามเพื่อเงินและเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินเพื่อซื้อเนื้อนั้น ทั้งสองพวกได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบอกุศลธรรม และจักจมลงสู่โรรุวะนรกและนรกอื่นๆ เราบัญญัติ ห้ามกินเนื้อสัตว์ไว้ในข้อความแห่งคัมภีร์ เหล่านี้คือ
๑.หัสติกักสยะ ๒. มหาเมฆะ ๓.นิรวาณางคลีมาลิกา ๔.ลังกาวตารสูตร
ฉันเดียวกันกับที่ ความถูกพันธนาการเป็นข้าศึกของความหลุดพ้นเป็นอิสรภาพ เนื้อสัตว์สุรา ฯลฯ ก็เป็นข้าศึกของนิรวาณ (นิพพาน) ฉันนั้น
ดังนั้น เนื้อสัตว์ซี่งเป็นของดูน่ากลัวแก่สรรพสัตว์ และเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติเพื่อวิมุตติ จึงเป็นของไม่ควรกินนี่คือธงชัยแห่งอารยชน
 
'''หมายเหตุ'''
# ภราดร คือ พี่ชาย น้องชาย ภราดรภาพ คือ ความเป็นฉันพี่น้องกัน
# อสุรกาย คือ สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง คล้ายเปรต
# สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวอยู่เสมอ ความไม่เผลอตัว
# สมณภาพ คือ ภาวะผู้สงบกิเลสแล้ว
# สมาจาร คือ ความประพฤติที่ดี ธรรมเนียม ประเพณี
# มุญชะ คือ พืชจำพวกหญู้าปล้อง
# ภควันต์... ภควา.. ภควาน... ภควัต นามพระผู้เป็นเจ้า
 
== อ้างอิง ==