ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
โดยการเลือกตั้งกำหนดมีขึ้นใน[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2491]] ตามบทบัญญัติใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490]] ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ทั้งสิ้น 53 ที่นั่ง ได้แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดย นายควง ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ [[21 กุมภาพันธ์]] ปีเดียวกัน นับเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 4 และต่อมาก็ได้มีการโปรดเกล้าฯคณะรัฐมนตรี ขึ้นในวันที่ [[25 กุมภาพันธ์]] นับเป็น[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 20|คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20]] มีจำนวนทั้งสิ้น 24 คน และต่อมา คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อ[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]]ในวันที่ [[1 มีนาคม]] ถึงวันที่ [[5 มีนาคม]] นับเป็นเวลาถึง 5 วัน นับว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์<ref>หน้า 157, ''นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์'' โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ([[พ.ศ. 2524]]) สำนักพิมพ์เรืองศิลป์</ref>
 
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ นับว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดด้วย โดยคิดเป็น[[ร้อยละ]] 26 เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้มีการแพร่[[ข่าวลือ]]ไปทั่ว โดยเฉพาะในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]]ว่า จะมีการขว้างปา[[ระเบิด]]ใส่คูหาเลือกตั้ง อีกทั้งในพื้นที่[[ภาคใต้]] นาย[[บรรจง ศรีจรูญ]] สมาชิก[[วุฒิสภาไทย|พฤฒสภา]] และผู้นำ[[สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศประธานสันนิบาตไทย]]อิสลาม กล่าวว่า ชาว[[มุสลิม]]ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ [[ยะลา]], [[สตูล]], [[ปัตตานี]] และ[[นราธิวาส]] ซึ่งมีจำนวนประมาณ 700,000 คน ได้[[คว่ำบาตร]]การเลือกตั้งครั้งนี้ เหตุเพราะไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา<ref>ประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งครั้งแรก หลังรัฐประหาร 2490, หน้า 34. ''กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554'' โดย [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] ISBN 978-974-228-070-3</ref>
 
ต่อมา ในวันที่ [[6 เมษายน]] ปีเดียวกัน คณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491|บีบบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง]] โดยอ้างเหตุผลทาง[[เศรษฐกิจ]]ว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที และปลายเดือนเดียวกันนั้น ก็ได้มีมติให้ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน