ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีมายาเกวซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย นาย[[เจอรัลด์ ฟอร์ด]] [[ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา|ประธานาธิบดี]]ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหาร ซึ่งส่วนมากเป็น[[United States Marine Corps|นาวิกโยธิน]]ประมาณ 1,000 นาย จาก[[เกาะโอะกินะวะ|เกาะโอกินาวา]]และ[[Subic Bay|อ่าวซูบิค]] เข้าประจำการที่[[สนามบินอู่ตะเภา]]ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ [[13 พฤษภาคม]] โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นใน[[สนธยา|เช้ามืด]]ของวันที่ [[14 พฤษภาคม]] โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพอเมริกาที่[[จังหวัดอุดรธานี]]และ[[นครราชสีมา]]ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้
 
ทว่า ปฏิบัติการดังกล่าว ทางสหรัฐอเมริกามิได้กระทำการแจ้งอย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลไทย อันถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย ในวันที่ [[17 พฤษภาคม]] ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชนจำนวน 10,000 และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 30,000 คน นำโดย นาย[[ธีรยุทธ บุญมี]] ทำการประท้วง ที่หน้าสถานทูต[[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย]] [[ถนนวิทยุ]] อย่างรุนแรง โดยประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกา ว่าเป็น[[จักรวรรดินิยม]]อเมริกัน ที่คุกคามภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการชุมนุมลักษณะเช่นนี้และมีความพยายามเคลื่อนไหวที่จะให้มีการถอนกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศไทยมาแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ขีดเส้นตายว่า สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยให้หมดภายใน 18 เดือน และการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดหลังจาก[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] ในปี [[พ.ศ. 2516]]
 
รัฐบาลไทย โดย [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]ได้กระทำการตอบโต้สหรัฐอเมริกา ด้วยการขอให้ทางการสหรัฐฯทำหนังสือขอโทษมาอย่างเป็นทางการ และจะมีการพิจารณาทบทวนข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างกัน และ พลตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำสั่งเรียกตัว นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] เอกอัครราชไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา กลับด่วน