ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 111:
[[รัฐสภาแห่งอังกฤษ]]ได้รับการก่อตั้งเป็นสถาบันที่มั่นคงมาแล้วในรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดแต่ก็ยังมีการวิวัฒนาการในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วงนี้สมาชิกของบารอนอังกฤษที่ไม่มีรูปแบบเท่าใดนักก่อนหน้านั้นก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นโดยที่สมาชิกเป็น[[ขุนนางสืบตระกูล]]ผู้ได้รับเรียกเข้ามาประชุมในรัฐสภา<ref>McKisack, ''Fourteenth Century'', 186–7.</ref> ที่ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็น[[ระบบสองสภา]] (Bicameralism) แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดมิได้เกิดขึ้นใน[[สภาขุนนาง]]แต่ใน[[สภาสามัญชน]] ความแตกแยกยิ่งกว้างยิ่งขึ้นในวิกฤติกาลของรัฐสภาดีเมื่อสภาสามัญชนเริ่มมีบทบาททางการเมืองที่เห็นได้ชัดที่นำไปสู่วิกฤติกาลทางการเมือง ระหว่างนั้นก็ได้มีการก่อตั้งระบบ[[การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง]] (Impeachment) และสำนักงาน[[ประธานสภาสามัญชน]] (Speaker of the House of Commons) ขึ้น แม้ว่าความคืบหน้าจะเป็นเพียงการชั่วคราวแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของระบบการเมืองการปกครองของอังกฤษ
 
อิทธิพลทางการเมืองของสภาสามัญชนเดิมอยู่ที่การอนุมัติการเก็บภาษี สงครามร้อยปีเป็นสงครามที่ต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางพระมหากษัตริย์และองคมนตรีก็พยายามหาวิธีต่างๆ ในการหารายได้เพื่อมาใช้ในการสนับสนุนการสงคราม ตามปกติแล้วพระมหากษัตริย์ทรงมีรายได้ประจำจาก[[ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] (Crown Estate) และทรงมีอำนาจในการยืมเงินจากอิตาลีและนายทุนในประเทศ แต่ความจำเป็นที่จะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมหาศาลในการทำสงครามทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงต้องเลี่ยงไปใช้การเก็บภาษีจากราษฎร การเก็บภาษีมีสองอย่าง: [[ภาษี]] และ[[ภาษีศุลกากร]] ภาษีเป็นเงินที่เรียกเก็บสำหรับสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ซึ่งเป็นจำนวนประมาณหนึ่งในสิบของทรัพย์สินของเมือง และหนึ่งในห้าของทรัพย์สินของฟาร์มซึ่งก็ทำรายได้ให้จำนวนมาก แต่การเก็บภาษีแต่ละครั้ง พระองค์ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา และทรงต้องให้เหตุผลถึงความจำเป็นในการเก็บภาษี<ref>Brown, ''Governance'', 70–1.</ref> [[ภาษีศุลกากร]]เมื่อเทียบกับ[[ภาษี]]รายได้ จึงเป็นระบบที่แน่นอนกว่า และและเป็นภาษีสมทบที่ทำรายได้ประจำที่สม่ำเสมอ การเก็บ[[ภาษีศุลกากร]]ของขนแกะที่ส่งออกเรียกเก็บกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1275 [[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1]] ทรงพยายามเพิ่มภาษีขนแกะแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1336 เป็นต้นมาก็ได้มีการหาวิธีต่างๆ ที่จะเพิ่มรายได้จากการส่งขนแกะออกนอก หลังจากปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในระยะแรกแล้วในที่สุดก็ตกลงกันได้ใน[[พระราชบัญญัติภาษีศุลกากรสำหรับด่านสินค้าขาออก]] (Statute of the Staple) ในปี ค.ศ. 1353 ว่าภาษีศุลกากรควรได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแต่ความจริงแล้วพระราชบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติที่บังคับใช้โดยถาวร<ref>Brown, ''Governance'', 67–9, 226–8.</ref>
 
ภาษีที่สม่ำเสมอที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับเกิดจากการที่รัฐสภาโดยเฉพาะสภาสามัญชนที่เริ่มมีอิทธิพลทางการเมืองมากขึ้น แต่เป็นการเห็นพ้องกันว่าในการที่จะให้การเก็บภาษีเป็นไปอย่างยุติธรรมพระมหากษัตริย์ต้องทรงพิสูจน์ว่าเป็นการเก็บภาษีที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องเก็บ; เป็นภาษีที่เห็นควรโดยชุมชนในราชอาณาจักร และเป็นภาษีที่เก็บแล้วมีประโยชน์ต่อชุมชน นอกจากนั้นในโอกาสที่ทรงแถลงความจำเป็นในการเก็บภาษี ก็ยังไปเป็นโอกาสที่รัฐสภาใช้ในการยื่นคำร้องทุกข์ (petition) ต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้อำนาจในทางที่ผิดของข้าราชการ ซึ่งทำให้ทั้งพระมหากษัตริย์และรัฐสภาต่างก็ได้ประโยชน์จากระบบนี้ กระบวนการวิวัฒนาการนี้ทำให้สภาสามัญชนและชุมชนที่สภาเป็นตัวแทนมีความรู้ความเข้าใจในสถานะการณ์ทางการเมืองเพิ่มขึ้นและเป็นการวางรากฐานของ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]ต่อมา<ref>Harriss, ''King, Parliament and Public Finance'', 509–17.</ref>
 
=== เกียรติศักดิ์และความเป็นชาตินิยม ===