เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 153:
ชะยาสะนากะตา พุทธาเชตะวา มารังสวาหะนัง จะตุสัจจาสะพังระสังเยปิวิงสุนะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฎฐวีสสะตินายะกา สัพเพปติฎฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา สีเสปะติฎฐิโตมัยหัง พุทโธ ธัมโมทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเรสัพพะคุณากะโร หะทะเยเม อะนุรุทโธ จะ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปฏิฐิภาคัสสะมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะมหานาโม อุภาสุงวามะโสตะเก เกสะโตปะฏิฐิภาคัสสะมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโตมุนิปุงคะโว กุมาระกัสโป เถโร มเหสี จิตตะวา ทะโก โสมัยหังวะทะเน นิจจัง ปติฏฐาสิ คุณากะโร ปุณโณ อังคุลิมาโรจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถราปัญจะ อิเมชาตา นลาเตติ ละกามะมะ เสสาสีติมหาเถรา วิชิตาชินะสาวกา เอเตสีติ มหาเถราชิตะวันโต ชิโนระสาชะลันตาสีละเตเชนะ อังคะมังเคสุสัณฐิตา ระตะนังปุระโต อาสิ ทักขิเณเมตตะสุตตะกัง ธะชัคคังปัจฉะโตอาสิ วาเมอังคุลิมาละกัง ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกังอากาเสฉะทะนัง อาสิ เสสาปาการะสัณฐิตา ชินานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา วาตาปิตา ทิสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา อะเสสาวินะยังยันตุอะนันตะชินะเต ชะสา วะสะโตเมสะกิจเจนะ สะทาสัมพุทธะปัญชะเร ชินะปัญชะระมัชฌิมหิ วิหิรันตัง มหีตะเลสะทาปาเลนตุมัง สัพเพเตมะหาปุริสาสะภา อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะชิตุ ปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริ สังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวปาลิโตจะราม ิชินะปัญเรติ
 
 
รหัส012 พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี
องค์นี้ก็เป็นพระกรุเก่าเช่นกัน สภาพสวยสมบูรณ์มากๆ ความคมชัด
ไม่ต้องกล่าวถึง งามซึ้งตึงใจจริงๆที่เราได้กล่าวมาแล้วว่าพระเครื่อง
โบราณนั้นได้บรรจงสร้างสรรค์และสร้างให้ได้ทันแก่เวลา และให้จำ
นวนพระเท่ากับพระธรรมขันธ์ ดังนั้นจึงได้มีอยู่หลายแม่พิมพ์
 
 
ประวัติพระผงสุพรรณ
 
พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก (มีของปอมกลาดเกลื่อนไปหมด )
 
ตำนานการสร้าง
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณนั้น ท่านอาจารย์กลิ่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ จังหวัดพระนครได้บอกเล่าว่าท่านมหาชื้น วัดจักรวรรดิ์ ฯ เป็นผู้ตัดต่อจากลานทองที่ปรางวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ,ศ ๒๔๕๓ มี
ใจความดังนี้ คือ
ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะแสดงบาทไว้ให้รู้ว่ามีฤาษีพิลาลัยเป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐ์มีสุวรรณ เป็นต้น คือ พระบรมกษัตริย์ พระศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ศรัทธา ฤาษีทั้ง ๔ ตน จึงพร้อมใจกันนำเอาแร่ว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์กับแร่ต่างๆ ครั้งได้แล้วพระฤาษี จึงอันเชิญเทพยดา เข้ามาช่วยกันทำพิธีเป็น พระพิมพ์สถานหนึ่ง สถานหนึ่งแดง ได้เอาว่านทำผงปั้นพิมพ์ด้วยลายมือพระมหาเถรปิยทัสสะดิสศรีสาริบุตร คือเป็นใหญ่
เป็นประธานในที่นั้น ได้อาแร่ต่างๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า “แร่สังฆวานร “ ได้หล่อเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างๆกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วเอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปใหญ่แห่งเมืองพรรธม ถ้าผู้ใดได้พบให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษนักแล ฯ
 
กรุแตกเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๕๖
นาย พิน ฯ ได้เล่าว่า ในปี พ. ศ ๒๔๕๖ สมัยนั้นตนยังเป็นเด็กลูกวัดอยู่ ต่อมาได้มีพระดงค์รูปหนึ่งมาถามแกว่า
วัด “พระธาตุไปทางไหน” นายพิน ฯ ก็ชี้บอกทางให้ ครั้งภายหลัง นายพินฯ จึงมาทราบว่าพระธุดงค์รูปนั้นได้ลายแทงมาขุดหาสมบัติ ของสำคัญได้ผอบทองคำไปใบหนึ่ง และมิได้นำอะไรไปจากกรุเลย แต่ชาวจีนที่พระธุดงค์จ้างมาขุด กับได้พระเครื่องฯ ต่างๆไปเป็นอันมาก อาทิเช่นพระผงสุพรรณ พระกำแพงศอก ฯลฯ แล้วนำออกเร่ขาย ความทราบถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองก็รีบไปจัดการอุดช่องที่เจาะพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสีย
ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ (ปีเดียวกับกรุแตก ) พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเปิดกรุได้พบลายแทงแผ่นลายเงิน-ทอง จารึกอักษรขอม
ครั้งต่อมาพระยาสุนทรบุรี ได้นำเอาพระผงสุพรรณ ขึ้นถวายตลอดจนพระเครื่อง ฯ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แด่ล้นเกล้า ฯ ร. ๖
 
อภินิหาร
สมัยก่อนโน้น ชาวเมืองสุพรรณนิยม กีฬาชนควาย พนันกัน เอาเงินเอาทองและเล่นกันมาก ประจวบกับในระหว่างนั้น พระผงสุพรรณนั้นมีมาก และไม่มีมูลค่า(ราคาของเงิน )เหมือนเช่นปัจบันนี้ จึงได้นำเอาพระผงสุพรรณองค์ที่แตกหักไปป่นให้ละเอียดผสมคลุกกับหญ้าให้ควายกินแล้นำควายแล้วนำควายไปชนกัน
ปรากฏว่า ควายที่กินเศษผงพระผงสุพรรณข้าไปขวิดได้ดีมาก และหนังเหนียวเสียด้วย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
 
วิธีการอาราธนา-การใช้
ให้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๓ จบ
ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีกกลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ ประสิทธิ์นักแลฯ
 
ลักษณะพระผงสุพรรณ
กรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดตัด ( ตัดด้วยตอก )ตลอดจนขอบข้าง
และแบบชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
แบบพิมพ์ที่มารตฐาน มี ๓ แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
พระเกศ ซ้อนกัน ๓ชั้น พระกรรณ หย่อนยาน ปลายพระกรรณซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของพระกรรณติดกับพระเศียร คล้ายหูแพะ พระอุระ คล้ายหัวช้าง พระอุทร แฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์
มารวิชัย พระผงสุพรรณ มีสีที่แตกต่างกัน ถึง ๔สี คือ ๑ สีดำ ๒ สีแดง ๓ สีเขียว ๔ สีพิกุลแห้ง
ส่วน ด้านพระพุทธคุณนั้นใช้ดีในทางเมตตามหานิยม คงกระพัน ตลอดจน แคล้ว และคงกระพันชาตรี
สรุปความแล้วก็ คือ พระเครื่องราง ของขังไม่ว่ากรุใหนๆ วัดใด ก็ตาม ย่อมมีอภินิหาร อำนาจลึกลับ อยู่ในพระเครื่องเสมอ ซึ่งทั้งนี้ก็เนื่องมาจากพระอาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องนั้นๆ เสมอ ท่านได้บรรลุแล้วซึ่งญาณสมาบัติ
อันสูงสุด และหมดสิ้นซึ่งกิเลสใดๆทั้งสิ้น ( อำนาจของดวงจิตเป็นสมาธินั่นเอง ) ซึ่งทั้งนี้ก็หวังที่จะสืบทอด พระพุทธศาสนา ให้เจริญเจริญถาวรไป ๕ ๐๐๐ ปี โดยการ บรรจุกรุ เป็นต้น