ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอลิมปิกฤดูร้อน 1972"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: arz:العاب اوليمبيه صفية 1972
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
'''มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 20 ประจำปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515)''' จัดขึ้นที่ [[มิวเชิน]] [[ประเทศเยอรมนี]] ([[เยอรมันตะวันตก]])
 
โซเวียตมองเห็นช่องทางในการเผยแพร่ลัทธิทางการเมืองของตนโดยอาศัยการแข่งขันโอลิมปิค โดยพยายามที่เป็นผู้นำในการแข่งขัน และโน้มน้าวชาติอื่นๆ ให้เห็นว่าโซเวียตเป็นประเทศมหาอำนาจ ภายหลังพบว่านักกีฬาโซเวียตเป็นนักกีฬาอาชีพที่รัฐบาลว่าจ้างให้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคครั้งนั้น และยังพบอีกว่านักกีฬาจากสหภาพโซเวียตใช้ยาเสริมกำลัง ในปีนั้นสหภาพโซเวียตสามารถพิชิตเหรียญทองได้ถึง 99 เหรียญ นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในกรุงมิวเชิน นับเป็นโศกนาฏกรรมอย่างที่ไม่เคยมีความพยายามลักพาตัวนักกีฬา[[อิสราเอล]]มาก่อนในประวัติศาสตร์โอลิมปิก
 
ในการแข่งขัน[[บาสเกตบอล]]นักกีฬาจาก[[สหรัฐอเมริกา]]ได้พ่ายแพ้แก่นักกีฬาจากสหภาพโซเวียตเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกจากการแข่งขัน 63 ครั้ง ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธไม่ขึ้นรับเหรียญเงิน
บรรทัด 189:
|10||align=left| {{FlagIOC|ITA|ฤดูร้อน 1972}} ||5||3||10||18
|}
 
==เหตุการณ์กันยาทมิฬ==
ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ [[5 กันยายน]] ระหว่างที่มีมหกรรมการแข่งขันดำเนินอยู่นั้น ได้มีกลุ่มโจรผู้ก่อการร้ายชาว[[ปาเลสไตน์]]ทั้งหมด 8 คน จากกลุ่ม[[Black September|กันยาทมิฬ]] พร้อมอาวุธปืนและระบิดมือ บุกเข้าโจมตีหอพักนักกีฬาชาวอิสราเอลในหมู่บ้านนักกีฬา สังหารนักกีฬาอิสราเอลลงทันที 2 คน แล้วจับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่รวม 9 คน เป็นตัวประกัน เรียกร้องให้อิสรา เอลปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมนี แต่รัฐบาลอิสราเอลปฏิเสธ
 
ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียด เวลา 15.30 น. ได้มีการยุติการแข่งขันกีฬาไว้ชั่วคราว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ขอเครื่องบินเจ็ตเพื่อบินไปลงที่สนามบินกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และขอเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เพื่อขนตัวประกันกับสมาชิกในกลุ่มไปลงที่สนามบินมิวเซิน ฝ่ายตำรวจเยอรมันจัดให้ และในเวลา 22.30 น. เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ บรรทุกผู้ก่อการร้ายและตัวประกันจากหมู่บ้านโอลิมปิกไปลงยังฐานบินฟูลสเตนเฟลด์บรูก ซึ่งมีเครื่องบินโบอิ้ง 727 จอดรออยู่ โดยที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายคิดว่าที่นั่นเป็นสนามบินเรียม ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลของมิวเซิน พร้อมเครื่องบินโบอิ้งที่เตรียมไว้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นหุ่นจำลอง
 
เมื่อล่วงมาจนถึงเวลา 00.30 น. ของวันที่ [[6 กันยายน]] ด้วยการไม่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของอิสราเอล ตำรวจเยอรมันก็ลงมือทันที จากนั้นการยิงต่อสู้กันก็เริ่มขึ้น ผู้ก่อการร้ายได้กราดปืนยิงเร็วและขว้างระเบิดมือซ้ำถล่มเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ลำที่กักตัวประกันไว้ ทำให้ตัวประกันเสียทั้งชีวิตหมด
 
เวลาประมาณ 01.30 น. การยิงต่อสู้จบลง ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตไป 3 คน ถูกจับ 3 คน ฝ่ายตำรวจเยอรมันเสียชีวิต 1 นาย ส่วนทางฝ่ายอิสราเอลสูญเสียตัวประกันทั้ง 9 คน กับอีก 2 คนที่เสียชีวิตในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่บ้านพักนักกีฬา
 
หลังจากการปะทะกันแล้ว การแข่งขันได้หยุดลงเป็นเวลา 36 ชั่วโมง ได้มีการชักธงครึ่งเสาเพื่อเป็นการไว้อาลัย และนักกีฬาอิสราเองทั้งหมดเดินทางกลับประเทศทันที แต่การแข่งขันก็ยังคงดำเนินต่อไป <ref>ก่อนจะถึง 'ลอนดอน เกมส์ 2012' เรื่องเล่าจากต่างแดน, หน้า 22 [[เดลินิวส์]]: [[วันอาทิตย์|อาทิตย์]]: [[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2555]]</ref> <ref>มิวนิกโอลิมปิก 1972 รู้ไปโม้ด, โดย น้าชาติ ประชาชื่น [[ข่าวสด]]: [[14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]]</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
 
{{กีฬาโอลิมปิก}}