ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทดำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: zh:黑泰
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: vi:Thái Đen; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 1:
'''ไตดำ'''[ไทดำ] หรือ '''ลาวโซ่ง''' เป็นกลุ่ม[[ชาวไท]]กลุ่มหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขต[[สิบสองจุไท]]เดิม หรือบริเวณลุ่ม[[แม่น้ำดำ]] และ[[แม่น้ำแดง]]ในเวียดนามเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของ ชาวไตดำ และ ชาวไตขาว
 
ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเวียดนาม และลาว พวกเขาได้เรียกชนเผ่าที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำดำว่า '''ไตดำ''' ที่เรียกว่าไตดำ ไม่ใช่ว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำดำ แต่เพราะว่ากลุ่มชนเผ่าไทดังกล่าว นิยมสวมเสื้อผ้าสีดำอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งย้อมด้วยต้น[[ห้อม]]หรือต้น[[คราม]] การที่เรียกว่า"ลาวโซ่ง" จริงๆแล้วชนชาติพันธุ์ไม่ได้เป็นลาว เหตุที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะว่ามีการอพยพผ่านลาว การเรียกว่า "ชาวโซ่ง" หรือ "ชาวไททรงดำ" จะถูกต้องกว่า เหมือนที่มีการเรียกคนกลุ่มนี้ใน[[จังหวัดเพชรบุรี]]ว่า "โซ่ง" หรือ "ไทยทรงดำ"<ref> ยุกตนันท์ จำปาเทศ. 2547. เอกสารรายงานท้องถิ่นของเรา "เพชรบุรี</ref>
[[ไฟล์:DSC02670.JPG.jpg]]
 
บรรทัด 16:
ในประเทศไทยนอกจากภาคอีสาน และภาคเหนือ ที่มีชาวไตดำได้อพยพเข้าไปแล้ว ชาวไตดำได้อพยพเข้ามาในภาคกลางด้วย โดยคนไทยเรียกชาวไตดำว่า '''ลาวโซ่ง''' โซ่งนั้นมีการสันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า ซ่วง หรือ ซ่ง ซึ่งเป็นภาษาไตดำ แปลว่ากางเกง เพราะว่าชาวไตดำเหล่านี้สวมกางเกงสีดำ
 
ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ครั้นพระองค์ทรงไปตีกรุงเวียงจันทน์ ในปี [[พ.ศ. 2322]] พระองค์ทรงได้กวาดต้อนชาวไตดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่เมือง[[เพชรบุรี]] และต่อมาในปี [[พ.ศ. 2335]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และในปี พ.ศ. 2381 สมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีล้านช้าง และก็ได้กวาดต้อนมาอีก ซึ่งในปัจจุบัน ตั้งถิ่นฐานกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น [[ราชบุรี]] [[นครปฐม]] [[ สุพรรณบุรี]] [[พิจิตร]] [[พิษณุโลก]] [[กาญจนบุรี]] [[ลพบุรี]] [[สระบุรี]] [[เลย]] [[ชุมพร]] และ[[สุราษฎร์ธานี]] ปัจจุบันเรียกคนเหล่านี้ว่า '''ชาวไทยโซ่ง''' หรือ "ไทยทรงดำ"
 
== วัฒนธรรม ==
บรรทัด 43:
[[fr:Tai Dam]]
[[pl:Czarni Tajowie]]
[[vi:Thái Đen]]
[[zh:黑泰]]