ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟักทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Queenc2 (คุย | ส่วนร่วม)
Queenc2 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
 
ฟักทองแบ่งเป็นตระกูลหลักสองตระกูลคือ ตระกูล[[ฟักทองอเมริกัน]] (pumkin) ขนาดผลใหญ่ เนื้อยุ่ย กับตระกูล[[สควอช]] (Squash) ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น<ref name="ฟักทอง"> ฟักทองทำอะไรก็อร่อย.กทม. อมรินทร์. 2554. หน้า 9-10</ref> เปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น คางคกดำ คางคกลาย ศรีเมือง ข้องปลา สีส้ม รูปร่างกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย ดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจึงเป็นสีเหลืองอมส้ม ฟักทองญี่ปุ่น หรือกะโบะชะ (Kabocha) อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่นเดียวกับฟักทองไทย ผลเป็นทรงกลมขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานมัน
 
==ประวัติ==
โดยทั่วไปเชื่อว่าตระกูลสควอชมีจุดกำเนิดใน[[อเมริกากลาง ]]<ref>[http://www.sciencemag.org/cgi/content/summary/276/5314/894 Archaeobiology: Squash Seeds Yield New View of Early American Farming]</ref><ref>[http://www.sciencemag.org/cgi/content/abstract/276/5314/932 The Initial Domestication of Cucurbita pepo in the Americas 10,000 Years Ago]</ref> แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลกภายหลัง <ref>[http://www.pnas.org/cgi/content/abstract/103/33/12223 Eastern North America as an independent center of plant domestication]</ref> ฟักทองเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสเมื่อราว พ.ศ. 2083 โดยนำมาจากกัมพูชา ชื่อภาษาโปรตุเกสของสควอชคือ ''Cambodia abóbora'' (カンボジャ・アボボラ)และย่อลงในภาษาญี่ปุ่นเหลือเพียง kabocha บางบริเวณในญี่ปุ่นย่อเป็น "bobora"
== ประโยชน์และการใช้ ==
ฟักทองถือเป็นพืชในตระกูล[[มะระ]] ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษา[[โรค]]ได้ดี<ref>[http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของฟักทอง ประโยชน์ของฟักทอง สรรพคุณทางยาเพื่อสุขภาพ]</ref>
เส้น 14 ⟶ 15:
ฟักทองนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น พายฟักทอง ซุปฟักทอง [[เทมปุระ]] แกง กินกับ[[น้ำพริก]] น้ำฟักทองคั้นสด มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เมล็ดฟักทองมีสารคิวเคอร์บิทีน ช่วยขับ[[พยาธิตัวตืด]] ใช้เป็นอาหารว่าง น้ำมันจากเมล็ดฟักทองนิยมใช้ปรุงอาหารในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ยอดฟักทองใช้รับประทานเป็นฝัก รากฟักทองนำมาต้มดื่มช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย <ref name="ฟักทอง"/>
 
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์[[มะเร็ง]]ให้อ่อนแอลง <ref>http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=52513</ref> ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน<ref>วันดี กฤษณพันธุ์. สมุนไพรสารพัดประโยชน์. กทม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฟักทอง"