ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีมายาเกวซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox Military Conflict | conflict = กรณีมายาเกซ | partof = สงครามเวียดนาม<br>[[สงครามเ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:01, 23 กรกฎาคม 2555

กรณีมายาเกซ (อังกฤษ: Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกาที่รวดเร็ว และเกิดขึ้นเพียง 3 วัน ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 แต่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองยังภูมิภาคอินโดจีน

กรณีมายาเกซ
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม
สงครามเย็น

เรือมายาเกซ
วันที่13 พฤษภาคม ค.ศ. 1975-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975
สถานที่
เกาะตัง สาธารณรัฐสังคมนิยมกัมพูชาประชาธิปไตย
ผล สหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ โดยยึดเรือและตัวประกันกลับคืนมาได้
คู่สงคราม
ประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสังคมนิยมกัมพูชาประชาธิปไตย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เรนเดลล์ ดับเบิลยู.ออสติน เอ็ม ซอน
กำลัง
1,000 85-100
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 15
บาดเจ็บ 41
สูญหาย 3 (เสียชีวิต)
ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน 3 ลำถูกยิงตก[1]
เสียชีวิต 13-25
บาดเจ็บ 15
เรือปืนจมลง 3 ลำ
สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยจนหมดสิ้นในปลายปีเดียวกัน

เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม เรือบรรทุกสินค้า ซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกันชื่อ เอสเอส มายาเกซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงและประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชาเพียง 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตัง ใกล้กับเมืองกัมปงโสม (สีหนุวิลล์ ในปัจจุบัน)

การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการหยามหน้ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง และด้วยขณะนั้นสงครามเวียดนามเพิ่งยุติลงได้เพียงไม่กี่วัน เนื่องจากการที่กองทัพเขมรแดงและเวียดนามเหนือสามารถบุกยึดกรุงไซง่อน ประเทศเวียดนามใต้ และกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของลัทธิคอมมิวนิสต์ และเป็นความพ่ายแพ้อย่างอัปยศครั้งประวัติศาสตร์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดย นายเจอรัลด์ ฟอร์ด ประธานาธิบดีได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหาร ซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินประมาณ 1,000 นาย จากเกาะโอกินาวาและอ่าวซูบิค เข้าประจำการที่สนามบินอู่ตะเภาในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพอเมริกาที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมาออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้

ทว่า ปฏิบัติการดังกล่าว ทางสหรัฐอเมริกามิได้กระทำการแจ้งอย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลไทย อันถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชนจำนวน 10,000 และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 30,000 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ทำการประท้วง ที่หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศ ถนนวิทยุ อย่างรุนแรง โดยประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นจักรวรรดินิยมอเมริกัน ที่คุกคามภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการชุมนุมลักษณะเช่นนี้และมีความพยายามเคลื่อนไหวที่จะให้มีการถอนกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศไทยมาแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ขีดเส้นตายว่า สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยให้หมดภายใน 18 เดือน และการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516

รัฐบาลไทย โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้กระทำการตอบโต้สหรัฐอเมริกา ด้วยการขอให้ทางการสหรัฐฯทำหนังสือขอโทษมาอย่างเป็นทางการ และจะมีการพิจารณาทบทวนข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างกัน และ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำสั่งเรียกตัว นายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา กลับด่วน

ที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว ต่อมา ในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน เครื่องบินรบรุ่น F-4 ลำสุดท้ายก็ได้บินออกจากสนามบินกองทัพอากาศอุดรธานี ถือเป็นการปิดฉากการประจำการทางทหารของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยอย่างเด็ดขาด[2] [3]

อ้างอิง

  1. 33 ปี.. นาวิกฯ อีกคนเพิ่งได้กลับจากกัมพูชา
  2. กระแสต้าน "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" นักศึกษาชุมนุมประท้วงการใช้ฐานทัพอากาศในไทย โดยไม่ขออนุญาต หน้า 149, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  3. Walter LaFeber, America, Russia, and the Cold War, 1945-1990, (McGraw - Hill, Inc., 1991), pp. 281 – 282.

แหล่งข้อมูลอื่น

10°18′7″N 103°8′3″E / 10.30194°N 103.13417°E / 10.30194; 103.13417