ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะกรุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เสร็จแล้ว
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ตะกรุด''' เป็นหนึ่งใน[[เครื่องราง]]ของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อใน[[สังคมไทย]]มาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูป[[พระพุทธเจ้า]]แล้ว เมื่อนำไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น [[สนามรบ]] อาจจะไม่บังควร
 
ตะกรุดทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นการนำ[[โลหะ]]แผ่นบางๆ อาจจะเป็น [[ทองคำ]] [[เงิน]] [[นาก]] [[ตะกั่ว]] หรือ[[โลหะผสม]]อื่น ๆ มาลงอักขระเลขยันต์ด้วยเหล็กจารแสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วม้วนให้เป็นท่อกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อย[[เชือก]]ติดตัว อาจนำมาหลอมรวมกันแล้วทำเป็นตะกรุดหล่อโบราณ ทำจากรางน้ำฝน ทำจากกาน้ำ ทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นท่อกลม ทำจากหนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังหน้าผากเสือ หนังงู หนังเสือดาว หนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือจากกระดูกสัตว์ ตะกรุดกระดูกช้าง ตะกรุดจากเขาวัวเผือก หรือจากไม้มงคลต่างๆ เช่น [[ไม้ไผ่]] ซึ่งมีทั้งไผ่ตันและไผ่รวก [[ไม้คูณ]] [[ไม้ขนุน]] ตะกรุดส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านเมตตา มักจะทำโดยใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่น[[ทองแดง]] ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น
 
รูปแบบของตะกรุดก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อย ๆ ลดขนาดลง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็ก ๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้ ปัจจุบันก็มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาโดยทำมาจากปลอกลูกปืน อาศัยนัยว่า แม่ไม่ฆ่าลูก แล้วอาจจะถักด้วยเชือก ด้ายมงคล พอกด้วยผงยาจินดามณี แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรักปิดทองตามตำรา ตะกรุดใช้บูชาอยู่ 2 แบบ คือใช้คล้องคอ หรือใช้คาดเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน ตะกรุดหากเป็นดอกเดียว เรียกว่า ''ตะกรุดโทน'' หากเป็นสองดอกจะเป็น ''ตะกรุดแฝด'' หรือเป็นโลหะสามชนิดเรียกว่า ''ตะกรุดสามกษัตริย์'' หาก 16 ดอกเรียกว่า ''ตะกรุดโสฬส'' ดังจะเห็นได้จากพระบรมรูป[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ใน[[มหาวิทยาลัยนเรศวร]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] คล้องไว้ด้วยตะกรุดดอกใหญ่ เรียงเป็นแนวยาวพาดพระอังสะ ในลักษณาการเฉียงลงถึงบั้นพระองค์ มีสายตะกรุด 16 ดอก คล้องเป็นแนวยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งพระองค์ท่านสะพาย 2 เส้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตะกรุด"