ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จินตนิมิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sl:Fantazijska pripoved
บรรทัด 2:
 
'''จินตนิมิต''' ({{lang-en|Fantasy}}) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ[[เวทมนตร์]]และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใน[[ยุคกลาง]]ของ[[ยุโรป]] หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับ[[นิยายวิทยาศาสตร์]]หรือ[[นิยายสยองขวัญ]] คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Dobryna.jpg|thumb|left|200px|''Dobrynya ผู้ช่วย Zabana จากมังกร'' หนึ่งในเทพนิยายและเทพปกรณัมซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวรรณกรรมจินตนิมิต]]
งานจินตนิมิตชิ้นแรกที่พบเห็นเป็นหลักฐานอาจได้แก่ ''[[มหากาพย์กิลกาเมช]]'' (the Epic of Gilgamesh) แต่งานจินตนิมิตเก่าแก่มีอยู่มากมายเช่น มหากาพย์[[โอดิสซีย์]] ตำนาน[[เบวูล์ฟ]] [[มหาภารตะ]] [[พันหนึ่งราตรี]] [[รามายณะ]] จนกระทั่งถึง [[ตำนานกษัตริย์อาเธอร์]] และมหากาพย์ต่างๆ มากมายในยุคกลาง ที่เกี่ยวข้องกับวีรบุรุษ วีรสตรี ปีศาจอันน่าสะพรึงกลัว และดินแดนลี้ลับ ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง กล่าวไปแล้ว ประวัติศาสตร์ของจินตนิมิตกับประวัติศาสตร์วรรณกรรมก็มีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกันมาก
 
งานบางชิ้นมีความคาบเกี่ยวกันอย่างใกล้ชิด ไม่ชัดเจนว่าเป็นงานจินตนิมิต หรืองานประเภทอื่น ซึ่งขึ้นกับจุดมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องเหนือจริง เช่น เรื่อง ''A Midsummer Night's Dream'' หรือ ''Sir Gawain and the Green Knight'' ทำให้จุดเริ่มต้นแท้จริงของวรรณกรรมจินตนิมิตไม่อาจระบุชี้ชัดลงไปได้<ref>Brian Attebery, ''The Fantasy Tradition in American Literature'', น. 14, ISBN 0-253-35665-2</ref>
 
สำหรับวรรณกรรมจินตนิมิตยุคใหม่ อาจเริ่มจากผลงานของ[[จอร์จ แมคโดนัลด์]] นักประพันธ์ชาวสก๊อตผู้เขียนเรื่อง ''The Princess and the Goblin'' และ ''Phantastes'' ซึ่งเรื่องหลังนี้นับว่าเป็นงานจินตนิมิตสำหรับผู้ใหญ่เรื่องแรกของโลก แมคโดนัลด์เป็นแรงบันดาลใจสำคัญยิ่งต่อ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] และ [[ซี. เอส. ลิวอิส]] นักประพันธ์งานจินตนิมิตอีกผู้หนึ่งในยุคเดียวกันนี้คือ [[วิลเลียม มอร์ริส]] กวีชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่ได้แต่งนวนิยายไว้มากมาย รวมถึงเรื่อง ''The Well at the World's End''
 
ถึงกระนั้น วรรณกรรมจินตนิมิตก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้อ่านกว้างขวางนัก [[เอ็ดเวิร์ด พลังเคทท์]] หรือที่รู้จักกันในชื่อ ลอร์ดดันเซนี (Lord Dunsany) เป็นผู้ริเริ่มงานเขียนแนวนวนิยายและเรื่องสั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความนิยมที่เข้าถึงผู้อ่านมากขึ้น นักเขียนงานจินตนิมิตแนวนี้ในยุคนั้นได้แก่ [[เอช. ไรเดอร์ แฮ็กการ์ด]] [[รุดยาร์ด คิปลิง]] และ [[เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรส์]] รวมถึง [[อับราฮัม เมอร์ริทท์]] ต่างพากันสร้างผลงานจินตนิมิตในแขนงที่เรียกกันว่า "Lost World" ซึ่งเป็นวรรณกรรมจินตนิมิตแขนงที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผลงานวรรณกรรมจินตนิมิตสำหรับเด็กระดับคลาสสิคได้เผยแพร่ในยุคนั้นหลายเรื่อง เช่น [[ปีเตอร์ แพน]] และ [[พ่อมดมหัศจรรย์แห่งออซ]] เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ งานจินตนิมิตแขนง "Juvenile" (จินตนิมิตสำหรับเด็ก) จะเป็นที่นิยมและยอมรับมากกว่าวรรณกรรมจินตนิมิตสำหรับผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้เหล่านักเขียนจึงพากันสร้างผลงานออกมาเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบต่องานจินตนิมิตทั้งหมดที่สร้างขึ้นในยุคนั้น ไม่เว้นแม้แต่ [[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ล้วนถูกจัดกลุ่มไปว่าเป็น [[วรรณกรรมเยาวชน]] กันทั้งนั้น
 
ปี ค.ศ. 1923 ได้มีนิตยสารที่มุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ [[นิยายจินตนิมิต|นวนิยายจินตนิมิต]] โดยเฉพาะ ชื่อว่า ''Weird Tales'' หลังจากนั้นก็เกิดมีนิตยสารแนวนี้ขึ้นอีกมาก ฉบับที่มีชื่อเสียงคือ ''The Magazine of Fantasy and Science Fiction'' การเผยแพร่งานผ่านนิตยสารทำให้วรรณกรรมจินตนิมิตเผยแพร่สู่ผู้อ่านจำนวนมากขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างสูงทั้งใน[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[อังกฤษ]] นิตยสารบางฉบับเริ่มจับแนวทางของ[[นิยายวิทยาศาสตร์]]ด้วย ทำให้วรรณกรรมสองสาขานี้มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันมากกว่าสาขาอื่นๆ
 
เมื่อถึง ปี ค.ศ. 1950 วรรณกรรมจินตนิมิตแนว "ดาบและเวทมนตร์" ก็สามารถเข้าถึงผู้อ่านเป็นวงกว้าง ดังเห็นในความสำเร็จของ ''Conan the Barbarian'' ของ [[โรเบิร์ต อี. โฮวาร์ด]] หรือ ''Fafhrd and the Gray Mouser'' ของ [[ฟริตซ์ ไลเบอร์]] และแล้วก็เกิดวรรณกรรมจินตนิมิตแขนงใหม่ คือ "[[จินตนิมิตระดับสูง]]" (High Fantasy) เรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือผลงานของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] เรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' และ ''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' ซึ่งส่งผลให้มีวรรณกรรมจินตนิมิตเกิดขึ้นสู่บรรณพิภพเป็นจำนวนมาก ผลงานอื่นๆ เช่น ''[[นาร์เนีย|ตำนานแห่งนาร์เนีย]]'' ของ [[ซี. เอส. ลิวอิส]] และ ''[[พ่อมดแห่งเอิร์ธซี]]'' ของ [[เออร์ซูลา เค. เลอกวิน]] ทำให้ความนิยมในวรรณกรรมสาขานี้แข็งแกร่งมั่นคงยิ่งขึ้น
 
ความนิยมในวรรณกรรมจินตนิมิตยังคงสืบเนื่องต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดปรากฏการณ์หนังสือขายดีที่สุด จากเรื่อง ''[[แฮร์รี่ พ็อตเตอร์]]'' ผลงานของ [[เจ. เค. โรว์ลิ่ง]] ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมจินตนิมิตก็เกิดขึ้นมากและประสบผลสำเร็จหลายเรื่อง เรื่องที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ [[ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ของผู้กำกับภาพยนตร์ [[ปีเตอร์ แจ็คสัน]]
 
== ประเภทของงานจินตนิมิต ==