ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิโรธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
'''นิโรธ''' จัดเป็น[[อริยสัจ]]อันดับที่ 3 ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ [[มรรค]] '''นิโรธ''' โดยภาวะคือ[[นิพพาน]]นั่นเอง
==นิโรธ 5==
นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น มี 5 ประการ<br>นิโรธ 5 มีปรากฎ ในชื่อเรียกอย่างอื่่นอีก เช่น
*[[ปหาน]] 5 (การละกิเลส 5 ประการ)
*[[วิมุตติ]] 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)
*[[วิเวก]] 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)
*[[วิราคะ]] 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)
*โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ)
 
นิโรธ 5 ได้แก่
#'''วิกขัมภนนิโรธ''' ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับ[[กิเลส]]ของท่านผู้บำเพ็ญ[[ฌาน]] ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่ม[[นิวรณ์]]ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
#'''ตทังคนิโรธ''' ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับ[[สักกายทิฏฐิ]]ด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
#'''สมุจเฉทนิโรธ''' ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ''ในขณะแห่ง[[มรรค]]นั้น'' ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
#'''ปฏิปัสสัทธินิโรธ''' ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ''ในขณะแห่งผลนั้น'' ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
#'''นิสสรณนิโรธ''' ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ [[นิพพาน]]
==อ้างอิง==
*[[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด,'' [[วัดโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".]
 
 
[[หมวดหมู่:อริยสัจ]]
[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นิโรธ"