ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะกรุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Puttachayantee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Puttachayantee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
; ตะกรุดมหาระงับ
ตามตำราการสร้างของสมเด็จพระวนรัตน์ วัดป่าแก้ว มีรายละเอียดว่า ระงับเหตุเภทภัยทุกเรื่องราว ตะกรุดโทนมหาระงับต้องใช้แผ่นทองแดงหนา ที่มีความยาวถึง ๙ นิ้ว กว้าง ๗ นิ้ว เพราะประกอบด้วยพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และอักขระวิเศษมากมาย ถ้าแผ่นเล็กจะลงไม่พอ ยันต์ที่ลงนั้นจำต้องลงกำกับทั้งด้านหน้าและด้านหลังเต็มแน่นหมด
พระเถระผู้สร้างตะกรุดต้องชำนาญเรื่องฤกษ์ยามมากเพราะจะทำได้จริงและศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง โดยพระเถระผู้ทรงวิชาชั้นสูงและมีจิตตานุภาพสูง ต้องกำหนดฤกษ์ยามมงคลในการลงทุกขั้นตอน พระยันต์ตัวหนึ่งเมื่อลากเป็นอักขะหนึ่งก็ใช้พระคาถาบทหนึ่ง เมื่อขมวดหัวก็จะใช้อีกบทหนึ่ง เมื่อจะจบก็ใช้อีกบทหนึ่ง ซึ่งทั้งนี้เป็นสูตรบังคับและจะลากทับกันไม่ได้ถือว่าวิบัติ ต้องทิ้งไป

อีกสำนักหนึ่งซึ่งสร้างตะกรุดได้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์และเห็นผลจริงคือหลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญแห่งพุทธอุทธยานธรรมโกศล หรือหลวงพ่อสาลีโข ซึ่งท่านชำนาญในเรื่องฤกษ์ยามมากและเชี่ยวชาญเตโชกสิณเป็นที่สุด
ครั้นลงอักขระก็ต้องดูฤกษ์ตามกำหนดที่ถูกต้องตามตำรา เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และได้ผลจริง เช่น ช่วงนี้เป็นฤกษ์แคล้วคลาดก็ไปลง อักขระเลขยันต์ด้านโชคลาภ บางช่วงก็ไม่มีฤกษ์สำหรับลงอักขระเลยก็ยังนั่งจารเลขยันต์อยู่โดยไม่เข้าใจ พอถึงเวลาฤกษ์ยามด้านโชคลาภความร่ำรวยก็กลับไปลงอักขระด้านมหาอุตต์หยุดปืน เป็นต้น
เมื่อลงอักขระวิเศษสมบูรณ์เสร็จสิ้นและถูกต้องตามตำราแล้ว โดยมากก็จะม้วนเป็นแท่งกลมๆ เมื่อม้วนเสร็จแล้วก็ถักด้วยด้ายสายสิญจน์ที่ผ่านการปลุกเสกมาแล้วอย่างดี คลุกด้วยน้ำรักแท้ดำสนิท จากนั้นก็พอกผงวิเศษมหาระงับลงไปบนด้ายอีกที โดยผงมหาระงับนั้นประกอบด้วย ผงพุทธคุณ ๒ ชนิด คือ ผงปถมัง และ ผงมหาราช อีกทั้งต้องมีใบไม่รู้นอน ๗ สิ่งมาบดผสมลงไป ได้แก่ ใบชุมแสง, ใบสมี, ใบระงับ, ใบหิงหาย, ใบกระเฉด, หญ้าใต้ใบ และใบกระถิน ผสมกับไม้งิ้วดำ ผงคัมภีร์ใบลานของวัดสาลีโข ผงพระประธานองค์เก่าในโบสถ์วัดสาลีโข ยังมีว่านวิเศษที่ท่านเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมนต์ในสถานที่เฉพาะ ล้อมสายสิญจน์เป็นปริมณฑล ห้ามสตรีเพศเข้าโดยเด็ดขาด เพื่อนำมาทำตะกรุดโทนโดยตรง
ประกอบด้วยว่านมหาจักรพรรดิ, พญาว่าน, จ่าว่าน, ว่านมหาปราบ, ว่านมเหศวร, ว่านมหาระงับ, ว่านพญาหอกหัก, ว่านสามพันตึง, ว่านชมภูหนังแห้ง และว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ นำของทั้งหมดมาประสมเข้ากับ ผงมูลกัจจายน์, ผงตรีนิสิงเห, ไคลเสมา, เกสรศรีมหาโพธิ์, ชันโรงใต้ดิน, ดินสอกำบัง, รังหมาล่า, ใบไมยราพ, ดอกรักซ้อน, ผงมหาฤาษีจากในถ้ำ, วัตถุสารมงคลต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็นทนสิทธิ์อยู่ในตัว และดินศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่มงคลนานา ผนวกด้วแร่ทรงคุณ ๙ ชนิด สรรพมวลสารมงคลทั้งหมดถูกคลุกคลีด้วยน้ำรักบริสุทธิ์จนเหนียวตัว แล้วปรุงด้วยเครื่องหอมทั้ง ๙ คือ จันทร์ขาว, จันทร์แดง, กฤษณา, กลำพัก, ขอนดอกชะมด, พิมเสน, อำพันทอง และน้ำมันหอมชั้นดี จึงนำผงวิเศษที่ปรุงแล้วชะโลมทาลงบนด้าย พอกพูนจนหนาแล้วลงรักทับ รักชั้นที่ ๑ แห้ง ก็ลงชั้นที่ ๒ ทับอีกเพื่อความคงทน เมื่อผงต่าง ๆ แห้งสนิทเกาะตัวแน่นดีแล้ว จึงอธิฐานจิตปิดทองเป็นการสมโภช วาระต่อมาจึงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นในโอกาสต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการปลุกเสกเดี่ยวทุกวัน ๆ โดยหลวงพ่อสาลีโขตลอดไตรมาส
อุปเท่ห์การใช้ ก่อนจะผูกหรือคล้องตะกรุด หรือพกพาไว้ส่วนใดของร่างกาย ให้ตั้งนะโม ๓ จบ
แล้วให้อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยก่อนเพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยโดยสวดบทพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จนจบ แล้วภาวนาพระคาถาดังนี้
นะ โม พุท ธา ยะ นะ มะ ภะ ทะ จะ พะ กะ สะ มะ อะ อุ (ว่า ๓ ครั้ง)
แล้วภาวนาพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศน์ดังนี้
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตะกรุด"