ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจตสิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต
เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )
 
เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
# เกิดพร้อมกับจิต
# ดับพร้อมกับจิต
# มีอารมณ์เดียวกับจิต
# อาศัยวัตถุเดียวกับจิต
จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้
 
#ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
#กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
#ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
# เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต
 
เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน
 
จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก
 
การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ
 
การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์
 
เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของ[[พระอภิธรรมปิฎก]]ซึ่งมี 4 เรื่องคือ [[จิต]][[ เจตสิก]] [[รูป]] [[นิพพาน]] และจัดเป็นเรื่องสำคัญของ[[พระพุทธศาสนา]]อย่างหนึ่งด้วย
 
 
== เจตสิก๕๒ ==
การที่จิตและเจตสิกจะประกอบกันได้จำต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน จึงอยู่ในที่เดียวกันได้ เช่น โลภะเจตสิก จะต้องประกอบได้กับโลภะมูลจิตเท่านั้น เมื่อประกอบกันแล้วโลภะจิตดวงนี้จึงจะสามารถแสดงอำนาจความอยากได้ออกมา โทสะเจตสิกก็ต้องประกอบกับโทสะมูลจิตเท่านั้น โทสะเจตสิกจะ ประกอบกับโลภะจิตไม่ได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกัน คือ โลภะเจตสิกมีสภาพติดใจในอารมณ์ ส่วนโทสะเจตสิกมีสภาพประทุษร้ายทำลายอารมณ์ จึงเข้ากันไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เจตสิกฝ่ายอกุศล ก็จะเข้ากับโสภณเจตสิกก็ไม่ได้เช่นกัน
 
กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล) ตามการเข้าประกอบ เจตสิกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก มี 13 ดวง กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลได้แก่ อกุศลเจตสิกมี 14 ดวง เข้าได้กับ กลุ่มอกุศลจิตเท่านั้น กลุ่มสุดท้ายคือเจตสิกฝ่ายดีงาม เข้าได้กับกลุ่มโสภณจิตเท่านั้น โสภณเจตสิกมี 25 ดวง
แยกโดยละเอียดแล้วมี 52 ประการ จัดเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ 3 หมวด คือ
 
===อัญญสมานาเจตสิก๑๓ ===
อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้ ทั้งกลุ่มกุศลจิต กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)
 
อัญญสมานาเจตสิกมี 13 ดวง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
 
 
====สัพพจิตตสาธารณะ๗====
หมายถึงเจตสิกที่เกิดกับจิตทั้งปวง
เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง) เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง แยกจากกันไม่ได้ จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า สัพพสาธารณะเจตสิก 7
*เอกกัคคตา ประคองจิตให้มีอารมณ์เดียว
*ชีวิตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการหล่อเลี้ยงนามธรรม คือจิตและเจตสิกทั้งหลาย
เส้น 22 ⟶ 53:
====ปกิณณกเจตสิก๖====
หมายถึงเจตสิกที่เรี่ยรายทั่วไป ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง
เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ จะเข้าไม่พร้อมกันก็ได้ แยกกันประกอบได้ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก 6
*[[วิตก]] การนึก
*[[วิจาร]] การคิด
เส้น 30 ⟶ 62:
 
===อกุศลเจตสิก๑๔===
อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น กลุ่มอกุศลจิต มี 14 ดวง
====โลภะ๓====
*[[โลภะ ]](ตัณหาและราคะเป็นอารมณ์เดียวกับโลภะ)
เส้น 48 ⟶ 81:
 
====ติกะ๓====
แยกเป็น2กลุ่ม คือ ทำให้ท้อแท้หดหู่(ถีนะมิททะ) และทำให้ลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา)
*[[ถีนะ]]
*[[มิททะ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เจตสิก"