ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Natachai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
เมื่อพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือถึงอนิจกรรมลง รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเพชรพิไสยฯ เป็นพระยาเทพประชุน ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปราชการเรื่องสาย[[โทรเลข]] ที่เมือง[[สิงคโปร์]]และเมือง[[ภูเก็ต]] เมื่อกลับเข้ามาพระนคร ในปี พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองการทำพลับพลาค่ายหลวงที่ว่าการแขวงเมือง[[ประจวบคีรีขันธ์]] เพื่อเสด็จประทับทอดพระเนตร[[สุริยุปราคา]]เต็มดวง
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จขึ้นครองราชย์ ท่านทำหน้าที่กราบทูลพระกรุณามอบถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศ และราชสมบัติทั้งปวงตามพระราชประเพณีแทน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต่อมา พ.ศ.2412 ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง และกรมท่า ทั้งว่าการต่างประเทศด้วย และได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]]ปฐมจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]]ปฐมจุลจอมเกล้า ชุดนี้ขึ้นและได้รับพระราชทานให้แก่เสนาบดีชั้น[[เจ้าพระยา]]เป็นครั้งแรก
 
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดีคนแรกของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 หลังจากมีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น แยกราชการฝ่ายการคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมากราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่า การต่างประเทศ เนื่องจากมีโรคภัยเบียดเบียน ท่านถึงอสัญกรรม เมื่อ [[พ.ศ. 2456]] อายุ 83 ปี