ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุฒิสภาฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 150:
สมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า proposition de loi และร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายได้เช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยร่างกฎหมายจะถูกเสนอต่อสภาของผู้ร่างเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนของชาวฝรั่งเศสที่อยู่นอกประเทศต้องเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาก่อน
 
เมื่อได้รับร่างกฎหมายแล้ว วุฒิสภาจะทำการพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติ เมื่อทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (la navette) ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการร่วมกัน" (une commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
===ด้านการควบคุมรัฐบาล (Pouvoir de contrôle)===