ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานแทงข้างหลัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Stab-in-the-back postcard.jpg|thumb|250px|ภาพประกอบจากไปรษณียบัตรออสเตรีย ค.ศ. 1919 เป็นภาพล้อ[[ยิว]]กำลังแทงทหารเยอรมันทางด้านหลังด้วยมีด การยอมจำนนถูกกล่าวโทษแก่ประชาชนที่ไม่รักชาติ พวก[[สังคมนิยม]] พวก[[บอลเชวิค]] [[สาธารณรัฐไวมาร์]] และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยิว]]
[[ไฟล์:Stab-in-the-back cartoon 1924.jpg|thumb|250px|การ์ตูนการเมืองเยอรมันฝ่ายขวา ค.ศ. 1924 เป็นภาพฟีลิพ ไชเดมันน์ (Philipp Scheidemann) นักการเมืองสังคมประชาธิปไตย ผู้ประกาศสาธารณรัฐไวมาร์และเป็นนายกรัฐมนตรีไวมาร์คนที่สอง และมัททิอัส แอร์ซแบร์เกอร์ (Matthias Erzberger) นักการเมืองต่อต้านสงครามจากพรรคกลาง ผู้ลงนามการสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร กำลังแทงกองทัพเยอรมันจากข้างหลัง]]
'''ตำนานแทงข้างหลัง''' ({{lang-de|{{เสียง|De-Dolchstoßlegende.ogg|''Dolchstoßlegende''}}}}, {{lang-en|stab-in-the-back myth}}) เป็นแนวคิดที่เชื่อถือกันอย่างกว้างขวางในแวดวงฝ่ายขวาในเยอรมนีหลัง ค.ศ. 1918 ว่ากองทัพเยอรมันมิได้แพ้[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] หากแต่ถูกทรยศหักหลังโดยพลเรือนหลังแนวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกนิยมสาธารณรัฐที่ล้มล้างพระมหากษัตริย์ ผู้สนับสนุนประณามผู้นำรัฐบาลเยอรมันที่ลงนาม[[การสงบศึกกับเยอรมนี|การสงบศึก]]เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ว่า "อาชญากรพฤศจิกายน"
 
เมื่อ[[พรรคนาซี]]เถลิงอำนาจใน ค.ศ. 1933 พรรคได้จัดให้ตำนานดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยบรรยายสาธารณรัฐไวมาร์ว่าเป็นผลงานของ "อาชญากรพฤศจิกายน" ผู้ใช้การแทงข้างหลังเพื่อยึดอำนาจขณะที่ทรยศประเทศชาติ โฆษณาชวนเชื่อนาซีอธิบายไวมาร์ว่าเป็น "หล่มการฉ้อราษฎร์บังหลวง ความเสื่อม การลดเกียรติประเทศชาติ การเบียดเบียน 'ผู้ต่อต้านของชาติ' ที่ซื่อสัตย์อย่างไร้ความปรานี — สิบสี่ปีของการปกครองโดยยิว พวกนิยม[[มากซิสต์]] และ 'บอลเชวิคทางวัฒนธรรม' ผู้ซึ่งถูกกวาดล้างโดยขบวนการ[[นาซี|ชาติสังคมนิยม]] นำโดย [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] และชัยชนะของ 'การปฏิวัติแห่งชาติ' ใน ค.ศ. 1933 ในที่สุด"<ref>Eberhard Kolb, ''The Weimar Republic'' (Routledge, 2005), p. 140</ref>
แนวคิดดังกล่าวนี่เองที่เป็นจุดสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] โดย[[พรรคนาซี]]มีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นจากทหารผ่านศึก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]อันขมขื่น และได้ส่งผลกระทบมาจนถึงประวัติศาสตร์เยอรมนีจนถึงปัจจุบัน
 
นักวิชาการทั้งในและนอกประเทศเยอรมนีปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยชี้ว่า กองทัพเยอรมันขาดกองหนุนและกำลังถูกเอาชนะในปลาย ค.ศ. 1918<ref>Alexander Watson, ''Enduring the Great War: Combat, Morale and Collapse in the German and British Armies, 1914–1918'' (Cambridge Military Histories, 2008) ch 6</ref>
 
== ตัวกระตุ้น ==