ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 152:
===กลุ่มการเมือง (Groupes politiques)===
 
กลุ่มการเมืองประกอบด้วยสมาชิกที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองคล้ายกันจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ซึ่งสมาชิกคนหนึ่งสามารถเป็นสมาชิกของกลุ่มทางการเมืองได้เพียงกลุ่มเดียว โดยกลุ่มการเมืองต่าง ๆ จะมีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการบริหารในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน และในคณะกรรมาธิการสามัญตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกกลุ่มการเมือง ตลอดจนมีผู้แทนตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกอยู่ในองค์กรต่าง ๆ ที่สภาตั้งขึ้น เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสอบสวน และหน่วยงานต่าง ๆ ของสภา (Offices parlamentaires) เป็นต้น หรือมีส่วนร่วมในการแบ่งสรรภาระหน้าที่ต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมกัน และการเป็นผู้แทนในองค์กรภายนอก
 
กลุ่มการเมืองต่าง ๆ จะมีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการบริหารในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน และในคณะกรรมาธิการสามัญตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกกลุ่มการเมือง ตลอดจนมีผู้แทนตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกอยู่ในองค์กรต่าง ๆ ที่สภาตั้งขึ้น เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสอบสวน และหน่วยงานต่าง ๆ ของสภา (Offices parlamentaires) เป็นต้น หรือมีส่วนร่วมในการแบ่งสรรภาระหน้าที่ต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมกัน และการเป็นผู้แทนในองค์กรภายนอก
 
ผู้แทนกลุ่มการเมือง (intermédiare des groupes) จะพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิบางประการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสภา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิในการอภิปราย
 
===คณะกรรมาธิการสามัญ (commissions permanentes)===
 
คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 6 คณะ ดังนี้
 
* คณะกรรมาธิการกิจการวัฒนธรรม ครอบครัวและสังคม
* คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเขตแดน
* คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
* คณะกรรมาธิการการป้องกันประเทศและการทหาร
* คณะกรรมาธิการการคลัง เศรษฐกิจทั่วไป และการวางแผน
* คณะกรรมาธิการกฎหมายรัฐธรรมนูญ การตรากฎหมายและการบริหารจัดการทั่วไปของสาธารณรัฐ
 
ในตอนเริ่มต้นวาระของสภา และเริ่มต้นสมัยประชุมสามัญของทุกปี สภาจะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ โดยตั้งตามสัดส่วนของกลุ่มการเมืองและตามข้อเสนอของหัวหน้ากลุ่มการเมือง คณะกรรมาธิการแต่ละคณะจะตั้งคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน3 – 4 ตำแหน่ง และเลขานุการ 3 – 4 ตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการคลังจะตั้งผู้นำเสนอรายงานทั่วไป (rapporteur général) อีก 1 ตำแหน่ง
 
หน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญมี 2 ประการ คือ การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการอภิปรายกฎหมายในการประชุมสภา และการให้ข้อมูลแก่สภาและควบคุมรัฐบาล
 
คณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะจะมีห้องประชุมประจำและมีเจ้าหน้าที่ประจำคณะที่เป็นข้ารัฐการภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าฝ่าย โดยฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 6 คณะ มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดรวม 150 คน นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือทางการเงินเฉพาะด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่หรือในการพิจารณาศึกษา เป็นต้น
 
โดยหลักการแล้ว คณะกรรมาธิการจะไม่ประชุมในเวลาเดียวกับการประชุมสภา (เว้นแต่ในกรณีจำเป็น) โดยสภาผู้แทนราษฎรจะประชุม 3 วัน คือ วันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี ส่วนคณะกรรมาธิการจะประชุมในวันพุธช่วงเช้า แต่โดยมากแล้ว คณะกรรมาธิการมีการประชุมในช่วงบ่ายวันอังคารและวันพุธ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการ ต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
 
==อำนาจหน้าที่==
 
===ด้านนิติบัญญัติ (Pouvoir législatif)===
 
นอกจากกระบวนการในการพิจารณาตามปกติแล้ว สภาผู้แทนราษฎรยังมีกระบวนการพิเศษในการพิจารณาร่างกฎหมายด้วย
 
'''1. กระบวนการพิจารณาแบบลดขั้นตอน (procédure d’examen simplifé)'''
 
เนื่องจากสภามีเวลาในการประชุมค่อนข้างจำกัด จึงเกิดกระบวนการพิจารณาแบบลดขั้นตอน กล่าวคือ เริ่มจากการอภิปรายทั่วไปอย่างสั้น (ผู้นำเสนอรายงานมีเวลาในการอภิปราย 10 นาที และผู้แทนกลุ่มการเมืองกลุ่มละ 5 นาที) จากนั้นเป็นการอภิปรายรายมาตราอย่างย่อ โดยจะอภิปรายเพียงการแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมและมาตราที่มีการแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ปรากฏในรายงานเท่านั้น ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการและรัฐบาลไม่มีสิทธิอภิปรายในมาตราต่าง ๆ หรือตอบชี้แจงเกี่ยวกับการแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด
 
หลักเกณฑ์ในการใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นหลักประกันการเคารพสิทธิในการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นฝ่ายคัดค้าน
 
นอกจากนี้ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ 107 ได้กำหนดกระบวนการพิจารณาที่สั้นกว่านี้สำหรับการพิจารณาร่างกฎหมายอนุมัติการให้สัตยาบันสนธิสัญญาหรือให้ความเห็นชอบข้อตกลงระหว่างประเทศ คือ สภาจะทำการลงมติร่างกฎหมายเหล่านี้ทันที เว้นแต่ที่ประชุมแห่งประธานได้พิจารณาให้ความเห็นในทางตรงกันข้าม
 
'''2. ข้อผูกมัดด้านความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อการลงมติร่างกฎหมาย (engagement de responsabilité du gouvernement sur le vote d’un texte)'''
 
รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่า ภายหลังการพิจารณาในคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรสำหรับการลงมติร่างกฎหมาย แต่กระบวนการดังกล่าวนี้ ไม่ใช้กับวุฒิสภา หมายถึงว่ารัฐบาลไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อวุฒิสภา
 
ในกรณีที่ใช้การบล็อกโหวต รัฐบาลมีอิสระในการเลือกช่วงเวลาและเนื้อหาของร่างกฎหมายที่จะแสดงความรับผิดชอบ
 
ในกรณีอื่น การแสดงความรับผิดชอบมีผลทำให้เกิดการยุติการอภิปรายโดยทันที
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่การแสดงความรับผิดชอบ
 
ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่สามารถเสนอได้คือญัตติที่มีสมาชิกจำนวน 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้เสนอ เมื่อมีการเสนอญัตติ สภาก็จะทำการอภิปรายและลงมติตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ การอภิปรายต้อง
จัดขึ้นภายใน 3 วันเป็นอย่างช้า โดยวันดังกล่าวหมายถึงวันที่เป็นวันประชุม ส่วนการลงมตินั้นต้องไม่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงหลังการเสนอญัตติ ญัตติจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อญัตตินั้นได้คะแนนเสียงข้างมากของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
 
ถ้าไม่มีการเสนอญัตติภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือญัตติไม่ได้รับความเห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภา การแสดงความรับผิดชอบนี้จะมีผลสำหรับวาระการพิจารณาที่นำกระบวนการดังกล่าวมาใช้เท่านั้น และไม่ส่งผลใด ๆ ต่อกระบวนการส่ง
ไป-มา
 
ถ้าญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้รับความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งและถือว่าร่างกฎหมายที่รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบนั้นตกไป
 
===ด้านการควบคุมรัฐบาล (Pouvoir de contrôle)===
 
'''1. ความรับผิดชอบของรัฐบาล (mise en cause de la responsabilité du Gouvernement)'''
 
รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา และในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ความเห็นชอบญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานหรือการแถลงนโยบายทั่วไปของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีต้องยื่นใบลาออกของรัฐบาลต่อประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
 
กระบวนการที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อรัฐสภา มีดังนี้
 
* การแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลในเรื่องแผนการดำเนินงานหรือการแถลงนโยบายทั่วไป
* การเสนอญัตติขอเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
* การแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลเกี่ยวกับการลงมติให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย
 
'''2. การตั้งกระทู้ถาม (questions)'''
 
การตั้งกระทู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีรูปแบบ ดังนี้
 
::2.1 กระทู้ถามด้วยวาจา (questions orales)
 
- กระทู้ถามด้วยวาจาโดยไม่มีการอภิปราย (questions orales sans débat)
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเพื่อถามรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้นี้ต้องตั้งโดยสมาชิกเพียงคนเดียว ห้ามเป็นกระทู้หมู่ สมาชิกต้องจัดทำสรุปใจความสำคัญของกระทู้เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งไปยังรัฐบาล
 
ที่ประชุมแห่งประธานได้กำหนดให้มีการพิจารณากระทู้ถามด้วยวาจาในช่วงเช้าวันอังคาร ยกเว้นในระหว่างการพิจารณางบประมาณหรือในสมัยประชุมวิสามัญ หรือในกรณีที่ได้กำหนดระเบียบวาระอื่นไว้แล้ว
 
ตั้งแต่ช่วงต้นวาระ ที่ประชุมแห่งประธานจะพิจารณากำหนดจำนวนวันประชุมทั้งหมดสำหรับกระทู้ถามด้วยวาจา จำนวนกระทู้ถามที่สามารถถามได้ในการประชุมแต่ละครั้ง (ปัจจุบันกำหนดไว้ 25 กระทู้) และสัดส่วนของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ
 
กระทู้ถามเหล่านี้จะประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาในส่วนของกระทู้ถาม
 
สภาจะใช้เวลา 7 นาที ในการถามและตอบกระทู้ 1 กระทู้
 
- กระทู้ถามสดเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (questions au gouvernement)
 
สมาชิกสามารถตั้งกระทู้ถามสดถามรัฐบาลกับเรื่องใดๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสหภาพยุโรป ผลประโยชน์ของท้องถิ่น และนโยบายทั่วไป
 
ในการตั้งกระทู้ถามสดนั้น จะไม่มีการเสนอข้อความในกระทู้ ไม่มีการแจ้งไปยังรัฐบาล และไม่มีการเผยแพร่กระทู้ในรัฐกิจจานุเบกษา รัฐบาลจะไม่ได้รับทราบเนื้อหาของกระทู้ แต่จะได้รับทราบเพียงชื่อของผู้ตั้งกระทู้ถามสดในเวลา 1 ชั่วโมงก่อนการเปิดประชุม
 
สภาจะทำการพิจารณากระทู้ถามสดในวันอังคารและวันพุธช่วงบ่าย โดยใช้เวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง และทำการพิจารณาแม้แต่ในระหว่างการพิจารณางบประมาณ ซึ่งในการถามและตอบกระทู้ถามสด 1 กระทู้นั้นใช้เวลาโดยเฉลี่ย 5 นาที
 
2.2 กระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร (questions écrites)
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ส่วนกระทู้ถามที่ถามนายกรัฐมนตรีต้องเป็นกระทู้ถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายทั่วไปของรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยเหตุของหลักการแบ่งแยกอำนาจและเอกสิทธิ์ของผู้ปกครองรัฐ สมาชิกจึง
ไม่สามารถตั้งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อถามประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ได้
 
ในการตั้งกระทู้นั้น สมาชิกต้องเสนอกระทู้ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งไปยังรัฐบาล ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ทั้งในระหว่างสมัยประชุมและนอกสมัยประชุม กระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะได้รับการประกาศในส่วนพิเศษของรัฐกิจจานุเบกษา และรัฐมนตรีต้องตอบในรัฐกิจกานุเบกษาภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่กระทู้ถามได้รับการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษา