ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอรุณอมรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายอรุณอมรินทร์ ตอนแยกถนนวังเดิม-บรรจบถนนประชาธิปก [[พ.ศ. 2536]] โดยแนวถนนบางช่วงเปลี่ยนแปลงไปจากแนวเวนคืนที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาเมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] เนื่องจากผ่านมัสยิดต้นสนและโรงเรียนศึกษานารี ปัจจุบันถนนตัดใหม่สายนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร์ บางครั้งเรียกว่า "ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่" ส่วนถนนอรุณอมรินทร์สายเดิมจากวัดเครือวัลย์วรวิหาร (ผ่านวัดอรุณราชวราราม) ถึง[[กองทัพเรือ]]นั้น กลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนวังเดิม
 
ในปี [[พ.ศ. 2541]] ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่าง[[ถนนวิสุทธิกษัตริย์]]กับถนนอรุณอมรินทร์ เพื่อสร้างความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจรขนส่ง เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ถนนอรุณอมรินทร์ตอนเหนือจึงมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก โดยต่อจากถนนเดิมที่บรรจบกับซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 (ปัจจุบันคือซอยอรุณอมรินทร์ 30 และซอยอรุณอมรินทร์ 49) แล้วโค้งไปทางทิศตะวันออก ซ้อนกับแนวซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ก่อนจะตรงไปรับกับตัว[[สะพานพระราม 8]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=115|issue=40 ก|pages=1-3|title=พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล สายเชื่อมระหว่างถนนวิสุทธิกษัตริย์กับถนนอรุณอมรินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๑|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/040/1.PDF|date=30 มิถุนายน 2551|language=}}</ref>
 
==สถานที่สำคัญ ==