ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซอด้วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Soso2555 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
คันสี ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล เร เร
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้ข้อมือซ้ายควบคุม อย่าให้ซอบิดไปมาได้
==แบบฝึกหัด==
ฝึกหัดบทที่ 1
คันสี ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล เร เร
ฝึกสีช้าๆ อย่าให้คันสีกระตุก
 
ฝึกหัดบทที่ 2
คันสี ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล ซอล ซอล เร เร เร เร
ฝึกสีช้าๆ จนคล่องเสียงที่ออกมาจะเรียบ ระวังอย่าให้คันสีกระตุก
 
ฝึกหัดบทที่ 3
เครื่องหมาย วงเล็บหงายขึ้น หมายถึงคันสีออก
เครื่องหมาย วงเล็บคว่ำลง หมายถึงคันสีเข้า
ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า) ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า)
ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า) ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดบทที่ 4
การฝึกไล่เสียงตามตัวโน้ต
0 หมายถึง เสียงสายเปล่า
1 “ เสียงกดนิ้วชี้
2 “ เสียงกดนิ้วกลาง
3 “ เสียงกดนิ้วนาง
4 “ เสียงกดนิ้วก้อย
 
ฝึกหัดสีสายทุ้มดังนี้
0 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า)
4 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดสีสายเอกดังนี้
0 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า)
4 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดบทที่ 5
ลักษณะของตัวโน้ตแบ่งเป็นแปดช่อง มีตัวเลข (แทนนิ้ว) ตัวเลขที่อยู่บนเส้นบรรทัดสำหรับสีสายเอก ส่วนตัวเลขที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด สำหรับสีสายทุ้ม
 
ฝึกหัดบทที่ 6
พึงเข้าใจว่า เมื่อเริ่มต้น ต้องใช้คันชัดออกเสมอ พยายามสีช้าๆให้คล่อง
 
ฝึกหัดบทที่ 7
การฝึกวางนิ้วต้องวางให้ได้ลำดับให้นิ้วอยู่ในระดับที่พอดี ใช้ปลายนิ้วกดลงไปตามตัวโน้ตโดยวิธีการสีสลับกันไปทุกตัวโน้ต ระวังคันชัก ออก – เข้า ให้ถูกต้องด้วย
 
ฝึกหัดบทที่ 8
ฝึกหัดเพลงง่ายๆ ได้แก่
*เพลงฟ้อนเงี้ยว
*เพลงลาวจ้อย
*เพลงเขมรใต้
*เพลงสาริกาแ้ก้ว
*เพลงคลื่นกระทบฝั่ง
*เพลงแขกเชิญเจ้า
*เพลงลาวดำเนินทราย
 
วิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรี (ซอ)
๑. เมื่อเลิดเล่นให้ลดสายด้วยการบิดลูกบิดลงประมาณครึ่งรอบแล้วเลื่อนหมอนรองรองสายขึ้นไว้บนขอบกระโหลก
๒. ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด
๓. แขวนหรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
๔. การใส่สายซอ สายเอกใส่ที่ลูกบิดล่างเวลาขึ้นสายบิดเข้าหาตัว สายทุ้มใส่ที่ลูกบิดบน
๕. สายรัดอก รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกประมาณ ๔-๕ นิ้ว ให้ลึกประมาณครึ่งนิ้ว
๖. การหยอดสายยางสนบนกระโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้น เมื่อฝุ่นยางสนเกาะกระโหลก หลังเลิกเล่นต้องเช็ดให้แห้ง
๗. หากสายขาดบ่อยๆให้ใช้สายเอ็นแทนก็ได้
๘. หมอนซออู้มีขนาดโตกว่าซอด้วง ใช้แทนด้วยไม้ระกำ หรือหุ้มด้วยผ้า ถ้าจำเป็นอาจใช้กระดาษม้วนเป็นวงกลมขนาดพอเหมาะแทนชั่วคราวได้
 
ซอด้วงใช้ใน[[วงเครื่องสาย]] [[วงมโหรี]] โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://funkysonglyrics.com/thailand/th/audio-sound/audio-sound.html ส่วนประกอบของซอด้วง]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซอด้วง"