ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมเจ้าท่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Naiyod1975 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
| ชื่อหน่วยงาน = กรมเจ้าท่า
| ชื่อในภาษาแม่_1 = Marine Department
| ชื่อในภาษาแม่_2 =
| ชื่อในภาษาแม่_ท =
| สัญลักษณ์ =
| สัญลักษณ์_กว้าง =
| สัญลักษณ์_บรรยาย =
| ตรา = MD logo.jpg
| ตรา_กว้าง = 150px
| ตรา_บรรยาย =
| ภาพ =
| ภาพ_กว้าง =
| ภาพ_บรรยาย =
| วันก่อตั้ง = [[5 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2402]]
| ผู้ก่อตั้ง =
| สืบทอดจาก_1 =
| สืบทอดจาก_2 =
| สืบทอดจาก_3 =
| สืบทอดจาก_4 =
| สืบทอดจาก_5 =
| สืบทอดจาก_6 =
| วันยุบเลิก =
| สืบทอดโดย =
| เขตอำนาจ =
| กองบัญชาการ = 1278 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพ]] 10100
| latd= |latm= |lats= |latNS=
| longd= |longm= |longs= |longEW=
| รหัสภูมิภาค =
| บุคลากร =
| งบประมาณ = 4,565.6688 ล้านบาท <small> ([[พ.ศ. 2555]]) </small><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 15ก วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555</ref>
| รัฐมนตรี1_ชื่อ =
| รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี2_ชื่อ =
| รัฐมนตรี2_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี3_ชื่อ =
| รัฐมนตรี3_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี4_ชื่อ =
| รัฐมนตรี4_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี5_ชื่อ =
| รัฐมนตรี5_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี6_ชื่อ =
| รัฐมนตรี6_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี7_ชื่อ =
| รัฐมนตรี7_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี8_ชื่อ =
| รัฐมนตรี8_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี9_ชื่อ =
| รัฐมนตรี9_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = (ว่าง) เรือตรี ปรีชา เพ็ชรวงศ์ (รักษาราชการแทน)
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า2_ชื่อ = นายพงษ์วรรณ จารุเดชา
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า3_ชื่อ = เรือตรี ปรีชา เพ็ชรวงศ์
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า4_ชื่อ = นายณัฐ จับใจ
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า5_ชื่อ =
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า6_ชื่อ =
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า7_ชื่อ =
| หัวหน้า7_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า8_ชื่อ =
| หัวหน้า8_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า9_ชื่อ =
| หัวหน้า9_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า10_ชื่อ =
| หัวหน้า10_ตำแหน่ง =
| ประเภทหน่วยงาน = ราชการ
| ต้นสังกัด = [[กระทรวงคมนาคม]]
| กำกับดูแล =
| ลูกสังกัด_1 =
| ลูกสังกัด_2 =
| ลูกสังกัด_3 =
| ลูกสังกัด_4 =
| ลูกสังกัด_5 =
| ลูกสังกัด_6 =
| ลูกสังกัด_7 =
| ลูกสังกัด_8 =
| ลูกสังกัด_9 =
| เอกสารหลัก_1=
| เอกสารหลัก_2=
| เอกสารหลัก_3=
| เอกสารหลัก_4=
| เอกสารหลัก_5=
| เอกสารหลัก_6=
| เว็บไซต์ = http://www.md.go.th
| หมายเหตุ =
| แผนที่ =
| แผนที่_กว้าง =
| แผนที่_บรรยาย =
}}
'''กรมเจ้าท่า''' ({{lang-en|Marine Department}}; ชื่อเดิม: กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี) มีหน้าที่ดูแลพื้นน้ำและการเดินทางทางน้ำ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 1278 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 101:
ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เป็นราชธานี หน่วยงานนี้มีชื่อเรียกว่า "กรมท่า" หรือ "กรมเจ้าท่า" อยู่ในความควบคุมดูแลของ[[กรมพระคลังสินค้า]] ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัย[[พระเจ้าปราสาททอง]] เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก
 
ต่อมาจนกระทั่งสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]]เป็นราชธานี ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทางราชการได้ทำสัญญาจ้างกัปตัน จอห์น บูช (John buch) ชาวอังกฤษ มาเป็นผู้ริเริ่มงานฝ่ายเจ้าท่า มีการลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อวัน 8ฯ9 ค่ำ จุลศักราช 1221 ปีมะแม เอกศก ตรงกับวันศุกร์ที่ [[5 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2402]] กรมเจ้าท่าจึงถือเอาวันที่ 5 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า และต่อมา กรมเจ้าท่า ซึ่งแต่เดิมสังกัดในกรมพระคลัง ได้ย้ายสังกัดไปอยู่ใน[[กระทรวงการต่างประเทศ]] และเมื่อ [[พ.ศ. 2432]] ได้ย้ายไปอยู่กับกระทรวงโยธาธิการ
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการของกรมที่ตึกเจ้าสัวเส็งริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ข้างตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน (คือที่ตั้งของกรมเจ้าท่าในปัจจุบัน) ต่อมาใน [[พ.ศ. 2444]] ได้ย้ายสังกัดกรมเจ้าท่าไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และใน [[พ.ศ. 2448]] กรมเจ้าท่าได้ยกฐานะเป็นกรมชั้นอธิบดี และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงให้ตราพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) และในปีนี้เอง ทรงเริ่มปรับปรุงกิจกรรมกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ โดยยกเอางานบางส่วนจากกรมคลองเดิมมารวมกับกรมเจ้าท่า
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทางราชการได้ยกกระทรวงนครบาลซึ่งกรมเจ้าท่าสังกัด อยู่ไปรวมกับ[[กระทรวงมหาดไทย]] จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2484]] กรมเจ้าท่าจึงได้ย้ายสังกัดเป็นครั้งสุดท้าย มาขึ้นกับ[[กระทรวงคมนาคม]]อย่างเช่นปัจจุบัน
 
ในปี [[พ.ศ. 2545]] ได้มีการปฏิรูปราชการเพื่อให้การทำงานมีความเหมาะสมกับสภาพของงาน ได้มีการรวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า แล้วเปลี่ยนชื่อจากกรมเจ้าท่า เป็นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า [[ท่าเรือ]] อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง
บรรทัด 117:
# บูรณะและพัฒนาร่องน้ำ โดยการขุดลอกร่องน้ำ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น เขื่อนป้องกันการกัดเซาะ และเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง รวมทั้งจัดหาสิ่งอำนวยความปลอดภัยในการใช้ร่องน้ำ เพื่อให้สามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้โดยสะดวกและปลอดภัย รวมทั้งเป็นการช่วยรักษาสภาพทางชลศาสตร์และช่วยให้การระบายน้ำเป็นไปด้วยดี อันเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้อีกทางหนึ่ง
# ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากิจการพาณิชย์นาวี และกิจการเกี่ยวเนื่องเพื่อให้การพาณิชยนาวีของไทยเจริญก้าวหน้าสามารถสนองความต้องการของประเทศและสามารถแข่งขันทางเรือระหว่างประเทศได้ อันได้แก่ การขนส่งทางทะเลโดยเพิ่มศักยภาพของกองเรือไทย การเดินเรือ กิจการท่าเรือ กิจการอู่เรือ การผลิตบุคลากร ด้าน พาณิชย์นาวี กิจการของผู้รับ จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการประกอบการโลจิสติกส์ กิจการสถานีบรรจุแยกสินค้าและลานคอนเทนเนอร์ ตลอดจนการประกันภัยทางทะเล และรวมไปถึงการกำหนดมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหากิจการพาณิชยนาวี
# พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ต้องใช้ระบบการขนส่ง เชื่อมต่อโดยการพัฒนาจุดเชื่อมต่อระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะทางน้ำและทางบก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนการขนส่งให้ต่ำลงและสามารถแข่งขันการค้าและบริการกับต่างประเทศ
# จัดหาเรือและระบบเครื่องมืออุปกรณ์ให้ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนให้มีการตรวจตรา กำกับดูแล การสัญจรทางน้ำให้เกิดความปลอดภัย รวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำด้วย
# เร่งรัดปรับปรุง ศึกษา และพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อนำมาช่วยในการพัฒนาระบบงานการขนส่งทางน้ำให้ได้มาตรฐาน ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซ้ำซ้อนและเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการก้าวไปสู่การให้บริการแบบ One-stop-service เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
# ปรับปรุงกฏระเบียบ ข้อบังคับและจัดระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ทางน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งในด้านประสิทธิภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
# พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารท่าเรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาอัตราค่าธรรมเนียม อัตราค่าเช่า ในอัตราที่เหมาะสม ส่งผลให้อัตราค่าบริการการขนส่งทางน้ำลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ อีกทั้งเป็นการชักจูงให้เอกชนที่จะมาลงทุนในการบริหารท่าเรือและผู้ประกอบการหันมาใช้การขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นการขนส่งที่สามารถขนส่งได้คราวละมาก ๆ ทำให้ต้นทุนสินค้าลดต่ำลงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนเป็นการประหยัดพลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศได้
# พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัย สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนให้มีการฝึกอบรม และการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัดิงานได้ รวมทั้งการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม
# รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ โดยเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ