ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานบริการชุมชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า อาสาพัฒนา ไปยัง งานบริการชุมชน
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Community Service Work Detail for 35th District Court Northville Michigan.JPG|thumb|lright|300px|การทำงานบริการชุมชนตามคำสั่งศาลแขวงที่ 35 [[Northville, Michigan|เมืองนอร์ทวิล]] [[รัฐมิชิแกน]] [[สหรัฐอเมริกา]]]]
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{มุมมองสากล}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''อาสาพัฒนา''' เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่รวมกลุ่มกันและมีจุดหมายในการออกไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยใน[[ประเทศไทย]]นิยมจัดขึ้นเป็นชมรมตาม[[มหาวิทยาลัย]] ขณะที่ในหลายประเทศจะมีการรวมตัวกันในหลายระดับตั้งแต่ระดับเยาวชน ระดับมัธยม และระดับอุดมศึกษา ซึ่งกิจกรรมอาสาพัฒนาในต่างประเทศนั้นรวมไปถึง การทำความสะอาดชุมชน การสร้างที่อยู่อาศัยหรืออาคารให้ชุมชน การเป็นอาสาสมัครให้ห้องสมุดประจำชุมชน การสอนเด็กและการดูแลผู้สูงอายุในถิ่นธุรกันดาร
 
'''งานบริการชุมชน''' หรือในกฎหมายไทยเรียก '''งานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์''' ({{lang-en|community service}}) เป็นงานบริการหรือกิจกรรมที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำให้เปล่าเพื่อประโยชน์สาธารณะ<ref>{{cite web |url=http://www.memidex.com/community-service |title=community service |work=Memidex/WordNet Dictionary |accessdate=2011-07-25}}</ref>
ในประเทศไทยค่ายอาสาพัฒนาจะมีกิจกรรมคล้ายกันจะมีลักษณะคล้ายสังคมสงเคราะห์ (Comudity Services) ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทั้งที่ถาวรและไม่ถาวร การเผยแผ่อบรมให้ความรู้ด้านในต่างๆ การมอบสิ่งของเครื่องใช้ปัจจัยสี่ให้กับชุมชนในชนบทที่ขาดแคลน โดยเรียกว่า การออกค่ายอาสาพัฒนา ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นเอกเทศในการจัดกิจกรรมด้านบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ขึ้นตรงหรือพึ่งพากับองค์กรใดๆ โดยมีความมุ่งหวังที่จะจัดกิจกรรมด้านอาสาพัฒนาออกไปสู่สังคมภายนอกมากขึ้น เพื่อพัฒนาบทบาทของนิสิตต่อการรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะชุมชนชนบทที่ห่างไกล และโดยพื้นฐานของการเป็นสถาบันการศึกษาของท้องถิ่น ทำให้กลุ่มผู้ก่อตั้งและผู้สานต่อเจตนารมณ์ในยุคต่อมาได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดในระยะเริ่มแรก และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรรมมาจนถึงทุกวันนี้
 
ผู้ทำงานบริการชุมชนอาจเรียก "[[อาสาสมัคร]]" (volunteer) แต่ใช่ว่าทุกคนที่ทำงานบริการชุมชนจะเป็นอาสาสมัคร บางคนอาจถูกบังคับให้ทำงานบริการชุมชนตามคำสั่งศาลเพื่อแทน[[โทษทางอาญา]] เช่น ทำงานบริการชุมชนแทน[[ปรับ|ค่าปรับ]]ที่ไม่มีเงินชำระ หรือตามคำสั่งของรัฐเพื่อแทนการเป็นทหาร หรือตามคำสั่งของสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสำเร็จวิชาศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น
ในสหรัฐอเมริกา งานอาสาพัฒนาในระดับมหาวิทยาลัย มักจะจัดทำโดยกลุ่มที่รวมตัวกันภายใต้ แฟรตเทอร์นิตี(fraternity ) และ ซอรอริตี(sorority) โดยแฟรตเทอร์นิตีที่รู้จักกันดีในด้านอาสาพัฒนานี้คือ อัลฟา ฟี โอเมก้า (ΑΦΩ)(Alpha Phi Omega)
 
สำหรับกรณีบริการชุมชนตามคำสั่งศาลนั้น ผู้ต้องโทษทางอาญาจะต้องทำงานบริการชุมชนหรือหน่วยงานสาธารณะภายในเขตอำนาจศาลนั้น ๆ แทนการไม่ต้องรับโทษหรือวิธีการบังคับอย่างอื่นทางอาญา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น [[กักขัง]] หรือปรับ เป็นต้นว่า ค่าปรับอาจลดลงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานบริการชุมชนแล้วแต่ศาลจะกำหนดอัตรา ในบางกรณี งานบริการชุมชนอาจมีลักษณะเป็นโทษทางอาญาอยู่ในตัว เป็นต้นว่า ผู้ทิ้งขยะเรื่อยเปื่อยอาจต้องทำความสะอาดสวนสาธารณะหรือทางหลวง หรือผู้ขับรถยนต์ขณะเมาสุราอาจต้องไปอธิบายให้นักเรียนฟังว่าเป็นไฉนพฤติกรรมของเขาจึงเป็นโทษต่อสังคม
== ประวัติอาสาพัฒนาในประเทศไทย ==
ในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่า กิจกรรมค่ายอาสาสมัครเริ่มขึ้นเมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานว่าองค์การและสมาคมทางศาสนาคริสต์ ได้เคยจัดตั้งค่ายอาสาสมัครมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น สมาคม Y.M.C.A. และสำนักคริสเตียนกลาง กรุงเทพฯ เป็นต้น ซึ่งสมาคมเหล่านี้ไม่แพร่หลาย เพราะส่วนใหญ่ทำอยู่เฉพาะคริสตศาสนิกชนเท่านั้น การเริ่มงานค่ายอาสาที่แท้จริงในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี [[พ.ศ. 2500]] หลังจากที่ นายทวี วงศ์รัตน์ ผู้แทนยุวพุทธิกสมาคม กลับจากการเข้าร่วมค่ายฝึกผู้นำค่ายอาสาสมัครสำหรับเอเชียใต้ ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการจัดและดำเนินการตั้งค่ายฝึกผู้นำค่ายอาสาสมัครนานาชาติแห่งอินเดีย (Indian Organization Committee for International Voluntary Work Group) ด้วยความร่วมมือของคณะกรรมการจัดและดำเนินการประสานงานค่ายอาสาสมัครนานาชาติแห่งยูเนสโก ค่ายอาสาสมัครที่แท้จริงครั้งแรก จัดตั้งในนามของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยที่วัดหัวสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นค่ายฝึกผู้นำซึ่งมีชาวค่ายที่เป็นผู้แทนยุวพุทธิกสมาคม จำนวน 29 คน มีจุดมุ่งหมายที่จะฝึกให้ผู้แทนเหล่านี้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านค่ายอาสาสมัคร เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมในด้านนี้ต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มงานค่ายอาสาสมัครอย่างแท้จริง หลังจากนั้นยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ก็ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมค่ายฝึกผู้นำของเอเชียใต้ ครั้งที่ 3 ในปี [[พ.ศ. 2501]] ณ ประเทศอินเดีย และดำเนินการตั้งค่ายอาสาสมัครร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยุวพุทธิกสมาคมในจังหวัดต่างๆ ซึ่งแต่ละค่ายได้รับผลสำเร็จพอสมควร และต่อมากิจกรรมค่ายอาสาสมัครในประเทศไทยได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นเป็นลำดับ ([[สำเนาว์ ขจรศิลป์]])
 
ศาลอาจให้ผู้ต้องโทษเลือกประเภทงานบริการชุมชนเองก็ได้ แต่มักให้ผู้นั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรหรือเจ้าพนักงานที่เชื่อถือได้ เช่น พนักงานคุมประพฤติ หรือองค์การสาธารณประโยชน์ และบางครั้ง ศาลอาจห้ามผู้ต้องโทษทำงานบางประเภท เช่น ทนายความที่ต้องโทษอาจต้องห้ามให้บริการทางกฎหมายบางประการต่อสังคม
ในปี [[พ.ศ. 2502]] ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งค่ายอาสาสมัครครั้งใหญ่โดยร่วมมือกับนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จำนวน 5 ค่าย คือ ที่อำเภอแกลง [[จังหวัดระยอง]] อำเภอเขื่อนแก้ว [[จังหวัดอุบลราชธานี]] บ้านดอนบม [[จังหวัดขอนแก่น]] วัดดอนทอง [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] และที่[[จังหวัดสุรินทร์]] การจัดตั้งค่ายอาสาสมัครครั้งนี้ ทางยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เชิญเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานค่ายอาสาสมัครนานาชาติแห่ง UNESCO คือ Mr.Hans Peter Muler มาเป็นที่ปรึกษาด้วย เนื่องจากการจัดตั้งค่ายอาสาสมัครครั้งนี้ ได้ผลดีเพียงบางค่าย ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ทางยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย จึงได้งดจัดตั้งค่ายอาสาสมัคร จนถึงปี [[พ.ศ. 2505]] จึงได้รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยขอความร่วมมือจากนิสิต [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ผู้ซึ่งเคยจัดทำกิจกรรมค่ายอาสาสมัครได้ผลดีมาแล้ว ได้จัดตั้งค่ายอาสาสมัครขึ้น 2 ค่าย ที่ตำบลปากห้วย และตำบลบ้านทองหลวง จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 2 ค่ายได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ชาวค่ายซึ่งเป็นผู้แทนจากยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดต่างๆ ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าค่ายอาสาสมัครในครั้งนี้ ไปดำเนินการจัดตั้งค่ายในจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ เท่าที่ทราบขณะนั้น คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี ชาวค่ายส่วนใหญ่เป็นนักเรียน และสมาชิกยุวพุทธิกสมาคมในจังหวัดนั้นๆ แต่ละค่ายได้รับผลสำเร็จพอสมควร และในระหว่างปิดภาคการศึกษา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2506 ยุวพุทธิกสมาคมในจังหวัดต่างๆ ก็ได้จัดตั้งค่ายอาสาสมัครขึ้นอีก เช่น ที่[[จังหวัดพิษณุโลก]] [[จังหวัดสุโขทัย]] และ[[จังหวัดเชียงใหม่]] เป็นต้น นับได้ว่ากิจกรรมค่ายอาสาสมัครได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นเป็นลำดับ ([[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]], 2550)
 
ในสหรัฐอเมริกา ศาลหลายศาลวางรายการสำหรับให้ผู้เยาว์ที่กระทำความผิดได้ทำงานเพื่อบ้านเมืองหรือหน่วยงานราชการบ้านเมืองโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจหรือนายอำเภอคอยกำกับ เพื่อไม่ต้องรับโทษจำคุก และในบางโอกาส ผู้ต้องขังอาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมภายนอกที่คุมขังก็ได้ เช่น งานผลิตแสงสว่าง งานซ่อมบำรุง งานเอกสาร งานในไร่ งานสงวนที่ดิน หรืองานโยธาอื่น ๆ โดยอาจได้รับการลดวันในที่คุมขังด้วยก็ได้ การบริการของผู้ต้องขังเช่นนี้มักจัดว่าเป็น[[แรงงานนักโทษ]]ประเภทหนึ่ง มากกว่าจะเป็นการบริการสังคม
นอกเหนือไปจากการดำเนินงานของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยแล้ว ยังมี สมาคมและหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมค่ายอาสาสมัครเป็นครั้งคราว เช่น กรรมการสหายอเมริกัน (American Friends Service Committee) สมาคม Y.M.C.A. เป็นต้น ซึ่งส่วนมากจัดเป็นระบบค่ายอาสาสมัครเพื่อการสัมมนา และค่ายอาสาสมัครเยาวชน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายด้านนันทนาการ เป็นต้น (สำเนาว์ ขจรศิลป์,2541)
 
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกให้ทำงานบริการชุมชนแทนการลงโทษนั้นอย่างน้อยมีอยู่ว่า งานบริการชุมชนจะสร้างคุณประโนชน์ให้แก่สังคมมากกว่าการลงโทษผู้กระทำความผิด ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการคุมขัง และเป็นหนทางหนึ่งในการอบรมสั่งสอนผู้กระทำความผิดให้เห็นแก่ส่วนรวมและเป็นพลเมืองดีอีกด้วย
== '''อาสาพัฒนากับกรมการพัฒนาชุมชน''' ==
การก่อเกิด “อาสาสมัครเพื่อการพัฒนาชนบท” ในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ จากการประชุมแรงงานระดับกลาง ณ เมืองเปอร์โตริโก ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดให้แต่ละประเทศมีอาสาสมัคร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากำลังคนของชาติ กระจายผู้มีความรู้ความสามารถออกสู่ชนบท ให้ได้มีโอกาสช่วยเหลือประชาชน ร่วมมือกันพัฒนากิจกรรมต่างๆ โดยสำนักเลขาธิการหน่วยสันติภาพระหว่างประเทศได้จัดส่งผู้แทนเดินทางเข้ามาสำรวจความสนใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ ขณะนั้นกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำข้อเสนอ “โครงการอาสาพัฒนาชนบท” ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา สาระสำคัญคือ คัดเลือกผู้ปรารถนาจะรับใช้ประเทศชาติที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หรือประโยควิชาชีพขั้นสูง เข้าฝึกอบรมเป็น “อาสาพัฒนาชนบท” แล้วส่งออกไปทำงานร่วมกับประชาชน อาสาสมัครจะไม่ได้รับเงินเดือน แต่ทางราชการจะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้ในอัตราพอสมควร ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานคนละ ๒ ปี เมื่อครบกำหนดแล้วอาสาสมัครจะได้รับเงินตอบแทนอีกจำนวนหนึ่ง
 
== อ้างอิง ==
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมการพัฒนาชุมชน ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการอาสาพัฒนาชนบท ดำเนินโครงการอาสาพัฒนาชนบท โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะอำนวยการฯ กำหนดเริ่มคัดเลือกอาสาพัฒนาชนบทครั้งแรกในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๙ และจัดตั้งสำนักงานอาสาพัฒนาชนบทขึ้น ให้อยู่ในรับผิดชอบของกองปฏิบัติการ พร้อมทั้งจัดทำข้อตกลงกับกรมการปกครอง กรมประชา สงเคราะห์ และกรมวิเทศสหการ จัดเจ้าหน้าที่มาประจำสำนักงานอาสาพัฒนาชนบทกรมละ ๑ คน
{{Reflist}}
 
{{โครงกฎหมาย}}
การคัดเลือกอาสาพัฒนาชนบท รุ่นที่ ๑ ดำเนินการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดภารกิจอาสาพัฒนาชนบทที่ได้รับการแต่งตั้งหลังฝึกอบรม เดินทางไปประจำการในพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีการแทรกซึมและคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเข้มข้น ๔ ขั้นตอน ประกอบด้วย พิจารณาใบสมัครและใบรับรองจากอาจารย์ การทดสอบทางจิตวิทยา การสัมภาษณ์เบื้องต้น และการสัมภาษณ์ระหว่างการฝึกอบรม ขณะเดียวกันเพื่อให้อาสาพัฒนาชนบทมีความผูกพันกับกรมการพัฒนาชุมชนสานต่ออุดมการณ์ “คนชนบท” ให้กับคนวัยหนุ่มสาว จึงได้กำหนดให้ผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม จะต้องทำความตกลงกับกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อปฏิบัติงานครบ ๒ ปี จะได้รับค่าตอบแทนอีก จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๙ กรมการพัฒนาชุมชนได้แต่งตั้งอาสาพัฒนาชนบท รุ่นที่ ๑ ให้ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน ๔๖ คน สำหรับการดำเนินงาน อสพ. ที่ผ่านมาแบ่งออกเป็น ๙ ระยะ จำแนกตามภารกิจที่กรมการพัฒนาชุมชนมอบหมาย ดังนี้
 
[[หมวดหมู่:โทษทางอาญา]]
=== '''ระยะเริ่มต้น (พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๑)''' ===
[[หมวดหมู่:ประชาสังคม]]
ภารกิจของอาสาพัฒนาชนบท รุ่นที่ ๑-๒ เป็นผู้ชักนำประชาชนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม กรมการพัฒนาชุมชนพยายามที่จะลดช่องว่างระหว่างระบบข้าราชการ ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นเจ้านายกับประชาชน อาสาพัฒนาชนบทไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นประชาชนคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่คนที่เอาข้าวของมาแจก แต่เป็นคนที่เอาความคิดอ่านมาแจก และเหนือสิ่งอื่นใด ไม่ใช่คนที่มาสั่งให้ประชาชนทำอย่างนี้อย่างนั้น แต่จะเป็นผู้ที่จะช่วยให้คำปรึกษาหารือ แนะแนวทางต่างๆ ให้ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องของประชาชนเอง ดังนั้นอาสาพัฒนาชนบทต้องพยายามคิดค้นวิธีที่จะเข้าถึงประชาชนอย่างขะมักเขม้น เพื่อที่จะขายความคิดเกี่ยวกับทัศนคติของการพัฒนาให้แก่บุคคลสำคัญของหมู่บ้านได้เข้าใจเป็นอันดับแรก
ฉะนั้น จุดหมายหลักที่อาสาพัฒนาชนบทต้องเข้าไปปฏิบัติภารกิจคือ การเข้าไปส่งเสริมด้านอาชีพ ด้วยการช่วยชี้แนะประชาชนให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น รัฐบาลมุ่งหวังว่าเมื่อประชาชนอยู่ดีกินดีแล้ว จะไม่เข้าไปฝักใฝ่กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อาสาพัฒนาชนบทจึงทำหน้าที่เป็นครูสอนอาชีพตามความถนัดในวิชาชีพที่ได้ศึกษามา เช่น ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างยนต์การเกษตร ช่างโลหะ เป็นต้น สอนให้ประชาชนรู้จักการใช้อุปกรณ์ทำงาน อาทิ พิมพ์ดีด วิทยุสื่อสาร เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องผลิตเอกสาร เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เห็นถึงวิทยาการสมัยใหม่จากเมืองหลวงสู่ชนบท การส่งเสริมด้านนี้ต้องใช้เวลา ความรู้ และความอดทนอย่างจริงจัง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวชนบท เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนหันมายอมรับกับสิ่งใหม่
 
หลังจากกรมการพัฒนาชุมชนส่งอาสาพัฒนาชนบทไปปฏิบัติงานในพื้นที่แล้วจำนวน ๒ รุ่น ประชาชนได้รู้จักบทบาทหน้าที่ด้านพัฒนาอาชีพของอาสาพัฒนาชนบทอย่างกว้างขวาง อาสาพัฒนาชนบทสามารถสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ด้วยการร่วมทำงานชิ้นเล็กๆ ที่ไม่ต้องลงทุน การเข้าไปคลุกคลีทำสันทนาการกับเด็กๆ หรือการเข้าไปช่วยครูสอนหนังสือ ช่วยประดิษฐ์อุปกรณ์การสอน ทำให้เกิดความคุ้นเคยกับเด็กและผู้ปกครอง ประชาชนจึงให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี ทำให้อาสาพัฒนาชนบทถูกเรียกสั้นๆ ให้จำง่ายๆ ว่า “อาสาพัฒนา” หรือนิยมเรียกย่อๆ ว่า “อสพ.” สำหรับในส่วนของรัฐบาลเองก็ได้ให้ความสนใจการทำงานของ อสพ. เป็นอย่างมาก และเล็งเห็นว่าการปฏิบัติงานในพื้นที่ ๒ ปี อสพ. อาจประสบกับความยากลำบากเกินควร และมีปัญหานานับประการ ที่อาจจะบั่นทอนกำลังใจและอุดมการณ์ให้สูญสลายไปได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐ ให้ลดลงระยะเวลาในการปฏิบัติงานของ อสพ. เหลือเพียง ๑ ปีเท่านั้น โดยไม่นับรวมระยะเวลาในการฝึกอบรม
 
=== '''ระยะทดแทนพัฒนากร (พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๒๓)''' ===
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลต้องการให้กรมการพัฒนาชุมชนส่ง อสพ. ไปปฏิบัติงานให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับในสังคมชนบทแล้ว รัฐบาลได้สนับสนุนโดยจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการคัดเลือก อสพ. รุ่นที่ ๓ ให้ได้จำนวน ๑๐๐ คน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การรับสมัครทางวิทยุกระจายเสียงทุกวัน ผ่านทางหนังสือพิมพ์ และสถาบันการศึกษา ๑๔ แห่ง รวมทั้งจัดช่วงเวลาให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนไปบรรยายความรู้ทางวิทยุกระจายเสียง ความยาว ๑๕ นาที แต่การดำเนินงานในครั้งนี้ มีผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการฝึกอบรมเพียง ๓๓ คน กรมการพัฒนาชุมชนได้พบข้อจำกัดว่า สถาบันการศึกษายังขาดการบ่มเพาะทัศนคติของนักศึกษาที่ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากออกไปผจญภัย ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวไทยในถิ่นทุรกันดาร ขณะที่มาตรฐานการคัดเลือก อสพ. ค่อนข้างสูง ผู้สมัครต้องผ่านการคัดเลือกหลายขั้นตอน อีกทั้งต้องมีความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย
การตอบรับเพื่อแก้ปัญหานี้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ขอรับการสนับสนุนจากสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งโครงการการศึกษาขั้นปริญญาบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร (ป.บ.อ.) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยความร่วมมือของกรมการพัฒนาชุมชน หน่วยงานราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชน รับสมัครผู้มีวุฒิปริญญาตรีเข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎี วิชาสังคมวิทยา ระเบียบการวิจัย และการสอนหนังสือ เป็นเวลา ๓ เดือน แล้วส่งออกไปทำงานเป็นอาสาสมัครในชนบท เพื่อให้มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับสภาพสังคมชนบท บังเกิดความสนใจที่จะปฏิบัติงานในชนบท เมื่อปฏิบัติงานครบ ๙ เดือน จะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร
 
สำหรับในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดเจ้าหน้าที่หมุนเวียนกันออกไปบรรยายประกอบการแสดงนิทรรศการ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ สนับสนุนให้ อสพ. ที่กำลังอยู่ระหว่างปฏิบัติงานไปจัดอภิปรายชักชวนให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๔ เสียสละชีวิตที่สบายแบบหนุ่มสาวไปใช้ประสบการณ์ชีวิต ๑ ปี ในชนบท มีการจัดทำภาพนิ่ง แผ่นป้ายโฆษณา แผ่นปลิว เป็นเครื่องมือให้เกิดความสนใจในกิจกรรมการพัฒนาชนบท นอกจากนั้นแล้วกรมการพัฒนาชุมชนยังเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยส่งตัวแทนนักศึกษาออกไปสังเกตการณ์และร่วมฝึกอบรม อสพ. รวมทั้งจัดกลุ่มนักศึกษาผู้สนใจเดินทางไปดูการปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นที่มาของการจัดตั้ง “ชมรมอาสาพัฒนา” และการจัด “ค่ายอาสาพัฒนา” ในสถาบันอุดมศึกษา
ต่อมาเมื่อกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพทดลองแห่งแรกขึ้นที่ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อสร้างสถาบันฝึกอบรมอาชีพในระดับหมู่บ้านอย่างถาวร กรมการพัฒนาชุมชนมองเห็นว่า อสพ. ที่เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาอาชีพ และเพื่อแก้ปัญหาการขาดอัตรากำลังพัฒนากร กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้แต่งตั้งให้ อสพ. ไปปฏิบัติงานประจำในตำบลที่ไม่มีพัฒนากร มอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่วิชาการเฉพาะด้าน ในการฝึกอบรมกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และกลุ่มอาชีพต่างๆ
 
=== '''ระยะบุกเบิกชายแดน (พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๓๑)''' ===
โครงการอาสาพัฒนาชนบทได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ กรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการร่วมกองบัญชาการทหารสูงสุด (ศอร.บก.ทหารสูงสุด) ดำเนินโครงการอาสาพัฒนา ปฏิบัติงานในหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) ไทย-กัมพูชา โดยให้ อสพ. มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาและหาข่าว เพื่อความมั่นคงร่วมกับทางทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานชายแดนปฏิบัติงานประจำและพักค้าง ในหมู่บ้าน ต่อมาได้ขยายเขตการทำงาน ไปทางชายแดน ไทย-ลาว ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ชายแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย-มาเลเซีย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑
 
=== '''ระยะอาสาสมัคร (พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔)''' ===
ช่วงการทำงานที่ต่อเนื่องมาจากนโยบายการพัฒนาภูมิภาค เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสังคมชนบทให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๒๙) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน รวมทั้ง อสพ. ต้องเดินทางเข้าหมู่บ้านบ่อยมากขึ้น กรมการพัฒนาชุมชนได้พบว่า แม้ อสพ. จะไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะในการปฏิบัติงาน เหมือนเช่นพัฒนากร และไม่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโครงการพัฒนาในระบบ กชช. แต่ก็ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความแข็งขัน เป็นผู้ประสานและทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ผู้นำ อช. และองค์กรประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล อย่างเต็มกำลัง นับว่าเป็น อสพ. จิตอาสา ทำให้งานของกรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
=== '''ระยะเตรียมเป็นนักพัฒนาชุมชน (๒๕๓๕-๒๕๓๘)''' ===
เมื่อกรมการพัฒนาชุมชนได้ตระหนักว่า อสพ. เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่ง เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการนักพัฒนาในอนาคต จึงได้สนับสนุนให้ผู้ที่รักการทำงานในชนบทได้มีโอกาสเข้ารับราชการในอาชีพที่มุ่งหวัง โดยกำหนดนโยบายให้รับสมัครผู้ที่ผ่านการทดสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ซึ่งได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ มาฝึกอบรมเป็น อสพ. แล้วส่งไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เป็นเวลา ๑ ปี กรณีมีอัตราพัฒนากรว่าง หาก อสพ. รายใดประสงค์จะเข้ารับราชการ สามารถเข้าสู่กระบวนการสอบคัดเลือกภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยต้องได้คะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ๓
 
=== '''ระยะนักพัฒนาอาสาสมัคร (พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๓)''' ===
ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการตามมาตรการกำหนดขนาดกำลังคนภาครัฐ ทำให้อัตราว่างในตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ๓ ลดลง ประกอบกับสภาตำบลยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคท้องถิ่น (กนภ.) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในชนบท ทั้งด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มพูนความรู้ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพ และการมีงานทำ โดยให้พัฒนากรและข้าราชการอื่นๆ เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับผิดชอบงานในหมู่บ้าน ตำบล ส่งผลให้กรมการพัฒนาชุมชนต้องปรับภารกิจ อสพ. ไปปฏิบัติงานเฉพาะกิจ เช่น การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น
 
=== '''ระยะบัณฑิตอาสาพัฒนา (พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕)''' ===
งานเฉพาะกิจที่ อสพ. ได้รับมอบหมายนั้น ถือว่ามีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมระดับฐานราก อสพ. ต้องผสมผสานความรู้ในสิ่งที่ปฏิบัติงานจริงตามกระบวนการพัฒนาชุมชน ไปวิเคราะห์วิจัยร่วมกับทฤษฎีวิชาการ เพื่อค้นหาแนวทางการทำงาน กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ร่วมมือกับสภาสถาบันราชภัฏ โดยมีสถาบันราชภัฏเชียงรายเป็นหลักในการดำเนินงาน จัดทำหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน (สูงกว่าระดับปริญญาตรี) ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ ให้ใช้ในทุกสถาบันราชภัฏได้ เป็นการศึกษาตามหลักสูตรควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน อสพ. ได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏที่ อสพ. ลงทะเบียน เพิ่มขึ้นจากวุฒิบัตรการผ่านงาน อสพ. ตามปกติ และอสพ. รุ่นแรกที่เข้าศึกษาคือ อสพ. รุ่นที่ ๕๔
 
=== '''ระยะทดแทนพัฒนากรครั้งที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๙)''' ===
หลังการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการปรับขนาดอัตรากำลังคนภาครัฐ ทำให้จำนวนพัฒนากรต่อพื้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๙ กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้แต่งตั้ง อสพ. ไปปฏิบัติหน้าที่พัฒนากรในอำเภอที่มีจำนวนพัฒนากรต่ำกว่าอัตราที่กำหนด เป็นครั้งที่ ๒
 
=== '''ระยะสร้างนักพัฒนาภาคประชาชน (พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา)''' ===
ปัจจุบันแม้ว่ากรมการพัฒนาชุมชนมุ่งหวังที่จะสร้าง อสพ. ให้เป็นนักพัฒนาภาคประชาชนรุ่นใหม่ ที่มีจิตใจอาสาสมัคร ปรารถนาที่จะกลับไปพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของตนเองให้เข็มแข็งยั่งยืน ด้วยการกำหนดให้ อสพ. รุ่น ๔๙ เป็นต้นมา เป็น “อสพ.รักบ้านเกิด” ปฏิบัติงานในภูมิภาคของตน แต่ก็ยังคงเปิดโอกาสให้ อสพ. ได้ปฏิบัติหน้าที่พัฒนากร เพื่อเรียนรู้การทำงานในพื้นที่ตลอดระยะเวลา ๑ ปี ไปพร้อมกัน
 
== สถาบันการศึกษาไทย กับค่ายอาสาพัฒนา ==
เริ่มต้นด้วยนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่า “'''กลุ่มนิสิตนักศึกษา 5 มหาวิทยาลัย'''” เป็นกลุ่มอิสระ ไม่สังกัดสมาคมใด ได้ปรึกษาหารือกันว่าระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน น่าจะได้ทำกิจกรรมอะไรอย่างหนึ่ง ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม จึงคิดจัดตั้งค่ายอาสาสมัครเพื่อการสัมมนาขึ้น ที่จังหวัดสระบุรี ในปี [[พ.ศ. 2501]] ต่อมาก็ได้มีการจัดให้มีค่ายสัมมนาเช่นนี้อีก แต่ขยายจำนวนชาวค่ายมากขึ้น และมีการออกไปศึกษาข้อเท็จจริง และร่วมมือในการทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นในภาคต่างๆ ของประเทศไทย 5 ภาค ๆ ละ 10 คน ประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย ๆ ละ 2 คน ใช้เวลาอยู่ในชนบท 9 วัน แล้วจึงกลับมาสัมมนาร่วมกันที่จังหวัดสระบุรี การจัดตั้งค่ายอาสาสมัคร และการสัมมนาในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้ผลสมความมุ่งหมาย ในปี พ.ศ. 2503 และ พ.ศ. 2504 กลุ่มนิสิตนักศึกษา 5 มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งค่ายอาสาสมัครเพื่อการสัมมนาขึ้นอีก แต่ใน 2 ครั้งนี้ มิได้จัดให้มีการทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแบบ Work Camp ทั่วไป หากแต่เน้นหนักเฉพาะด้านสัมมนาเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2505 จึงได้เริ่มจัดแบบค่ายอาสาสมัคร (Voluntary Work Camp) อย่างแท้จริง โดยเลือกอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นที่ตั้งค่าย โครงงานที่ทำคือ สร้างสนามเด็กเล่น เกลี่ยดิน ปรับผิวจราจรถนนสาธารณะ ขุดลอกสระน้ำ สร้างถนนหน้าโรงเรียนพลประชานุกูล และช่วยราษฎรมุงหลังคาโรงเรียนประชาบาล ชาวค่ายอาสาสมัครทำงานทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย เป็นเวลาทั้งสิ้น 10 วัน จากนั้นจึงมาประชุมสัมมนาภายหลังปิดค่ายแล้ว 5 วัน ที่โรงเรียนการช่างสตรีประจำจังหวัดขอนแก่น งานดำเนินไปโดยเรียบร้อยได้ผลเป็นที่พอใจยิ่ง
 
สโมสรนิสิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความสนใจในกิจกรรมค่ายอาสาสมัครนี้มาก โดยในปี พ.ศ. 2502 นาย[[วิจิตร ศรีสอ้าน]] ได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอกรรมการสโมสรนิสิต ขอจัดตั้งค่ายฝึกผู้นำขึ้นโดยคัดเลือกนิสิตอาสาสมัครจากคณะต่างๆ คณะละ 7 คน รวม 49 คน และคณะกรรมการสโมสรนิสิต ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นการจัดตั้งค่ายอาสาสมัครครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ได้ไปออกค่ายที่บ้านนาเหล่าบก ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงปิดภาคต้นปีการศึกษา โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชีย และเงินซึ่งเก็บจากสมาชิดค่ายฯ คนละ 50 บาท อีก 49 คน ลักษณะของค่ายเป็นค่ายฝึกผู้นำ โดยให้สมาชิกเรียนรู้วิธีการจัดและวิธีดำเนินงานค่ายอาสาสมัคร โดยมีโครงงานพัฒนาหมู่บ้านเป็นแกน คือ การตัดถนนเชื่อมหมู่บ้านและโครงงานด้านการเกษตร โดยการแนะนำและสาธิตการทำไร่สัปปะรด ในการออกค่ายครั้งนั้น มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะได้รับ 2 ประการด้วยกัน คือ
 
ประการแรก ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสมชิกค่ายอาสาสมัคร เนื่องจากเป็นค่ายฝึกผู้นำ เป็นการพัฒนาตนเองในด้านการเป็นผู้นำ การจัดการ การดำเนินงานค่ายอาสาสมัคร ศึกษาสภาพชีวิตในชนบท นำวิชาความรู้ที่ศึกษาไปปฏิบัติจริงในท้องที่ชนบท และฝึกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
 
ประการที่สอง ประโยชน์เกิดขึ้นกับชุมชนที่ไปออกค่ายอาสาสมัคร โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นมาร่วมโครงงาน เกิดการรวมกลุ่มกันทำงานเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน สร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรวมกลุ่มขึ้น เพื่อช่วยทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น มิใช่รอความหวังให้ผู้อื่นมาช่วยได้รับความรู้ทางด้านวิชาการ วิชาชีพจากการทำงานร่วมกับนิสิตนักศึกษา อันเกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีพของชาวชนบทในพื้นที่นั้นๆ
 
จากผลสำเร็จอย่างงดงามสมความมุ่งหมายของโครงการดังกล่าว จึงทำให้กิจกรรมค่ายอาสาสมัครเป็นที่แพร่หลาย และได้รับความสนใจในหมู่นิสิตนักศึกษามากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้จัดตั้งค่ายอาสาสมัคร (Voluntary Work Camp) ขึ้นอีก 2 ค่าย ที่บ้านน้ำเมา อำเภอสีคิ้ว และบ้านหนองคู อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างปิดภาคการศึกษา พ.ศ. 2506 ก็ได้จัดตั้งอีก 1 ค่าย ที่ตำบลบ้านแดงน้อย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
 
ในปี พ.ศ. 2519 การจัดกิจกรรมของนักศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัยได้ระงับลงชั่วคราวตามคำสั่งหัวหน้า[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ที่ 42/2519 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนกระทั่งต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2521 อนุมัติให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ดำเนินกิจกรรมนอกสถานศึกษาได้ โดยร่วมโครงการกับส่วนราชการ ทั้งนี้โดยมีทบวงมหาวิทยัลย (ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ประสานงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้ติดต่อกับส่วนราชการต่างๆ ทั้งหน่วยงานทหารและพลเรือน เพื่อจัดโครงการอาสาพัฒนาชนบทกับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ตามความเหมาะสม มีทังรูปของโครงการที่นิสิตนักศึกษาริเริ่มเอง และโครงการของทางราชการที่นิสิตนักศึกษาอาสาร่วมด้วย ในดำเนินการใน้ปีแรกนี้ รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการอาสาพัฒนาชนบทของนิสิตนักศึกษาตามความจำเป็น และความเหมาะสมของโครงการ ในครั้งนั้นปรากฏได้มีหน่วยงานตอบรับมาเพียงหน่วยงานเดียวคือ กรป.กลาง โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (นพค.) ในพื้นที่ 27 จังหวัด จากผลการปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้บรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นอย่างดี
 
จากความสำเร็จดังกล่าวข้างต้น ดั้งแต่ปีงบประมาณ 2522-2540 รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการดำเนินการโครงการส่งเสริมกิจกรรมในด้านต่างๆ ของนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาอย่างยิ่งด้านพัฒนาชนบท จึงได้จัดสรรงบประมาณจำนวนปีละประมาณ 20-25 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2542 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้เพิ่มขึ้นเป็น 28.8 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นมารัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 35-40 ล้านบาท
 
อย่างไรก็ดี การดำเนินการกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาในสถาบันอุดมศึกษา ได้แพร่หลายมากขึ้น โดยการสนับสนุนของส่วนราชการ และหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารออมสิน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด เป็นต้น
 
 
== ชมรมอาสาพัฒนา ในมหาวิทยาลัยไทย ==
 
; [http://c-ru-east.blogspot.com/ สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ] : สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคอีสานทั้งหมด 12 แห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
มีการทำกิจกรรมรวมกันอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนทุกปี มีการรวมกลุ่มที่มีคณะกรรมการบริหาร เพื่อสงเสริมสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคม สิทธิประโยชน์ และความเป็นธรรมของเหตุการบ้านเมือง
 
; [http://www.piromtrakool.com/dokmaiarsa/ ชมรมดอกไม้อาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ] : ชมรมดอกไม้อาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 จากคำกล่าวที่ว่า "ยังมีอีกหลายคนที่ต้องการการเหลียวแล" ทำให้เกิดการรวมตัวกันของนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทำกิจกรรมกับองค์การบริหารงานนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เครือข่ายเด็กค่ายภาคอีสาน สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนักกิจกรรมที่มาด้วยใจและจิตอาสา เป้าหมายคือ การมองชุมชนชนบทที่ทุละกันดาน ขาดการดูแลจากภาครัฐและภาคเอกชน ขาดการหยิบยื่นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มาเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนา ผู้ก่อตั้งคือ นายธีรพล แก้วลอย และนายรุ่งทิวา เนื้อนา ที่ปรึกษาคือ นายมานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
 
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า]] : จิตอาสาพัฒนาชุมชนราชมงคลฯสุพรรณบุรี ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นโครงการที่ออกบริการชุมชน อาทอ เช่น การซ่อมแซมติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับวัดและโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และมีการรับบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เราเป็นจิตอาสากลุ่มเล็กๆที่ช่วยเหลือสังคมด้วยใจ
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]] : ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก่อตั้งในปี 2536 โดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นผู้ก่อตั้ง " ศรัทธา เชื่อมั่น อาสา "
 
; [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] : ชมรมจันทร์เจ้าขา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นชมรมอาสาพัฒนาชนบทโดยการออกค่ายไปช่วยเด็กด้อยชนบท และถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้แก่น้อง
 
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา]] : ชมรมอาสาพัฒนา ชมรมฅนจรอาสา ชมรมครูอาสา และฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ สโมสรนักศึกษา เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษาที่ต้องการใช้ความรู้ และเวลาว่างเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม ซึ่งเคยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด โครงการกระดานดำกับกระทิงแดง (5 ปีซ้อน) ฯลฯ
 
; [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] : กลุ่มนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใช้ชื่อว่า เสรีชน โดยมีกิจกรรมประจำปีคือการออกค่ายอาสาพัฒนา
 
; [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] : ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2527 โดยใช้ชื่อว่า "ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม" มีกิจกรรมออกค่ายทั้งหมด 2 ค่ายต่อปี เป็นค่ายที่เป็นค่ายสร้างทั้งหมด และเป็นค่ายคำนึงถึงสภาพจิตใจ วิเคราะห์ปัญหา
 
; [[มหาวิทยาลัยพายัพ]] : ชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เดิมชื่อ ชมรมรวงข้าว และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นชมรมอาสาพัฒนาชนบทในเวลาต่อมา โดยชมรมอาสาฯ เน้นกิจกรรมเพื่อสังคมและเด็กผู้ด้วยโอกาสทางการศึกษา มาโดยตลอด มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นทุกปี
 
; [[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]] : ภายใต้ชื่อ "พิราบขาว นกเสรี"
; [[มหาวิทยาลัยขอนแก่น]] : ภายใต้ชื่อ ดอกแก้วอาสา
; [[มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต]] : ภายใต้ชื่อ "คนค่าย" ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2521 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ค่ายอาสาพัฒนา"
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ|วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ]] : ในชื่อ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
; [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] :ชมรมอาสาพัมนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เดิมชื่อว่า “ ชุมนุมพัฒนาการชนบท” ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2508 และได้มีกิจกรรมออกค่ายเป็นครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช 2509 กิจกรรมที่จัดขึ้น เรียกว่า “การศึกษาพัฒนา” โดยเน้นด้านการศึกษาเป็นสำคัญ และต่อมาได้เพิ่มกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น เช่น ถาวรวัตถุ วิชาการ ประชาสัมพันธ์ ในช่วงนี้กิจกกรรมยังไม่เป็นที่ยอมรับ จนมาถึงยุค “ฉันจึงมาหาความหมาย” เมื่อปีพุทธศักราช 2516 - 2518 กิจกรรมอาสาพัมนา ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก และมีการดำเนินกิจกรรมเรื่อยมาแต่ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมือง ทำให้กิจกรรมของนิสิตนักศึกษา จึงต้องหยุดชะงักลง จนกระทั่งมาถึงปีพุทธศักราช 2522 เหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆเริ่มคลี่คลายลง กิจกรรมต่า ๆ จึงถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง และชุมนุนพัฒนาการชนบทก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ชมรมอาสาพัฒนา” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้มีกิจกรรมออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
; [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] : ชื่อเต็มคือ ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ ก่อตั้งมาตั้งแต่มหาวิทยาลัยบูรพายังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ประมาณหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยจัดกิจกรรมออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมจะมีขึ้นปีการศึกษาละ 4 ค่าย โดยจะเป็นค่ายสร้าง 2 ค่าย คือ ช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 และ 2 ส่วนอีก 2 ค่ายจะเป็นช่วงเดือนสิงหาคม และวันเด็กของทุกปี เน้นกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์กับชาวค่าย
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]] : ชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2533 เป็นการร่วมตัวของกลุ่มนักศึกษาที่มีอุดมการณ์ที่จะพัฒนาการศึกษาและสภาพความเป็นอยู่ของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยจัดเป็นกิจกรรม ค่ายอาสาพัฒนาชนบท ในช่วงปิดภาคเรียนต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
; [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี]] : ก็มีหลายชมรมด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือชมรม คอมพิวเตอร์พัฒนาท้องถิ่น ก่อตั้งเมื่อ 2552 เพื่อจัดตั้งกลุ่มนักศึกษาที่มีแนวคิดการพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในถิ่นด้อยโอกาส ซึ่งเป็นชมรมที่คนสนใจคอมพิวเตอร์ โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วมทำความดีแก่น้อง
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://c-ru-east.blogspot.com/ สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]
* [http://www.facebook.com/dexkai.sskru/ ชมรมดอกไม้อาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ]
* [http://www.facebook.com/profile.php?id=100001275091228/ ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]
* [http://www.janjaokhaclub.com/ ชมรมจันทร์เจ้าขา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]
* [http://on.to/freeman กลุ่มเสรีชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง]
* [http://arsamsu.wordpress.com/ ชมรมอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ]
* [http://www.volunteerclub.net/ ชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยพายัพ]
* [http://m.1asphost.com/noksere/ ชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]
* [http://bumpen-btc.pantown.com/ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เทคนิคกรุงเทพฯ]
* [http://www.geocities.com/konkaydpu/ ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิต]
* [http://www.asa.kku.ac.th ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
* [http://student.sut.ac.th/asaclub/ ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]
* [http://www.facebook.com/profile.php?id=100000199789074 ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยบูรพา ]
* [http://www.siamvolunteer.com/ คนอาสา]
* [http://en.wikipedia.org/wiki/Alpha_Phi_Omega อัลฟา ฟี โอเมก้า]
* [http://www.rsa.rmutt.ac.th ชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]
* [http://www.rsa.site90.com/ ชุมนุมอาสาพัฒนา โรงเรียน แม่สะเรียง "บริพัตรศึกษา"]
* [http://www.arsakmitnb.com/ ชมรมอาสาพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ]
* [http://www.smoengineer.net/arsa/ ชุมนุมวิศวฯอาสา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ]
* [http://rotaract.bu.ac.th/ ชมรมโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]
[[หมวดหมู่:ชมรมในมหาวิทยาลัย]][[หมวดหมู่:กิจกรรมมหาวิทยาลัย]]
 
[[ar:خدمة المجتمع]]
เส้น 131 ⟶ 25:
[[en:Community service]]
[[es:Servicio comunitario]]
[[fr:Travail d'intérêt général]]
[[he:עבודות שירות]]
[[nl:Vrijwilligerswerk]]