ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมยิสเตร็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''แมยิสเตร็ด'''<ref>ใช้อยู่ในกฎหมายไทย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจา...
 
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''แมยิสเตร็ด'''<ref>ใช้อยู่ในกฎหมายไทย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรค 3 ว่า "ถ้าใบมอบอำนาจนั้นได้ทำในราชอาณาจักรสยามไทย ต้องให้นายอำเภอเป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามไทย ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามไทย ต้องให้บุคคลเหล่านี้เป็นพยาน คือ เจ้าพนักงานโนตารีปับลิก หรือแมยิสเตร็ด หรือบุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้"</ref> หรือทับศัพท์อย่างปัจจุบันได้ว่า '''แมจิสเตร็ต''' ({{lang-en|magistrate}}) เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประเภทหนึ่ง ในสมัยโบราณ เช่น ในครั้ง[[โรมันโบราณ]]และ[[จักรวรรดิจีน]] เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทั้งในทางบริหารและตุลาการ แต่ในปัจจุบัน หมายถึง ตุลาการ โดยเฉพาะ[[ตุลาการศาลแขวง]] (Justice of the Peace) ตามระบบกฎหมายฝ่าย[[ซีวิลลอว์]] หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่จำกัด ตามระบบกฎหมายฝ่าย[[คอมมอนลอว์]] และในความหมายทั่วไป เป็น[[ไวพจน์]]ของคำว่า "ตุลาการ" ในภาษาอังกฤษ
 
คำ "แมยิสเตร็ด" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำ "magistrat" ในภาษาอังกฤษมัชฌิมยุคราวปี 1374 หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย คำ "magistrat" นั้นรับมาจากคำภาษาฝรั่งเศสโบราณว่า "magistrat" และ คำภาษาละตินว่า "magistratus" ซึ่งมาจากคำ "magister" (แปลว่า ใต้เท้า หรือผู้เป็นใหญ่) อันมีรากศัพท์ว่า "magnus" (ยิ่งใหญ่) ตามลำดับ