ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลบท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Marder (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''กลบท''' คือการประดิษฐ์คิดแต่งคำประพันธ์ให้มีลักษณะแปลกไปจา...
 
Marder (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 100:
[[พ.ศ. 2375]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงปฏิสังขรณ์[[วัดพระเชตุพนฯ]] และทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้รวบรวมเลือกสรรตำรับตำราต่าง ๆ โดยตรวจแก้จากของเดิมบ้าง ประชุมผู้รู้ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง ทั้งด้านวรรณคดี โบราณคดี และวิชาอื่น ๆ และโปรดฯ ให้จารึกแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนฯ ต่อมามีการรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือขึ้นครั้งแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2472]] มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ตำรากลบทอยู่ในหมวดวรรณคดี มีทั้งหมด 97 ชนิด มีทั้งกลอักษร และกลแบบ กลอักษรส่วนใหญ่ซ้ำกับกลบทในศิริวิบุลกิตติ์
 
===เปรียบเทียบกลบทในตำรากลบท===
 
กลบทจากตำรากลบททั้ง 3 เล่ม เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกลบทที่มีเฉพาะในเล่มใดเล่มหนึ่ง พบว่ากลบทที่มีเฉพาะในจินดามณี มีจำนวน 18 ชนิด กลบทที่มีเฉพาะในศิริวิบุลกิตติ์ มีจำนวน 30 ชนิด กลบทที่มีเฉพาะในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ มีจำนวน 10 ชนิด
บรรทัด 118:
กวีนิพนธ์ที่ใช้กลบทตลอดเรื่อง มี 4 เรื่อง ได้แก่ โคลงอักษรสามหมู่ ของพระศรีมโหสถ (ใช้กลบทชนิดเดียวตลอดเรื่อง), ศิริวิบุลกิตติ์ ของหลวงศรีปรีชา (เซ่ง), โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ของกระพระปรมานุชิตชิโนรส, และกลบทสุภาษิต ของหลวงธรรมาภิมณฑ์
 
กวีนิพนธ์ที่มีกลบทแทรกอยู่ มีปรากฏอยู่ค่อยค้นค่อนข้างมากทุกสมัย ตลอดจนปัจจุบัน ซึ่งกวีนิยมแต่งแทรกไว้มากกว่าจะใช้กลบทตลอดเรื่อง นิยมใช้กลอักษรมากกว่ากลแบบ และนิยมใใช้กลบทประเภทบังคับเสียงมากกว่ากลบทบังคับอักขรวิธีและฉันทลักษณ์
 
===พัฒนาการของกลบทในกวีนิพนธ์===
 
กวีมีอิสระในการนำกวีนิพนธ์ไปใช้ในงานของตน รวมทั้งพลิกแพลงใช้กลบทตามความชอบใจของตน จึงมักมีกลใหม่ที่ไม่มีอยู่ในตำรากลบท เช่น กลบทต่อบทต่อคำ ในเพื่อนแก้วคำกาพย์ ที่มีลักษณะคล้ายวัวพันหลัก แต่ซ้ำเฉพาะคำสุดท้ายของบท กับคำแรกของบทต่อไป เป็นต้น
 
บางครั้งมีการพลิกแพลงกลบทเดิมให้แปลกออกไป มีการพลิกแพลงกลงกระทู้กระทู้เป็นกระทู้ทุกวรรค กระทู้ทุกบาท กระทู้ทุกบท ฯลฯ รวมทั้งมีการนำกลบทหลาย ๆ ชนิดมาต่างร่วมกัน
 
ส่วนเนื้อความที่กวีนิยมแทรกกลบทได้แก่ บทไหว้ครู บทพรรณนาต่างๆ เช่น ความงาม ความรัก ธรรมชาติ การจัดขบวนทัพ การสู้รบ ตลอดจนการจบเรื่องเพื่อบอกชื่อผู้แต่ง และวัตถุประสงค์ในการแต่ง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กลบท"