ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 94:
 
ร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จะถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ในระหว่างนี้ ประธานาธิบดี หรือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวุฒิสภา หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 60 คน หรือ สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 60 คน สามารถยื่นตีความว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยพิจารณาโดยสภารัฐธรรมนูญก่อนนำมาบังคับใช้ โดยตามกฏหมาย ประธานาธิบดีสามารถลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นร่างกฏหมายกลับไปยังรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้หนึ่งครั้งต่อร่างกฏหมาย โดยเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาฯแล้ว ประธานาธิบดีต้องลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และส่งตีพิมพ์เพื่อบังคับใช้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
 
==ฝ่ายตุลาการ==
 
อำนาจฝ่ายตุลาการ เป็นอิสระไม่ขึ้นตรง และใช้ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ในประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฏหมายแบบ[[ซีวิลลอว์]] หรือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล แต่อย่างไรก็ตาม แนวคำพิพากษาของศาลยังถือว่ามีน้ำหนักในการพิจารณาคดีความ
 
กฏหมายฝรั่งเศสได้แบ่งเป็นสองส่วนสำคัญ คือ กฏหมายด้านแพ่งและอาญา และ กฏหมายปกครอง
 
===ศาลคดีแพ่งและอาญา==
 
The judicial stream of courts adjudicates civil and criminal cases. The judicial court stream consists of inferior courts, intermediate appellate courts, and the French Supreme Court.
ระบบศาลของฝรั่งเศส จะไต่สวนคดีความทั้งด้านแพ่ง และอาญา โดยแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ตามลำดับ
 
ผู้พิพากษา เป็นข้าราชการที่ได้รับการคุ้มครองสถานะเป็นพิเศษ โดยไม่สามารถถูกปลดจากตำแหน่งโดยปราศจากความยินยอมจากเจ้าตัว โดยมีสภายุติธรรมเป็นผู้ดูแลการทำงานของผู้พิพากษา
 
พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในอดีต ได้มีข้อครหาทางการเมือง ถึงการยกฟ้อง หรือสั่งฟ้องอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะคดีความเรื่องทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเรื่องราวของอัยการมักจะเป็นหัวข้อที่อภิปรายกันเป็นประจำ
 
การพิจารณาคดีความโดยลูกขุน จะสงวนไว้ในกรณีคดีอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งเป็นคดีความในอำนาจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยข้าหลวงพิเศษ "Courts of Assizes" อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน และคณะลูกขุนจำนวน 9 ท่าน (12 ท่านในกรณีอุทธรณ์) โดยจะร่วมกันพิจารณาคำพิพากษานั้นๆ (รวมทั้งกำหนดโทษ) โดยคณะลูกขุนจะเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยระบบสุ่ม
 
ในกรณีทั่วไป ผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิพากษาโดยอาชีพ ยกเว้นศาลอาญาเฉพาะเยาวชน อันจะประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 1 ท่าน และผู้พิพากษาสมทบอีก 2 ท่าน ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามาที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นผู้พิพากษา ศาลเฉพาะด้านอื่นๆก็มักจะประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสาขานั้น อาทิเช่น คณะตุลาการด้านแรงงาน ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสหภาพแรงงานจำนวนเท่าๆกับจากสหภาพนายจ้าง ซึ่งยังพบการใช้กับคณะตุลาการด้านอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
 
โดยก่อนเข้าสู่การพิจารณาของระบบศาล จะใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) โดยเมื่อเข้าสู่ศาลแล้ว จะใช้ระบบกล่าวหา (Adversary System) โดยผู้ที่ถูกกล่าวหา (จำเลย) จะถือว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิด (ตามคำพิพากษา)
 
==รายการอ้างอิง==