ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดแพร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nattapat toomtam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
RxAlchemiste (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 215:
 
เมืองแพร่เป็น[[เมืองโบราณ]] อายุประมาณ 1,000 ปี เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองประมาณ[[พุทธศตวรรษที่ 12]] หลังจากการก่อตั้ง[[เมืองเชียงใหม่]]และ[[สุโขทัย]] ซึ่งตาม[[ศิลาจารึก]]ของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]จารึกเอาไว้ เมืองแพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] มีชื่อว่า "เมืองแพล" ต่อมาสมัย[[ขอม]]เรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อ เมืองแพล เป็น "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองแพร่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนตั้งแต่สมัยใด ซึ่งชาวล้านนานิยมออกเสียงเป็น "เมืองแป้" และเป็นจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน จากตำนานเมืองเหนือ เมืองแพร่มีชื่อเดิมว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจราว พ.ศ. 470-1560 [[พระนางจามเทวี]] ได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพลเป็น "โกศัยนคร" หรือ "นครโกศัย" หรือ "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่าผ้าแพร นับตั้งแต่นั้นมา ได้มีผู้ครอบครองสืบเนื่องกันมาหลายสมัย ในรัชสมั[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้เปลี่ยนจากการปกครองจากผู้เจ้าครองนครเป็น[[มณฑลเทศาภิบาล]]ในปี พ.ศ. 2440 และได้โปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก<ref>http://www.phrcc.ac.th/phrae/phrae_3.html</ref>
 
====สมัยนครรัฐ====
 
ในปี พ.ศ. 1371 "พญาพล" หรือ "พญาพละราช" ได้อพยพผู้คนส่วนหนึ่งลงมาจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำลงมาทางใต้ สร้างเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมเรียกว่า "พละนคร" ตามชื่อของพญาพลผู้สร้างเมือง พญาพลได้สร้างวัดหลวงเป็นวัดแรกและสร้างวิหารหลวงพลนครไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวงอันเป็นพระประธานเมือง ต่อมา เมืองแพร่ถูกหริภุญไชยเข้าครอบครองและส่งเชื้อสายราชวงศ์มาเป็นเจ้าเมือง
 
====สมัยสุโขทัย====
 
ในปี พ.ศ. 1826 เมื่อหริภุญไชยถูกพญามังรายตีแตกทำให้เมืองต่างๆที่เคยอยู่ในอำนาจของหริภุญไชยแยกตัวออกมา สำหรับเมืองแพร่ซึ่งขาดเจ้าผู้ครองนคร ทางสุโขทัยจึงยกกองทัพเข้ามาโจมตี ทำให้เมืองแพร่ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เมืองแพร่รับอิทธิพลทางศิลปะจากสุโขทัย ทั้งวัดวาอารามและพระพุทธรูปแบบสุโขทัย โดยเฉพาะ ในสมัยพระยาลิไทที่พระองค์ทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนาเป็นอย่างมาก
 
====สมัยล้านนา====
 
ในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ยกกองทัพมาตีเอาเมืองแพร่ในช่วงเวลาที่สุโขทัยอ่อนแอและหมดอำนาจทางการเมืองแล้ว โดยมีพระราชมารดาเป็นแม่ทัพ พญาแม่นคุนเป็นผู้ครองเมืองแพร่ไม่ออกรบ ยังคงนิ่งอยู่แต่ภายในเวียง เมื่อกองทัพเชียงใหม่ยิงต้นตาลแตกออกเป็นสองเสี่ยง พญาแม่นคุนจึงยอมแพ้และยอมให้กองทัพเชียงใหม่เข้าเมืองได้ ทำให้เมืองแพร่ถูกผนวกในอาณาจักรล้านนา
 
====สมัยอิทธิพลของพม่า====
 
ในปี พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพจากพม่ามาตีล้านนา กองทัพล้านนาไม่สามารถต่อสู้พวกพม่าได้ ล้านนาจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่า ต่อมา พระเจ้าล้านช้าง พญาเชียงใหม่ พญาน่าน พญาแพร่ พญาลคอร พญาเชียงราย พญาเชียงของ ก็เข้าร่วมต้านพม่าด้วย แต่ก็พ่ายแพ้แตกหนีไป ทำให้พม่าสามารถยึดล้านนาเป็นเมืองขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แม้มีความพยายามต่อสู้พม่าหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งถึงช่วงธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์จึงสามารถขับไล่พม่าออกไปได้
 
====สมัยรัตนโกสินทร์====
 
เจ้าเมืองแพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้ พญาแสนซ้าย, พญามังไชย (พญาเมืองไจย), เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นทอง (เจ้าหลวงอุปเสน), เจ้าหลวงอินทวิไชย, เจ้าหลวงพิมพิสาร และเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายคือ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2442 มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล เมืองแพร่จึงถูกผนวกในมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการแยกพื้นที่ด้านตะวันออกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ แต่ก็ยุบรวมกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2468
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงถูกยกเลิกไป และจัดตั้งระบบจังหวัดขึ้นแทน เมืองแพร่จึงกลายเป็นจังหวัดแพร่ดังเช่นในปัจจุบัน
 
 
== ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ==