ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานแทงข้างหลัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46:
นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ฟรีดิช มินเนค พยายามสืบหาร่องรอยของที่มาของคำนี้อยู่ก่อนแล้ว ตามที่ระบุในหนังสือพิมพ์เวียนนิช ''Neue Freie Presse'' เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1922 โดยในการเลือกตั้งแห่งชาติประจำ ค.ศ. 1924 วารสารเกี่ยวกับ[[ศาสนา]]ที่ชื่อ ''Süddeutsche Monatshefte'' ได้ลงพิมพ์บทความชุดหนึ่งในระหว่างความพยายามทรยศต่อประเทศของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] และลูเดนดอร์ฟฟ์ใน ค.ศ. 1923 โดยบทความนั้นมีเนื้อหาต่อว่าพรรคเอสพีดีและสหภาพแรงงานเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังตีพิมพ์บทความ บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์พรรคเอสพีดีได้ยื่นฟ้องนิตยสารนั้นในข้อหาหมิ่นประมาท ทำให้เกิดการลุกฮือจนเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า ''Munich Dolchstossprozess'' ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม ถึง 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 มีบุคคลสำคัญหลายคนได้ให้การเป็นพยานในศาลชั้นต้น ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการของรัฐสภาที่สืบสวนสาเหตุความพ่ายแพ้สงครามเช่นกัน ทำให้มีผลการตัดสินคดีหมิ่นประมาทบางส่วนถูกเปิดเผยสู่สาธารณชนก่อนที่คณะกรรมการดังกล่าวจะได้ตีพิมพ์ผลการตัดสินออกมาใน ค.ศ. 1928
 
ตำนานแทงข้างหลังนั้นเป็นภาพพจน์ที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อที่ผลิตโดยฝ่ายขวา และพรรคการเมืองหัวอนุรักษ์นิยมที่จัดตั้งขึ้นในช่วงแรก ๆ ของ[[สาธารณรัฐไวมาร์]] ซึ่งรวมไปถึง[[พรรคนาซี]]ของฮิตเลอร์ สำหรับเขาแล้วรูปแบบการจำลองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีความสำคัญส่วนตัวสำหรับเขามาก<ref name="brendon8">[[Piers Brendon]], ''The Dark Valley: A Panorama of the 1930s'', p8 ISBN 0-375-40881-9</ref> เขาได้ทราบข่าวความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในระหว่างที่รักษาตัวจากอาการตาบอดชั่วคราวจากการโจมตีด้วยแก๊สมัสตาร์ดในการรบที่แนวหน้า<ref name="brendon8"/> ในหนังสือ ''[[ไมน์คัมพฟ์]]'' (การต่อสู้ของข้าพเจ้า) ของเขา เขาได้อธิบายถึงวิสัยทัศน์ของเขาที่ทำให้เขาเข้าสู่วงการเมือง ตลอดอาชีพของเขา เขามักกล่าวโทษเหตุการณ์ "อาชญากรรมเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918" ที่มีการลอบแทงทหารบกเยอรมันจากด้านหลังเสมอ
 
แม้ว่าจะมีเรื่องเล่าของประธานาธิบดีชั่วคราวแห่ง[[สาธารณรัฐไวมาร์]] [[ฟรีดริช อีเบิร์ต]] ที่่กล่าวสดุดีทหารผ่านศึกใน ค.ศ. 1919 ว่า "ไม่มีข้าศึกใดพิชิตท่าน" (''Kein Feind hat euch überwunden!'') และการกล่าวสดุดีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ว่า "พวกเขากลับจากสมรภูมิโดยไร้ซึ่งความพ่ายไม่แพ้" (''Sie sind vom Schlachtfeld unbesiegt zurückgekehrt'') (ภายหลังคำกล่าวที่ว่า พวกเขากลับมาโดยไร้ความพ่ายไม่แพ้ นั้นได้ถูกนำไปเป็นสโลแกนกึ่งทางการของหน่วยทหารแห่งชาติไรช์เวร์ โดยย่อให้สั้นลงจนเหลือ ''Im Felde unbesiegt'') ก็ตาม แต่อีเบิร์ตเพียงแต่มีเจตนาพูดเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและโน้มน้าวใจทหารเยอรมันเท่านั้น
 
== อรรถอธิบายในสหรัฐอเมริกา ==