ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น เคจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pradinu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pradinu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:John Cage.jpg|thumb|250px|จอห์น เคจในปัจฉิมวัย]]
'''จอห์น เคจ''' ({{lang-en|John Cage}}) [[คีตกวี]] [[นักเปียโน]] [[นักเขียน]] และนักปรัชญาทางดนตรีชาว[[อเมริกัน]] เกิดที่เมือง [[ลอสแอนเจลิส]] เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เสียชีวิตที่เมือง [[นิวยอร์ก]] ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เขาเป็นคีตกวีที่มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกา ท่านมีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดที่สำคัญทางดนตรีในศตวรรษที่ 20 อยู่หลายสายเช่น ทางสายดนตรี "[[อวองการ์ด]]" (Avantgarde) ที่ทางฝั่งยุโรปมีผู้นำอย่าง "[[คาร์ลไฮนซ์ สต็อกเฮาเซน]]" (Karlheinz Stockhausen [1928-]) และ "[[ปิแอร์ บูเลซ]]" (Pierre Boulez [1925-]) สายดนตรีแบบ "แนวคิดนิยม" (Conceptualism) รวมถึงสายดนตรี "[[มินิมัลลิสม์]]" (Minimalism) ที่เกิดขึ้นในอเมริการาวคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ด้วย
 
== ชีวประวัติและผลงาน ==
บรรทัด 7:
 
=== งานดุริยนิพนธ์ในช่วงแรก ===
งานดุริยนิพนธ์ประพันธ์ในช่วงแรกของท่านมีพื้นฐานมาจากการจัดวางระดับเสียงใน[[บันไดเสียงโครมาติก]] หลังจากที่ท่านสังเกตเห็น เฮนรี คาวเวล นำอุปกรณ์พิเศษเอาสิ่งของต่าง ๆ (เช่น คลิปหนีปกระดาษ ยางลบ ตะปู ฯลฯ) ไปวาง เสียบ หรือสอดระหว่างสายของ [[เปียโน]] เพื่อสร้าง[[สีเสียง]] (timbre หรือ tone color) ที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นนั้น ท่านก็ เคจจึงหันมาสนใจในเปียโนพิเศษนี้ ซึ่งเรียกกันว่า [[prepared piano]] หรือเปียโนที่เตรียมแล้ว ([[เปียโนแปลง]]) ท่านเคจประพันธ์งานโดยใช้เปียโนดังกล่าวในงานที่ชื่อว่า "บัคคานาล" (Bacchanale-1938) ให้กับซิลวิลลา ฟอร์ท (Sylvilla Fort [1917-75]) โดยใช้แทนกลุ่มเครื่อง[[เพอร์คัสชั่น]] ซึ่งทำให้ prepared piano กลายสภาพไปเป็นวงเพอร์คัสชั่นที่บรรเลงโดยคน ๆ เดียว ต่อจากนั้นประพันธ์ "เมตามอร์โฟซิส" (Metamorphosis-1938) และงานชิ้นสำคัญที่นำชื่อเสียงมาให้ท่านในช่วงแรกนี้ก็คือ "[[โซนาตา]]และ[[อินเทอลูด]]" สำหรับเปียโนแปลง (Sonatas and Interludes for prepared piano [1946-48]) จำนวน 20 บท (โซนาตา 16 บท และอินเทอลูด 4 บท) ในบทเพลงนี้ เคจได้บันทึกวิธีการแปลงเสียงของเปียโนจำนวน 45 เสียงเอาไว้ เพื่อสร้างเสียงที่มีลักษณะอย่างเพอร์คัสชั่นแบบใหม่ขึ้น ท่านใช้ชุดของตัวเลขเพื่อที่จะกำหนดจังหวะในหลายบทเพลงของงานชุดนี้ โดยตั้งใจให้เพลงทุกบทในชุดแสดงแนวคิดเรื่อง "อารมณ์เดียวโดยตลอด" ซึ่งท่านได้รับอิทธิพลจากดนตรีอินเดีย โดยมีอารมณ์เช่น เจ็บปวด ยิ้มหัว วีรบุรุษ สงบ ฯลฯ ท่าน ใช้[[ตารางเมทริกซ์]] ในการคำนวณความยาวของบทเพลง ซึ่งส่งผลให้เกิดเอกภาพในงานโดยรวม และทำให้เลี่ยงจังหวะแบบปกติปรกติหรือที่เรียกว่า "[[เรกูลา ริทึมธึม]]" (regular rhythm) ไปได้ (จังหวะไม่ปกติปรกติ เรียกว่า "[[อิเรกูลา ริทึมธึม]]" (irregular rhythm)) ซึ่งทำให้บทเพลงมีความลื่นไหลปราศจากการถูกบังคับโดย[[เส้นกั้นห้อง]]
งานในช่วงแรกอื่น ๆ ก็มี "[[สตริงควอเต็ท]]อินโฟร์พาร์ท" (String Quartet in Four Parts [1950]) และ "[[คอนแชร์โต]]สำหรับเปียโนแปลงและ[[วงดุริยางค์]][[เชมเบอร์]]ที่ประกอบด้วยนักดนตรีเดี่ยว 22 คน" (Concerto for prepared piano and chamber orchestra of 22 soloists [1951])
 
=== ช่วงที่สอง ===
ในระหว่างนั้นท่านก็ เคจได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน และตัดสินใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเซนเรื่อง "จิตว่าง" ออกมาเป็นดนตรี หลังความพยายามอย่างยิ่งยวดท่านก็ได้ประพันธ์ "[[อิเมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 4]]" (Imaginary Landscape No. 4 [1951]) สำหรับวิทยุ 12 เครื่อง และ "[[มิวสิค ออฟ เชนช์]]" (Music of Change [1951]) สำหรับเปียโน จำนวน 4 เล่มด้วยกัน งานทั้งสองชิ้นเป็นการนำปรัชญาเซนมาแปลงให้เป็นดนตรี โดยมีเครื่องมือเป็นตำราการทำนายของจีนโบราณที่ชื่อว่า "[[อี้จิง]]" คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง และเหรียญที่ใช้ในการทอย 3 เหรียญ ผลที่ได้นั้นก็คือ บทเพลงทั้งหมดถูกกำหนดโดยโอกาสในการทอยเหรียญ ซึ่งมีผลในแต่ละครั้งตรงกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์อี้จิง สัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น เคจได้นำมาจัดระบบให้ตรงกับองค์ประกอบต่าง ๆ ทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง ความสั้นยาวของจังหวะ ความดัง ฯลฯ ซึ่ง ในปัจจุบันเรียกวิธีการประพันธ์แบบนี้ว่า "[[อินดีเทอมิเนซี]]" (Indeterminacy) คีตกวีบางท่านเรียกวิธีการแบบนี้ว่า "[[อะเลียโทรี]]" (Aleatory) ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า alea แปลว่า ลูกเต๋า งานที่มีชื่อมากที่สุดในช่วงนี้มีชื่อว่า [[4'33"]] (1952) เป็นบทเพลงที่เทคนิคในช่วงที่สองได้พัฒนาไปจนถึงสุดขอบ เพราะเพลงดังกล่าวไม่มีเสียงอะไรใดเล็ดลอดออกมาจากผู้เล่น (อย่างน้อยก็ในความหมายของการบรรเลงดนตรีแบบเดิม) ในโน้ตเพลงจะประกอบด้วยสาม[[กระบวน]] (movement) ทุกกระบวนจะบันทึกไว้ว่า tacet ซึ่งแปลว่าเงียบ นักดนตรี (คนเดียวหรือหลายคน) จะนั่งเงียบ ๆ บนเวทีเป็นเวลา 4 นาที 33 วินาที เคจกล่าวว่าท่านเขา "คาดหวังให้ผู้ฟังฟังเสียงทุกเสียงที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่กำหนดอย่างตั้งอกตั้งใจ"
 
ในช่วงปี ค.ศ. 1951 นั้น วลาดิมีร์ อูซาเชฟสกี (1911-90) ได้ทดลองใช้ดนตรีไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคจก็เช่นกัน ท่านเขาสนใจการสร้างงานต่าง ๆ บนเทปแม่เหล็ก และประยุกต์เอาวิธีการแแบบ อะเลียโทรี ที่ได้กล่าวไปแล้ว มาประพันธ์งานที่ชื่อว่า อิแมจิแนรี แลนด์สเคป หรือ ทิวทัศน์ในจินตนาการ หมายเลข 5 (Imaginary Landscape No. 5[1952]) และงานที่ชื่อว่า วิลเลียม มิกซ์ (William Mix [1952]) งานอย่าง อิแมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 5 เสียงวัตถุดิบประกอบด้วยเสียงอะไรก็ได้ที่บันทึกมาจำนวน 42 ชิ้น ในวิลเลียม มิกซ์ นั้นประกอบด้วยเสียงหกประเภทเช่น "เสียงของเมือง" "เสียงของชนบท" "เสียงที่เกิดจากลม" เป็นต้น เคจใช้เทปในการประกอบเสียงเข้าด้วยกันแบบตัดแปะ หรือที่เรียกว่า คอลลาจ (Collage) ในขณะที่อูซาเชฟสกีจะแปลงเสียงที่ได้มานอกเหนือจากบันทึกแล้ว
 
นวัตกรรมต่อไปของเคจก็คือ "แฮพเพนนิง" หรือการแสดงออกโดยฉับพลันทางศิลปะ ในกรณีของเคจเป็นดนตรี เคจจะสร้างงานจากกิจกรรมหรือการนำเสนอใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นจะต้องเกิดพร้อมกันแต่ต้องไม่สัมพันธ์กัน เคจยังสร้างงานประเภทที่เรียกว่า "ดนตรีละคร" (Theatre Music) เช่นงานอย่าง "Water Music" (1952) ซึ่งในการแสดงต้องมีกิจกรรมที่นักเปียโนแสดงโดยไม่เกี่ยวข้องกับเปียโน (เทน้ำและเป่านกหวีดที่อยู่ใต้น้ำ เป็นต้น) เหตุการณ์ที่ปรากฏทางสายตาเป็นสิ่งสำคัญในงานประเภทนี้ แนวความคิดอย่าง "แฮพเพ็นนิง" นี้เป็นต้นแบบของขบวนการ "[[ฟลุกซุส]]" (Fluxus) ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กช่วงปี ค.ศ. 1960-65 ซึ่งนำเสนอคอนเสิร์ทที่ "ดนตรี" นั้นสร้างจากสิ่งที่ไม่ธรรมดาและมักจะดูตลกขบขัน หัวหอกท่านหนึ่งของขบวนการฟลุกซุสก็คือซุสคือ จอร์จ เบรกท์ นั้น สร้างงานอย่าง "Drip Music" อันเป็นงานที่ประกอบด้วยการหยดน้ำจากที่ใดที่หนึ่งหนึ่งลงไปยังขวดเก็บน้ำ ลักษณะแบบเดียวกันยังก่อให้เกิดการล้อเลียนในงานของ [[ลิเกตี]] (Ligeti [1923*]) อย่าง Poème symphonique สำหรับ [[เมโทรโนม]] 100 ตัว อีกด้วย
 
== ผลงานบางส่วนของ จอห์น เคจ ==
=== วงดุริยางค์ ===
=== ออร์เคสตรา ===
* Concerto for prepared piano and chamber orchestra (1951)
* Concert for Pianoforte (1957-58)