ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต่อมทอนซิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
 
=== โรคต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ===
[[ภาพ:Tonsillitis.jpg|thumb|250px|ต่อมทอนซิลอักเสบที่กำลังอักเสบ]]
อาการของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่วนใหญ่ก็จะไม่รุนแรงมากก็จะเป็นไข้เจ็บคอ แต่ก็มีส่วนน้อยอีกเหมือนกันเช่น โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส หรือไวรัสบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากว่าต่อมทอนซิลอยู่ในช่องปากพอดี ถ้าเกิดว่ามีการอักเสบและโตมากก็จะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจได้
 
เส้น 18 ⟶ 19:
'''ต่อมทอนซิล บางครั้งเมื่อมีการอักเสบแล้ว จะทำให้ต่อมทอนซิลโตขึ้นมาก''' ทำให้มีปัญหาได้ กรณีที่โตมากๆ จะรบกวนการนอน ทำให้เด็กนอนกรน นอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย บางครั้งรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งการที่ต่อมทอนซิลโตจนรบกวนการนอนหลับนั้น จะมีผลทำให้เด็กโตช้า มีผลต่อการเรียน และในรายที่เป็นมากๆ จะมีปัญหาโรคหัวใจ และโรคปอดตามมา ในรายที่เป็นมากๆ มักจะพบมีต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย นอกจากนี้การที่หายใจทางปากเป็นเวลานานๆ จะทำให้โครงหน้าเปลี่ยนไป กระดูกส่วนกลางของใบหน้าเจริญน้อยลง มีการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีผลไปตลอดชีวิตของเด็ก
 
'''ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน 10 ปี''' เพราะหลัง 10 ปีไปแล้วก็จะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยก่อน 20 ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบนั้นก็จะมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาการที่แตกต่างจากเด็กธรรมดาคือ จะมีการกลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บคอ คนไข้เด็กก็จะมีอาการน้ำลายไหลเนื่องจากกลืนลำบากและน้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมาให้สังเกตเห็น หรือเจ็บคอมากๆ ก็จะมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เจ็บอยู่ อาการของโรคต่อมทอนซิลจะรุนแรงกว่าโรคเจ็บคอหวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิลอักเสบส่วนใหญ่จะไม่พบคนไข้ในวัยกลางคนไปแล้ว ถ้าพบหลังจากนั้นคนไข้มีต่อมทอนซิลอักเสบหรือเจ็บข้างใดข้างหนึ่งให้นึกถึงโรคมะเร็งของต่อมทอนซิลไว้ด้วย
 
=== การรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ===