ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานแห่งเบรอตาญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: ja:アンヌ・ド・ブルターニュ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
บรรทัด 11:
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์วาลัวส์|วาลัวส์]]
| พระอิสริยยศ =
| พระบิดา = [[ฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุคดยุกแห่งบริตานี]]
| พระมารดา = [[มาร์กาเร็ตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งบริตานี]]
| พระโอรส/ธิดา = [[โคลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส]]<br />[[เรเนแห่งฝรั่งเศส]]
บรรทัด 20:
'''แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส''' ({{lang-fr|'''Anne de Bretagne'''}}; ภาษาเบรตอง: '''Anna Vreizh''';{{lang-en|'''Anne of Brittany'''}}) ([[25 มกราคม]] [[ค.ศ. 1477]] - [[9 มกราคม]] [[ค.ศ. 1514]]<ref>Genealogics - Leo van de Pas, Anne Duchesse de Bretagne[http://genealogics.org/getperson.php?personID=I00003789&tree=LEO]</ref>) แอนน์แห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ระหว่างวันที่ [[9 กันยายน]] [[ค.ศ. 1488]] ถึงวันที่ [[9 มกราคม]] [[ค.ศ. 1514]]; ใน[[พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส]]ระหว่างวันที่ [[6 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1491]] ถึงวันที่ [[7 เมษายน]] [[ค.ศ. 1498]] และใน[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส]] ระหว่างวันที่ [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1499]] ถึงวันที่ [[9 มกราคม]] [[ค.ศ. 1514]]
 
แอนน์ประสูติเมื่อวันที่ [[25 มกราคม]] [[ค.ศ. 1477]] ที่[[นองซ์]]ใน[[ฝรั่งเศส]]ทรงเป็นพระธิดาของ[[ฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุคดยุกแห่งบริตานี]] และ[[มาร์กาเร็ตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งบริตานี]] (Margaret of Foix) เมื่อพระบิดาเสียชีวิตแอนน์ก็เป็นดัชเชสแห่งบริตานีอย่างเต็มตัว และเป็นเคานเทสแห่งนองซ์, มงท์ฟอร์ต และริชมงท์ และไวท์เคานเทสแห่งลีมอชส์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นสตรีผู้มีอำนาจและฐานะมั่งคั่งที่สุดในยุโรป
 
== ชีวิตเบื้องต้น ==
แอนน์ทรงเป็นธิดาคนเดียวของดยุคดยุกฟรองซัวส์แห่งบริตานีและมาร์กาเร็ตที่รอดมาจโต เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงได้รับเลี้ยงดูเพื่อเตรียมตัวเป็นทายาทของอาณาจักรดยุคดยุกแห่งบริตานี ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีภายใต้พระอาจารย์ ฟรองซัวส์ เดอ ดินอง (Françoise de Dinan), เลดี้แห่งลาวาลและชาโตบริอองท์ (Lady of Laval and Chateaubriant) และกวีฌอง เมชิโนท์ (Jean Meschinot)
 
เมื่อมาถึง[[สงครามสืบครองบริตานี]] (Breton War of Succession) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 บริตานีก็ใช้[[กฏบัตรซาลลิค|กฏบัตรซาลลิคแปลง]]ที่อนุญาตให้สตรีสืบอำนาจของอาณาจักรได้ถ้าผู้มีสิทธิฝ่ายชายสิ้นชีวิตกันไปหมด เมื่อแอนน์ประสูติพระบิดาก็เป็นเพียงทายาทชายคนเดียวของบริตานีที่เหลืออยู่ของ[[ตระกูลเดรอซ์]] (House of Dreux) สงครามสืบอาณาจักรยุติลงด้วยการตกลงว่าในเมื่อไม่มีทายาทชาย ทายาทของ Joanna of Penthievre ก็เป็นผู้สืบเชื้อสายต่อไป แต่ร้อยปีหลังจากนั้นข้อตกลงนี้ก็ถูกลืมกันไป ฉะนั้นเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1486 เมื่อบิดาของแอนน์พยายามให้แอนน์เป็นที่ยอมรับว่าเป็นทายาท แต่การแต่งงานของแอนน์กลายเป็นปัญหาทางการเมือง ดยุคดยุกฟรานซิสผู้ไม่ต้องการให้บริตานีกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสก็พยายามหาคู่ที่สามารถต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสได้
 
ดินแดนบริตานีกลายเป็นที่ต้องการของหลายฝ่ายที่ทำให้แอนน์มีผู้ประสงค์จะแต่งงานด้วยมากมาย แอนน์ได้รับการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการไว้กับ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์]]พระราชโอรสของ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ]]ในปี ค.ศ. 1483 แต่เจ้าชายหายตัวไปอย่างไม่มีร่องรอยไม่นานหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคตและสันนิษฐานกันว่าสิ้นพระชนม์ ผู้อื่นที่ต้องการจะเสกสมรสกับแอนน์ก็ได้แก่[[สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]], Alain d'Albret, ฌอง เดอ ชาลองส์ (Jean de Châlons) (เจ้าชายแห่งออเรนจ์) และแม้แต่[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส|หลุยส์ ดยุคดยุกแห่งออร์เลอองส์]]ผู้ขณะนั้นมีภรรยาแล้ว
 
ในปี ค.ศ. 1488 กองทัพของดยุคดยุกฟรองซัวส์ได้รับความพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสใน[[ยุทธการแซงต์โอแบงดูคอร์มิเยร์ (ค.ศ. 1488)|ยุทธการแซงต์โอแบงดูคอร์มิเยร์]] (Battle of Saint-Aubin-du-Cormier) ซึ่งเป็นการยุติสงคราม “Guerre folle” ใน[[สนธิสัญญาเซเบล]] (Treaty of Sablé) ของการยุติสงครามดยุคดยุกฟรองซัวส์ถูกบังคับให้ตกลงว่าการแต่งงานของลูกสาวต้องได้รับการอนุมัติโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ดยุคดยุกฟรองซัวส์เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้นเมื่อวันที่ [[9 กันยายน]] [[ค.ศ. 1488]] หลังจากตกจากหลังม้า แอนน์จึงกลายเป็น[[ดยุคดยุกแห่งบริตานี|ดัชเชส]] บริตานีเข้าสู่วิกฤติกาลใหม่ที่นำไปสู่สงครามฝรั่งเศส-บริตานี
== ดัชเชสแห่งบริตานี ==
[[ไฟล์:Blois cominus et eminus.JPG|thumb|260px|left|เม่นแห่งบริตานีหน้าประตู[[วังบลัวส์]] (Château de Blois)]]
บรรทัด 45:
ในระหว่างนั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1498 แอนน์เดินทางกลับไปปกครองบริตานี ทรงมอบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีคืนให้กับฟิลิปป์ เดอ มงท์ทอบัง (Philippe de Montauban) และทรงระบุให้เจ้าชายแห่งออเรนจ์เป็น Lieutenant General แห่งบริตานี และทรงสั่งให้ตีเหรียญกษาปณ์ที่ประทับตราพระนามของพระองค์เอง และเสด็จประพาสบริเวณต่างๆ ในอาณาจักร พระราชกรณียกิจต่างๆ ทำให้ทรงเป็นที่นิยมกันในบรรดาไพร่ฟ้าประชาชนในบริตานี
 
แอนน์เสกสมรสครั้งที่สามเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1499 ทรงฉลองพระองค์ขาวซึ่งเป็นการแนะนำประเพณีการแต่งตัวด้วยชุดขาวต่อมาของผู้เป็นเจ้าสาว ข้อตกลงในการเสกสมรสครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่สองเป็นอย่างมาก ครั้งนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุขึ้น ทรงเป็นพระราชินีหม้าย และทรงมีความต้องการที่ให้ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นดัชเชสที่มีอาณาจักรปกครองเป็นของพระองค์เอง แม้ว่าพระราชสวามีพระองค์ใหม่จะทรงมีอำนาจปกครองบริตานี แต่ทรงยอมรับตำแหน่งสวามีของดยุคดยุก (duke consort) และทรงยอมรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของพระอัครมเหสีในฐานะ “ดัชเชสแห่งบริตานี” และทรงออกคำสั่งต่างในนามของแอนน์
 
ในฐานะดัชเชสแอนน์ทรงเป็นผู้พยายามรักษาความเป็นอิสระของอาณาจักรบริตานีอย่างเหนียวแน่น แอนน์ทรงจัดการสมรสของพระธิดาโคลดกับ[[สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|ชาร์ลส์แห่งลักเซ็มเบิร์ก]] ในปี 1501 เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์อันมั่นคงระหว่างฝรั่งเศส-เสปน และการพยายามให้ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะในสงครามกับอิตาลี พระเจ้าหลุยส์ทรงมีพระราชประสงค์จะหย่าร้างกับแอนน์เมื่อทรงเห็นว่าแอนน์ไม่มีท่าทีที่จะมีรัชทายาทให้พระองค์ พระองค์จึงทรงจัดการหมั้นหมายโคลดกับรัชทายาทของราชบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่แอนน์ไม่ทรงยอมตกลงเพราะทรงต้องการรักษาความเป็นอิสระของบริตานีจากฝรั่งเศสและยังคงยืนยันที่จะจัดงานแต่งงานของโคลดกับชาร์ลส์แห่งลักเซ็มเบิร์ก แต่โคลดก็แต่งงานกับฟรองซัวส์ปีหนึ่งหลังจากแอนน์สิ้นพระชนม์
บรรทัด 74:
== สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ==
[[ไฟล์:Boucher - anne.jpg|thumb|220px|พระราชินีแอนน์โดยประติมากร[[ฌอง โบแชร์]] (Jean Boucher) ค.ศ. 1915]]
เมื่อพระราชินีแอนน์ยังทรงพระชนม์อยู่ทางราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ก็สร้างภาพพจน์ของพระองค์ว่าทรงเป็นพระราชินีที่ทรงมีคุณธรรมอันดีเลิศผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของการสมานความสัมพันธ์อันราบรื่นระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและอาณาจักรดยุคดยุกแห่งบริตานี แต่นักประวัติศาสตร์อีกสองสามร้อยปีต่อมามีความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชินีแอนน์ที่แตกต่างออกไปจากที่ทราบกัน และบรรยายพระลักษณะทางร่างกายและจิตใจที่ไม่สนับสนุนหลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
ในปี ค.ศ. 1991 ในโอกาสครบรอบห้าร้อยปีของการเสกสมรสระหว่างพระราชินีแอนน์และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ก็มีการฉลองกันที่ลองเจส์ แต่ในแรนน์ที่เป็นเมืองที่ถูกล้อมและต้องเสียเมืองและพระราชินีแอนน์ให้แก่ฝรั่งเศสก็แทบจะไม่มีผู้ใดกล่าวถึงโอกาสนั้น