ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การขริบหนังหุ้มปลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ "ขลิบ" ในบทความเป็น "ขริบ" ทั้งหมด (ยกเว้นลิงค์) เพิ่มเรื่องกฎหมายเยอรมนีกับการขริบ.
→‎ข้อโต้แย้ง: แก้ไขถ้อยคำเล็กน้อย.
บรรทัด 19:
# ที่ปลายอวัยวะเพศมีปมประสาทจำนวนมากที่ให้ความสุขในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะถูกทำลายเมื่อถูกขริบ และตามธรรมชาติหนังหุ้มปลายมีหน้าที่ปกป้องหัวลึงค์ซึ่งไวต่อสัมผัส เมื่อถูกขริบไปทำให้หัวลึงค์ต้องถูกเสียดสีโดยตรง เป็นการทำลายความไวต่อสัมผัสอีกต่อหนึ่ง ผู้โต้แย้งการขริบเห็นว่าการขริบตามหลักศาสนาทั้งหญิงและชายนั้นเป็นการทำเพื่อลดความสุขทางเพศ โดยเฉพาะ[[การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง]] ทำให้คนหมกมุ่นทางเพศน้อยลง
# การขริบถือเป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวสำหรับเด็ก โดยเฉพาะการขริบตามประเพณีที่มักกระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่แพทย์และไม่มีกรรมวิธีที่ถูกต้อง เช่น ไม่ใช้ยาชา อาจทำให้เด็กเกิดแผลในใจและนำไปสู่ความเกลียดกลัวการมีเพศสัมพันธ์ ในทารกแรกเกิดนั้นก็สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ และแม้เด็กจะจำไม่ได้แต่ความรู้สึกนั้นจะฝังลงในจิตใต้สำนึกและอาจกลายเป็นปัญหาในตอนโต
# การขริบเด็กและทารกที่ไม่สามารถให้ความยินยอมได้เองนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ผู้ปกครองและแพทย์ควรทำเพียงให้ความรู้ แล้วปล่อยให้เด็กตัดสินใจเองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วว่าจะขริบหรือไม่ ในประเทศที่ถือสิทธิส่วนบุคคลอย่างมากเช่นแถบ[[สแกนดิเนเวีย]] การขริบเด็กโดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์อันควรถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ที่ประเทศ[[เยอรมนี]] การขริบเด็กด้วยเหตุผลทางศาสนาอย่างเดียวโดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์รองรับถือเป็น[[กฎหมายอาญา|ความผิดอาญาอุกฉกรรจ์]] เพราะผู้ปกครองไม่มีสิทธิ์เลือกศาสนาให้เด็ก เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กอาจเลือกนับถือศาสนาอื่นที่ไม่มีข้อบังคับเรื่องขริบ (หรือไม่นับถือศาสนาเลย) ก็ได้) แต่การขริบสร้าง "ความเสียหายอย่างถาวร" ให้กับให้กับอวัยวะเพศไปแล้ว โดยที่เด็กไม่สามารถโต้แย้งขัดขืน หรือรักษาอวัยวะเพศให้กลับไปเหมือนเดิมได้ <ref>[http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-18604664 German court rules circumcision is 'bodily harm', [[BBC News]], วันที่ได้รับข้อมูล 2012-06-27]</ref><ref>[http://www.usatoday.com/news/world/story/2012-06-26/germany-circumcisions/55841422/1 German court: Circumcision on Jewish boys assault, [[USA Today]], วันที่ได้รับข้อมูล 2012-06-27]</ref>
 
== อ้างอิง ==