ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DrRon (คุย | ส่วนร่วม)
DrRon (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 69:
เมื่อกลางปี [[พ.ศ. 2547]] มีการรวมตัวของ [[กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์]] โดยมีแกนนำประกอบด้วย [[ประสงค์ สุ่นศิริ|นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ]] นาย[[เอกยุทธ อัญชันบุตร]] นาย[[ประชัย เลี่ยวไพรัตน์]] ดร.[[อัมรินทร์ คอมันตร์]] พลโท[[เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม]] นาย[[สมาน ศรีงาม]] นาย[[ประพันธ์ คูณมี]] นาย[[เพียร ยงหนู]] ได้มีการชุมนุมปราศรัยที่[[ท้องสนามหลวง]] เมื่อวันที่ [[25 กันยายน]] พ.ศ. 2547<ref> http://www.nationweekend.com/2006/10/06/NW11_124.php?SecId=NW11&news_id=21759950</ref> และมีการจัดรายการวิทยุ ทางคลื่น[[วิทยุชุมชน]] [[เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ|FM 92.25 MHz]] ของนายประชัย และ[[ไทยอินไซเดอร์|เว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์]]ของนายเอกยุทธ
 
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี [[พ.ศ. 2548]] เมื่อ[[รายการเมืองไทยรายสัปดาห์]] ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เมื่อนายสนธิได้อ่านบทความเรื่อง ''[[ลูกแกะหลงทาง]]''{{อ้างอิง}} บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกระทันหัน โดยนาย[[ธงทอง จันทรางศุ]] บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน <ref> http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9480000136574 อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ </ref> ทั้งที่เนื้อหาใน[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000123149 บทความเรื่องลูกแกะหลงทาง]นั้น มีเนื้อหายกย่องพระมหากษัตริย์ที่เปรียบเหมือนพ่อว่าเป็นผู้ที่เสียสละความสุขส่วนตัว และสอนหรือเตือนให้ลูกหลานชาวไทยในสิ่งที่ดีงาม แต่มีบางคนที่ไม่เชื่อฟังพ่อ (หรือพระมหากษัตริย์) คนเช่นนี้เปรียบเหมือนแกะดำหรือลูกแกะที่หลงทาง
 
โดยการกระทำเช่นนี้ นับว่าเป็นการคุกคามสื่อ เพราะพอไม่พอใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอก็สั่งให้ปลดออกจากการออกอากาศ และเป็นการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการปลดรายการว่าจาบจ้วงสถาบันฯ ทั้งที่ๆความจริงเนื้อความดังกล่าวเป็นการยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพูดถึงบางคนที่ไม่ฟังคำเตือนที่ปรารถนาดีของกษัตริย์ว่าเป็นลูกแกะหลงทางเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การปลดรายการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในลักษณะที่ร้อนตัวหรือกินปูนร้อนท้องของฝ่ายที่กระทำการดังกล่าว
 
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการ[[เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร]] จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม[[เอเอสทีวี]] และสื่ออื่น ๆ ในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ [[สวนลุมพินี]]