ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะกอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PAHs (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาด +แทนที่ "{{รอการตรวจสอบ}}" → "" ด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{Taxobox
| color = lightgreen
| name = มะกอก
| image = Spondias_mombin_MS4005.JPG
เส้น 20 ⟶ 18:
{{ความหมายอื่น}}
 
'''มะกอก''' หรือ '''มะกอกป่า''' ชื่อพื้นเมืองอื่นๆได้แก่ กอกกุก , กูก (เชียงราย) ; กอกหมอง ( เงี้ยว – ภาคเหนือ ) ; ไพแซ (กะเหรียง – เชียงใหม่ ) ; มะกอก (ทั่วไป) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ตั้งแต่[[อินเดีย]] [[มาเลเซีย]]จนถึง[[อินโดนีเซีย]] เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงถึง 25 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเลี้ยงไม่มีขน เปลือกเรียบสีเทาแตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกข้างในมีริ้วสีชมพูสลับขาว ใบประกอบ มีใบย่อย 3 – 5คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรุปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาวตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีขนาดเล็ก มี 5 กลีบเกสรมีตัวเมียแยกเป็นสี่แฉก ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี เมื่อสุกผลสีเหลืองหม่น มีรอยแต้มสีน้ำตาลทั่วผล
 
มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลตลอดปี ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้โดยทั่วไป พบในป่าเบญจพรรณและป่าแดงทั่วไป ขึ้นได้ดินแทบทุกชนิด และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ชุมชื่น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งอาจปลุกลงหลุมได้
 
== การใช้ประโยชน์ ==
[[Fileไฟล์:Bai makok.jpg|thumb|left|ใบอ่อนของมะกอก ใช้เป็นผัก]]
ยอดอ่อนและใบใช้รับประทานเป็นผัก รสเปรี้ยว ผลรสเปรี้ยวหวานเย็น ผลสุกใช้ปรุงรสเปรี้ยวใน[[ส้มตำ]] ใช้ปรุงรสเปรี้ยวใน[[น้ำพริก]]หรือทำมะกอกทรงเครื่อง ในทางยา แก้[[เลือดออกตามไรฟัน]] และต้านอนุมูลอิสระ ( วิตามินสูง ) แก้ธาตุพิการ แก้บิด แก้ดีพิการ ทำให้ชุมคอ แก้กระหาย ผล เปลือก ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงสายตา แก้กระหายน้ำทำให้ชุ่มคอ และเลือดออกตามไรฟัน ใช้เมล็ดแห้ง 2 – 3 ลูก เผาไฟให้เป็นถ่าน แล้วนำไปแช่น้ำ กรองเอาน้ำดื่ม หรืออาจใช้ผสมยามหานิล ก็ได้แก้ร้อนใน หอบ และสะอึก
== อ้างอิง ==
* นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะกอกป่า ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 134
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะกอก"