ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 89:
===กระบวนการร่างกฎหมาย===
 
กระบวนการร่างกฎหมายเริ่มต้นจากพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรี(ที่ประชุมเห็นพ้อง) หรือโดยสมาชิกรัฐสภา เพื่อตรากฏหมาย โดยร่างกฏหมายต้องผ่านการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ก่อนที่จะนำเข้าสู่สภาฯ โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 เป็นต้นมา มีการเพิ่มข้อบังคับให้ร่างกฏหมายจะต้องผ่านการศึกษาถึงผลกระทบ ที่มีต่อกฏหมายแห่งประชาคมยุโรป เศรษฐกิจ สังคม การคลัง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ิอม
ในประเทศฝรั่งเศส ร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (la navette) ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” (une commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
ในประเทศฝรั่งเศส การร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (la navette) ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” (une commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
ร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จะถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ในระหว่างนี้ ประธานาธิบดี หรือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวุฒิสภา หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 60 คน หรือ สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 60 คน สามารถยื่นตีความว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยพิจารณาโดยสภารัฐธรรมนูญก่อนนำมาบังคับใช้ โดยตามกฏหมาย ประธานาธิบดีสามารถลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นร่างกฏหมายกลับไปยังรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้หนึ่งครั้งต่อร่างกฏหมาย โดยเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาฯแล้ว ประธานาธิบดีต้องลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และส่งตีพิมพ์เพื่อบังคับใช้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป