ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดจามเทวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44:
== ประวัติ ==
 
[[วัดกู่กุด]] ของพระนางจามเทวี ปัจจุบันคือ เมือง[[เมืองลำพูน]] มาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี
ปี [[พ.ศ. 1184]] มีพระฤาษีไปพบ[[ทารก]]หญิง ถูกพญานกคาบมาทิ้งไว้บนใบบัวหลวง จึงเลี้ยงดูและสอน[[สรรพวิทยาการ]]ต่างๆ ให้
 
เมื่อพระนางจามเทวี เจริญวัยได้ 13 พรรษา พระฤาษีจึงต่อนาวายนต์พร้อมด้วยฝูงวานรเป็นบริวารลอยล่องไปตามลำน้ำ ถึงยังท่าน้ำ[[วัดชัยมงคล]]
 
เมื่อ[[พระเจ้ากรุงละโว้]] และ[[พระมเหสี]]พบเห็น จึงได้นำ[[กุมารี]]น้อยนั้นเข้าสู่[[พระราชวัง]] และตั้งให้เป็น[[พระราชธิดา]] นามว่า [[จามเทวีกุมารี]] และให้ศึกษา[[ศิลปวิทยา]]การ[[ตำราพิชัยสงคราม]] และ[[ดนตรี]]ทุกอย่าง
 
[[พ.ศ. 1198]] พระนางจามเทวีมีพระชนม์ 14 พรรษา ได้เข้า[[พิธีอภิเษกสมรส]]กับเจ้าชายราม แห่ง[[นครรามบุรี]]
 
[[พ.ศ. 1204]] พระนามจามเทวีมี[[พระชนม์]] 20 พรรษา เป็น[[กษัตรีย์]]วงศ์จามเทวีแห่ง[[นครหริภุญชัย]] โดยพระนางเจ้าได้อัญเชิญ[[พระแก้วขาว]]([[พระเสตังคมมี]]) จากเมืองละโว้ เมื่อปี 700 ขึ้นมา เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง (ปัจจุบัน พระเสตังคมณีองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่[[วัดเชียงมั่น]] [[จังหวัดเชียงใหม่]])
 
พระนางจามเทวี มีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่มีนามว่า [[มหายศ”ยศ]] (มหันตยศ) องค์น้องมีนามว่า [[อินทวร]] (อนันตยศ)
 
[[พระเจ้ามหายศ]] ได้ขึ้น[[เสวย]][[ครองเมือง]][[หริภุญชัย]]นคร แทน[[พระมารดา]]
 
องค์น้อง[[พระเจ้าอินทวร]]ไปครองเมือง[[เขลางค์นคร]] ที่[[มหาพรหมฤาษี]] และ[[สุพรหมฤาษี]]ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ให้พระองค์โดยเฉพาะ
 
ส่วนพระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง ให้พระโอรสทั้งสอง ออก[[บวชชี]] บำเพ็ญพรต อยู่ที่ [[วัดจามเทวี]]
 
[[พ.ศ. 1276]] [[พระนางจามเทวี]]ได้[[ปฏิบัติธรรม]]อยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา พระนางจึงได้[[สิ้นพระชนม์]] ซึ่งทาง[[พระมหันตยศ]] และ[[พระอนันตยศ]] 2 พระโอรสก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดดังกล่าวอย่างสมพระเกียรติ และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุ[[พระอัฐิ]]ของ[[พระนาง]]ไว้ ณ ที่นี้ โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า [[สุวรรณจังโกฏ]]เจดีย์ ที่ได้เป็นต้นแบบของเจดีย์ในแถบ[[ล้านนา]]
 
ต่อมานานนับพันปี “สุวรรณจังโกฏเจดีย์” ชำรุดผุพัง [[ยอดพระเจดีย์]]ได้หัก และหายไป กลายเป็น[[วัดร้าง]] และชาวบ้านได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดกู่กุด” ([[กู่กุด]] เป็น[[ภาษาล้านนา]]แปลว่า เจดีย์ยอดด้วน)
 
[[พ.ศ. 2469]] สมเด็จฯ สมเด็จ[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ได้เสด็จเยี่ยมวัดแห่งนี้ จึงได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจาก [[วัดกู่กุด]] เป็น [[วัดจามเทวี]] เช่นเดิม
 
[[พ.ศ. 2479]] [[เจ้าจักรคำขจรศักดิ์]] ผู้ครอง[[นครลำพูน]]ได้ไปนิมนต์ท่าน[[ครูบาศรีวิชัย]] ช่วย[[บูรณะ]]วัดจามเทวีอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมาวัดจามเทวี ก็เจริญรุ่งเรือง
รูปแบบของ[[สถาปัตยกรรม]]ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนบน[[สุวรรณจังโกฏเจดีย์]] ได้กลายเป็น[[โบราณสถาน]][[โบราณวัตถุ]]ที่ประประเมินค่าไม่ได้
 
พระพุทธรูปปางต่างๆ ในแต่ละชั้นของเจดีย์แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา และการเข้าถึงพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี