ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
สมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะทรงประสบความสำเร็จจากการเริ่มต้นสหภาพแห่งนุวคตที่ซึ่งทอดยาวตั้งแต่[[กาฐมาณฑุ|กรุงกาฐมาณฑุ]]จนถึงแคว้นโกรข่า ในปีพ.ศ. 2287 หลังจากสหภาพนุวคต พระองค์ทรงเข้ายึดครองจุดยุทธศาสตร์ในบริเวณเนินเข้ารอบๆภูเขากาฐมาณฑุ การสื่อสารในราชรัฐหุบเขากาฐมาณฑุต่อโลกภายนอกจึงถูกตัดขาด การเข้ายึดครองเส้นทางคุติในปีพ.ศ. 2299 ได้หยุดการค้าขายระหว่างหุบเขากับธิเบต เพื่อหยุดการค้าขายระหว่างชาวเนวาร์ที่อาศัยอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุกับชาวมุสลิมแห่ง[[จักรวรรดิโมกุล]]ใน[[อินเดีย]]
 
หลังจากทรงปราชัยอย่างเสียพระเกียรติถึงสองครั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะทรงเอาชนะและเข้ายึดครอง[[กีรติปุระ]]ในการโจมตีครั้งที่สาม ในที่สุดสมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่เมืองหละงจากยึดครองกีรติปุระ ดังนั้น[[พระเจ้าจายะประกาชแห่งกาฐมาณฑุ]]ได้เสด็จพร้อมพระมเหสีลี้ภัยไปยังเมือง[[ปาตาน]]ที่ลลิตปุระ ปาตาน เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะได้ขยายอาณาเขตสู่ปาตานในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ พระเจ้าจายะประกาชแห่งกาฐมาณฑุและ[[พระเจ้าเท็จนารสิงห์มัลละแห่งปาตาน]]ได้เสด็จลี้ภัยไปยัง[[ภักตาปุระ]] ที่ซึ่งต่อมาก็ถูกยึดครองเช้นกัน สมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะทรงสามารถยึดครองหุบเขากาฐมาณฑุและทรงสถาปนากาฐมาณฑุขึ้นเป็นราชธานีพ.ศ. 2312 พระองค์ทรงประกาศขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งเนปาลที่[[จัตุรัสดะระบาร์]] การสถาปนาราชอาณาจักรเนปาลทำให้พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานในการพิชิตด้านตะวันออก [[ราชอาณาจักรเซนแห่งเจาดันติ]]ได้ถูกยึดครองในปีพ.ศ. 2316 และ[[ราชอาณาจักรเซนแห่งวิเจปุระ]]ก็ถูกผนวกเข้าอาณาจักรเนปาลในเวลาต่อมา การปราบปรามและรวมชาติเนปาลพระองค์ต้องใช้เวลานานเกือบ 25 ปี<ref>วราวุธ. หน้า 15</ref>
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}